Search for:

ชื่อสามัญ อะโวคาโด

ชื่อวิทยาศาสตร์   Persea Americana Mill

ชื่ออื่นๆ  ลูกเนย

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา จัดเป็นพืชดอกในวงศ์ Lauraceae ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกับอบเชย, กระวาน และเบย์ลอเรล (bay laurel) ผลของอาโวคาโดมีรูปทรงคล้ายสาลี่ รูปไข่ หรือรูปกลม ถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลางทางตอนใต้ของเม็กซิโกถึงภาคกลางของเปรู กัวเตมาลา และหมู่เกาะเวสท์อินดิส  ประเทศไทยมีการปลูกอะโวคาโดมานานกว่า 80 ปี  โดยมิชชันนารีชาวอเมริกันนำมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกที่จังหวัดน่าน ต่อจากนั้นจึงมีหน่วยงานต่าง ๆ นำอาโวคาโดมาปลูกมากขึ้น  อาโวคาโดแบ่งเป็น 3 เผ่าคือ

1) เผ่ากัวเตมาลา ผลสีเขียว ขั้วผลขรุขระ เมล็ดเรียบเล็กค่อนข้างกลม เนื้อหนา ไขมันสูง ชอบอากาศหนาวเย็นปานกลาง เช่น  พันธุ์แฮส (Hass)  พันธุ์พิงค์เคอตัน (Pinkerton)

2) เผ่าอินดีสตะวันตก ผิวผลเรียบเป็นมัน สีเขียวอมเหลือง เปลือกหนา เมล็ดอยู่ในโพรงเมล็ดอย่างหลวม ๆ รสหวานอ่อน ไขมันน้อย ชอบอากาศร้อน เช่น  พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson)

3) เผ่าเม็กซิโก ผลเล็กเรียบ เมื่อแก่สีม่วง เปลือกบางกว่าอีก 2 เผ่า เปลือกหุ้มเมล็ดบาง เมล็ดใหญ่อยู่ในโพรงเมล็ดอย่างหลวม ๆ มีไขมันมากที่สุด ทนอากาศเย็นได้ดีที่สุด  ลักษณะเป็นไม้ผลยืนต้นเขตร้อนโตเร็ว ใบเขียวตลอดปี ติดผลดก อายุยืนเหมาะสำหรับปลูกทดพืช

ลักษณะทั่วไป

อาโวคาโดเป็นไม้ยืนต้น ลักษณะต้นของอะโวคาโดที่พบในพื้นที่ลักษณะเป็นไม้ผลยืนต้นเนื้ออ่อน สูง 5-18 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละสายพันธุ์ เจริญเติบโตเร็วแตกกิ่งก้านสาขาเป็นทรงพุ่มหลายรูปแบบทั้งแบบทรงกลม รูปร่ม รูปไข่ รูปกรวย ทรงกระบอก เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน ผิวขรุขระ

ใบสีเขียวสดลักษณะใบเป็นแบบใบเดี่ยว ผิวเรียบเป็นมันสีเขียว-เขียวเข้มเมื่อแก่ เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ผิวมีขนนุ่มสั้นๆ สีขาวปกคลุม ยอดอ่อนมีเขียว ชมพู แดง รูปร่างแผ่นใบเป็นแบบใบยาวรูปรี รูปทรงกระบอก รูปไข่ รูปใบหอก ปลายใบรูปหอก ขนาดแตกต่างกัน เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็กตั้งแต่ 3 เซนติเมตรถึงขนาดใหญ่ 15 เซนติเมตร โคนใบเป็นรูปลิ่ม มน สอบเรียว และเบี้ยว ปลายใบเป็นรูปแหลม เรียวแหลม ติ่งเหลี่ยม  จะมีลักษณะใหญ่ยาวรี จับดูจะสากมือ ใบมีเส้นลายลึกชัดเจน จะมีใบสีเขียวสด ลักษณะใบแก่มีสีเขียว ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้นและความแตกต่างของสภาพพื้นที่ บางพันธุ์จะทิ้งใบก่อนการออกดอก บางพันธุ์จะมีใบเขียวตลอดปี

