สวส.ร่วมกับสวพ.3 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การพัฒนาบุคลากรด้านการตรวจวิเคราะห์สมุนไพร”
วันที่ 13 มีนาคม 2567 นายธงชัย คำโคตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การพัฒนาบุคลากรด้านการตรวจวิเคราะห์สมุนไพร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 14 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 – 18.00 น. ณ อาคารห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น โดยมี นางสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล พร้อมด้วย นายไกรสิงห์ ชูดี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 คณะผู้จัดฝึกอบรม วิทยากรบรรยาย และผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้าร่วมพิธีเปิดฯ
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กล่าวว่า แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 กําหนดวัตถุประสงค์สําคัญที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร คือ
1) พัฒนาเกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชน ด้านการปลูก ขยายพันธุ์ แปรรูวัตถุดิบ สมุนไพรเบื้องต้นที่ปลอดภัยให้เพียงพอต่อความต้องการ
2) ยกระดับการผลิต สมุนไพรตลอดห่วงโซ่การผลิตของเกษตรกรให้ได้มาตรฐาน GAP เพื่อให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐาน
3) เพิ่มพื้นที่แปลงปลูกพืชสมุนไพร ปลอดภัยได้ตามมาตรฐาน โดยมีเป้าหมายให้เกิดพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรที่ได้ มาตรฐาน GAP/เกษตรอินทรีย์ 5๐,๐๐๐ ไร่ และกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ มีการแปรรูปสมุนไพรเบื้องต้นที่ได้มาตรฐาน 3๐๐ แห่ง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารสำคัญที่ได้มาตรฐานเพียงพอสําหรับให้บริการอย่างทั่วถึง
การตรวจวิเคราะห์สารสําคัญจึงเป็นขั้นตอนสําคัญที่บ่งชี้คุณภาพของสมุนไพร ปัจจุบันห้องปฏิบัติการที่รับวิเคราะห์สารสําคัญในพืชสมุนไพรยังมีไม่เพียงพอทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นอกจากนั้นการวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือชั้นสูง เช่น GC HPLC LC-MS/MS ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน ทําให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ โดยง่าย เกษตรกรจึงต้องส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์สารสําคัญกับภาคเอกชน หรือ ส่วนกลางของภาครัฐ ทําให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงและมีระยะเวลาในการวิเคราะห์นาน
กรมวิชาการเกษตร มีหน่วยงานส่วนภูมิภาค 8 เขต ที่มีหน้าที่ ให้บริการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช การวิเคราะห์ทดสอบด้านการเกษตร มีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตที่สามารถพัฒนาเป็น ศูนย์บริการวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยในพืชสมุนไพรได้ โดย จําเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพ 3 ด้าน คือ 1) ด้านมาตรฐาน 2) ด้านการรับรองระบบงาน และ 3) ด้านการตรวจสอบและรับรอง ซึ่งการ พัฒนาทั้ง 3 ด้านนี้ จําเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและเข้าใจกระบวนการ ในด้านการวิเคราะห์ วิจัย มาตรฐานสมุนไพร และการบริการที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนงานด้านพัฒนาระบบการผลิตพืชสมุนไพรให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด รองรับงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร และให้บริการเกษตรกรหรือผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการผลิต GAP และ เกษตรอินทรีย์ รองรับยุทธศาสตร์การส่งเสริมการผลิตและแปรรูป วัตถุดิบพืชสมุนไพรให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ภายใต้แผนปฏิบัติงานเพิ่มจํานวนห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 สําหรับบริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบพืชสมุนไพร
ดังนั้น สถาบันวิจัยพืชสวน ร่วมกับสํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 จึงได้จัดอบรมหลักสูตร การพัฒนาบุคลากรด้านการตรวจวิเคราะห์ สมุนไพร ให้กับบุคลากรของกรมวิชาการเกษตร ผู้ประกอบการ และหน่วยงาน ภายนอก ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถนําความรู้ที่ได้ไปปรับใช้และพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญในสมุนไพรเพื่อรองรับแผนปฏิบัติการเพิ่มจํานวน ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 ที่พร้อมให้บริการแก่ เกษตรกร และผู้ประกอบการได้เพียงพอ