ดอกขนาดเล็ก สีเขียวอมเหลือง ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เป็นออกช่อบริเวณปลายกิ่งอ่อนมีดอกย่อยเป็นจำนวนมากในช่อหนึ่งแม้ว่าจะมีดอกเป็นจำนวนพันๆ แต่บางพันธุ์อาจจะติดผลเพียง 1 ผลต่อดอกย่อย เริ่มออกดอกในเดือนธันวาคม-เดือนมีมีนาคมติดดอกออกผลทุกปีจะเริ่มติดผลเริ่มติดผลจนถึงถึงเดือนมกราคม–-เมษายนเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในเดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน

ผลกลมรีหรือทรงลูกแพร์ มีทั้งพันธุ์เปลือกหนาและเปลือกบาง ลักษณะผลมีความยาวตั้งแต่ 5-18 ซม. มีน้ำหนักตั้งแต่ 90กรัม ถึง 1 กิโลกรัม ผลมีรูปทรงร่างต่างๆมีทรงผลคล้ายผลแพร์ รูปไข่รูปทรงกลมยาว ผลยาวคล้ายน้ำเต้าสีผิวของผลมีทั้งเขียวเข้ม เขียวปนเหลืองสีม่วงสีผิวของผลจะเปลี่ยนสีเมื่อสุกแล้วแต่พันธุ์ ผิวผลอาจจะเป็นแบบผิวเรียบ เป็นมันขรุขระบางพันธุ์เนื้อและเปลือกของผลหนาเนื้อสีเหลืองอ่อนจนถึงเหลืองเข้มหุ้มเมล็ดอยู่ตรงกลาง  เนื้อสีเขียวออกเหลือง รสมัน เนื้อละเอียด ไม่มีกลิ่น มีเมล็ดเดียว มีรกหุ้มเมล็ด

เมล็ดมีรูปร่างคล้ายลูกข่างหรือกลมแป้น หรือแหลม เปลือกหุ้มเมล็ดมี 2 ชั้นอายุการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับพันธุ์ บางพันธุ์อยู่ระหว่าง 6-7 เดือนขึ้นอยู่กับพันธุ์บางพันธุ์อาจจะมีอายุถึง 9-10 เดือน

พันธุ์และการขยายพันธุ์

อะโวคาโดพันธุ์การค้ามาตรฐานที่มีในไทย มีดังนี้

1) อะโวคาโด พันธุ์แฮสส์ (Hass) ปลูกได้เป็นบางพื้นที่ เป็นอะโวคาโดที่รสชาติดีที่สุด รสชาติมันนัว ไม่ขม หอมอร่อย เนื้อเนียนเหนียว ไม่มีเสี้ยน

2) อะโวคาโด พันธุ์บัคคาเนียร์ (Buccanear) เป็นอะโวคาโดพันธุ์ที่ลูกโต ลูกดก เมื่อสุกเปลือกจะมีสีเขียว รสชาติคล้ายพันธุ์แฮสต์ เนื้อเนียน อร่อย

3)อะโวคาโด พันธุ์บูท 7 (Booth 7) ผลจะค่อนข้างกลม ลูกไม่ใหญ่มาก ปลูกได้ง่ายในประเทศไทย เมื่อสุกจัดเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือดำ รสชาติอร่อย เนื้อเหนียว ราคาไม่แพงมาก

4)อะโวคาโด พันธุ์บูท 8 (Booth 8) ผลจะค่อนข้างกลม และเล็ก เปลือกขรุขระเล็กน้อย เนื้อเนียน คล้ายพันธุ์บัคคาเนียร์ แต่ลูกเล็กกว่า รสชาติกลางๆ

5)อะโวคาโด พันธุ์ปีเตอร์สัน (Peterson) ผลจะค่อนข้างกลม ผิวเรียบ เนื้อสีเหลืองอมเขียว รสชาติติดหวานอ่อนๆ

6)อะโวคาโด พันธุ์พิงค์เคอร์ตัน (Pinkerton) เป็นอะโวคาโดพันธุ์ที่ผลค่อนข้างเรียวเป็นรูปไข่ เปลือกผิวขรุขระ เมื่อสุกจะยังเป็นสีเขียว ลูกใหญ่ ปลูกง่าย เน้อเนียน เหนียวหนึบ

7)อะโวคาโด พันธุ์ A.034 เป็นอะโวคาโดที่มีผลเรียวยาว ต่างจากพันธุ์อื่นๆ เมื่อสุกแล้วเปลือกจะยังเป็นสีเขียว เป็นอะโวคาโดที่เกินจากการผสมมาจากพันธุ์แฮสกับพันธุ์ RUSSELL เมื่อสุกจัด เนื้อจะเหนียว เนียน หวานอร่อย แต่ถ้ายังไม่สุกจัด เนื้อจะมีรสขมปน

พันธุ์ที่ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ได้รวบรวมและคัดเลือก คือพันธุ์พื้นเมืองที่ชนะการประกวดและพันธุ์คัดเลือกที่มีลักษณะคุณภาพดีจากแหล่งต่างๆ ของไทย เช่นพันธุ์ เชียงใหม่ 1, เชียงใหม่ 2, เชียงใหม่ 3, เชียงใหม่ 4,เขาค้อ 1, เขาค้อ 2,เขาค้อ3, เขาค้อ 4, แม่ฮองสอน 1 และมูเซอ1

การขยายพันธุ์ได้ 2 ประเภท คือ แบบไม่อาศัยเพศ ด้วยวิธีการเสียบยอด ติดตา ทาบกิ่ง คือการนำยอดพันธุ์ดีเสียบกับกิ่งของต้นตอที่เพาะจากเมล็ด ทำให้ได้ต้นที่มีระบบรากที่แข็งแรงมีการเจริญเติบโตดีของต้นตอ และได้ผลตรงตามพันธุ์กับยอดที่นำมาเปลี่ยน ออกผลเร็ว 2-3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของต้น เป็นการแก้ไขปัญหาต้นพันธุ์ที่ปลูกจากเมล็ดที่มีความแปรปรวนให้ผลผลิตและคุณภาพต่ำกว่าพันธุ์พ่อ-แม่สำหรับอะโวคาโด วิธีการเปลี่ยนยอดหรือติดตาได้ผลดีที่สุด และแบบอาศัยเพศ โดยใช้เมล็ดเมล็ดปลูก

วิธีการปลูก

การเตรียมพื้นที่ปลูกควรจะเตรียมไว้ล่วงหน้า ปรับพื้นที่ โดยการไถปรับดิน 2 ครั้ง โดยการขุดหลุมปลูกขนาด 50X50X50 เซนติเมตร  ผสมปุ๋ยคอก 1-2 กิโลกรัม หรือ ผสมปุ๋ยคอก 0.5 กิโลกรัม พร้อม ปุ๋ย 0-0-60 อัตรา 0.5 กิโลกรัม คลุกเคล้ากับหน้าดินในหลุมปลูก คลุกเคล้ากับดิน เตรียมไม้ปักเพื่อยึดต้นกันโยก เตรียมหญ้าแห้งหรือฟางแห้ง  เพื่อคลุมโคนต้น ระยะห่างระหว่างหลุม 6X6 เมตร  วางระบบน้ำระยะห่าง 6 เมตร

การปลูก  นำต้นพันธุ์อะโวคาโดที่ได้ขนาดลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ควรให้รอยต่อของกิ่งพันธุ์ดีอยู่เหนือระดับดิน กลบดินรอบโคนต้น รดน้ำให้ชุ่ม นำหลักมาปักและมัดยึดกันลมโยกและคลุมโคนต้นด้วยเศษหญ้าหรือฟางแห้ง แล้วทำร่มเงาเพื่อช่วยพรางแสงแดด

การดูแลรักษา

การให้น้ำ เมื่อปลูกใหม่ ควรให้น้ำเพื่อการเจริญเติบโต ของต้นอะโวคาโด เมื่อต้นอะโวคาโดถึงระยะออกดอกควรงดการให้น้ำ จนกว่าจะเกิดตาดอกและช่อดอกและช่อดอกเจริญจึงเริ่มให้น้ำใหม่

อาโวคาโดชอบดินชุ่มชื้น แต่ไม่แฉะ ระบายน้ำดี ช่วงที่ปลูกแรกๆ ให้รดน้ำทุกวัน หลังจากต้นโตประมาณ เดือน ก็ให้รดน้ำวันเว้นวัน แล้วหมั่นพรวนดินบ้าง จะมีความทนทานดีมาก

การใส่ปุ๋ย ครั้งแรก หลังจากปลูก 1 เดือน ใส่ในโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม อัตราส่วน 3:1:1 ทั้งนี้อาจใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมกับ ยูเรีย (46-0-0) อัตราส่วน 1:1 คลุกเคล้ากันให้ดีแล้วใส่ต้นละ 200 กรัม แบ่งใส่ประมาณ 3 ครั้งต่อปี ปีที่ 2 จะใส่ปุ๋ยผสมดังกล่าวข้างต้น ในอัตราต้นละ 300 กรัม

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ
โรคพืช

1)โรครากเน่าเป็นโรคที่สำคัญที่สุดของอะโวคาโด้ โดยเฉพาะช่วงอายุประมาณ 10 ปีที่อะโวคาโด้กำลังให้ผลผลิตอย่างเต็มที่ โรคนี้เกิดจากเชื้อราในดิน ถ้าการระบายน้ำในดินไม่ดี หรือเกิดน้ำท่วมขัง เชื้อโรคนี้ก็จะเริ่มระบาด หรือถ้ารากมีบาดแผลเชื้อโรคนี้ก็จะเข้าทำลายทางบาดแผล อาการที่สังเกตได้ คือ ใบจะเล็กลง เหี่ยว และร่วง, กิ่งแห้งจากยอดมาหาราก, ต้นมีสีดำ เน่า แห้ง และ ผล จะมีขนาดเล็กลง

2)โรคแอนแทรคโนส สามารถพบได้ในระยะที่ต้นอะโวคาโดติดผลอ่อนถึงระยะผลแ ก่ใกล้เก็บเกี่ยว อาการที่ใบ ในระยะแรกอาการของโรคจะเห็นเป็นจุดแผลสีน้ำตาลเข้ม

แมลงศัตรู

1) แมลงค่อมทอง หรือ ด้วงงวงกัดกินใบ ตัวอ่อนหรือหนอน จะกัดกินราก ตัวเต็มวัย จะกัดกินใบอะโวคาโด้

ใบแหว่งหรือมีรูพรุน และสามารถกัดกินใบจนเหลือแต่กิ่ง บางครั้งเข้าทำลายช่อดอกด้วย

2)หนอนผีเสื้อระบาดมากในช่วง เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม ต้นที่ถูกกัดกินใบมากจะไม่ออกดอก เพราะเสียอาหารที่สะสมไป

3)เพลี้ยไฟระบาดในช่วงฤดูร้อน เป็นระยะแทงช่อดอกหรือดอกบาน เข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ช่อดอกสั้นลง หรือเข้าทำลายในระยะดอกบานจะทำให้ดอกแห้งร่วง บางครั้งเข้าทำลายขณะติดผลอ่อน ทำให้ผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมีตำหนิ

4)เพลี้ยแป้งดูดกินน้ำเลี้ยงที่กิ่งและใบ ทำให้ไม่เจริญเติบโต หรือดูคล้ายมีราดำจับตามกิ่งและใบ แต่นั่นคือ มูลของเพลี้ยที่ถ่ายออกมาทำให้ราดำเจริญเติบโต

5)เพลี้ยหอยมีหลายชนิดทำลายยอดอ่อนและใบของอะโวคาโด้ อาการที่พบคือ ด้านล่างของใบจะถูกดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ด้านบนของใบมีสีซีดเหลือง ถ้าเป็นที่กิ่งอ่อนจะทำให้กิ่งเหี่ยวแห้ง

6)หนอนเจาะกิ่งเป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน เข้าไปในส่วนของลำต้นและกิ่ง ทำโพรงอาศัยและกัดกินทำให้ใบของกิ่งแห้งเหี่ยว

การใช้ประโยชน์

ใช้รับประทานเป็นอาหาร มีวิตามินและแร่ธาตุสูง เช่น วิตามินบี ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน วิตามินเค ช่วยป้องกันการแข็งตัวของเลือด วิตามินอี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบในร่างกาย โฟเลท ป้องกันภาวะซีดโลหิตจาง โพแทสเซียม ช่วยควบคุมความดันโลหิต เป็นต้น และสามารถใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และเครื่องสำอาง

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล