Search for:

ชื่อสามัญ พีช

ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus persica L.

ชื่ออื่นๆ ท้อ

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

“พีช” ที่ปลูกในไทยเริ่มต้นจากชาวเขาที่อพยพลงมาจากจีนได้นำเมล็ดลูกพีชจากจีนตอนล่างเข้ามา ต่อมาพีชเหล่านั้นได้กลายเป็นท้อพันธุ์พื้นเมืองที่พบทั่วไปบนพื้นที่สูงของประเทศไทย มีชื่อพันธุ์ว่า “แปะมุงท้อ” และ “อ่างขางแดง” ท้อพันธุ์พื้นเมืองเหล่านี้มีผลขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพันธุ์ต่างประเทศ ช่วงหลังได้มีการพัฒนาพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรโดยนำพีชพันธุ์ต่างประเทศที่มีผลขนาดใหญ่และให้ผลผลิตสูงเข้ามาปลูก อย่างเช่น พันธุ์ Flordasun, พันธุ์ Flordared, พันธุ์ Flordabelle, พันธุ์ Earligrande และพันธุ์ Ying Ku จากไต้หวัน ทำให้ได้ลูกพีชที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังมีพีชที่มูลนิธิโครงการหลวงได้ทําการศึกษาวิจัยในโครงการ การศึกษาวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อปลูกทดแทนฝิ่น ซึ่งทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ปีพ.ศ. 2512 โดยในปีพ.ศ.2540 ได้เริ่มมีโครงการนําพันธุ์พีชจากต่างประเทศมาปลูกทดสอบเพื่อคัดเลือกพันธุ์ดีสําหรับประเทศไทย และสามารถคัดเลือกพีชสายพันธุ์ที่มีลักษณะดีเด่น มีศักยภาพเชิงพาณิชย์

ลักษณะทั่วไป

พีชจัดอยู่ในกลุ่ม Stone Fruit โดย Stone Fruit เป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการของผลไม้กลุ่มที่เป็นผลเดี่ยว มักจะมีเมล็ดที่แข็งมาก แต่มีเนื้อผลไม้ที่นุ่ม รับประทานง่าย เช่น ลูกพลัม เชอร์รี่ แอพริคอต และพีช เป็นต้น เนื้อในของพีชมีตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีเหลืองหรือสีส้ม เนื้อนิ่ม มีกลิ่นหอมละมุน และมีรสหวานอมเปรี้ยวนิด ๆ ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ชัดเจน หากได้กลิ่นและรับรส จะรู้เลยว่านี่แหละคือพีชแน่นอน

พันธุ์และการขยายพันธุ์

วัสดุปลูกเก็บเกี่ยวสดใหม่ การงอกของเมล็ดเป็นเวลา 1 ปี สำหรับการหว่านในฤดูใบไม้ผลิจำเป็นต้องมีการแบ่งชั้นเมล็ดภายใน 3 เดือน เมล็ดพีชจุ่มลงในน้ำ น้ำยาเปลี่ยนทุกวัน หลังจากผ่านไป 5 วันเมล็ดจะถูกปลดปล่อยออกจากเปลือกและปลูกในพื้นที่โล่งที่ระยะ 10 เซนติเมตรจากรั้วความลึกเท่ากับ 7 ขุดดินและใส่ปุ๋ยก่อนปลูก พืชจะปกคลุมไปด้วยหญ้ายอดจะปรากฏในฤดูใบไม้ผลิ ในช่วงฤดูนี้ต้นกล้าจะได้รับการรดน้ำเป็นระยะให้อาหารกำจัดวัชพืชและต่อสู้กับโรคและแมลงศัตรูพืช ต้นอ่อนยาว 1.5 เมตรในช่วงฤดูร้อนมียอดด้านข้างปรากฏขึ้น

วิธีการปลูก

การเตรียมหลุม

แปลงปลูกท้อ ควรไถพรวนดิน และกำจัดวัชพืชออกก่อน จากนั้น ขุดหลุมปลูก กว้าง ลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม และแถวประมาณ 6 x 6 เมตร ตากหลุมไว้ 3-5 วัน

วิธีปลูกลูกท้อ

หลังตาหลุมได้กำหนดแล้ว ให้โรยก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก 1 ถัง และปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 ประมาณ 2 กำมือ/หลุม พร้อมเกลี่ยหน้าดินลงคลุกให้เข้ากัน ก่อนนำต้นพันธุ์ลงปลูก พร้อมเกลี่ยดินกลบ จากนั้น ปักข้างลำต้นด้วยไม้ไผ่ และคล้องเชือกรัดหลวมๆเพื่อพยุงลำต้น

การดูแลรักษา

การใส่ปุ๋ย

– ระยะ 1-3 ปี ก่อนลูกท้อติดดอกครั้งแรก ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง สูตร 15-15-15 ร่วมกับปุ๋ยคอกรอบโคนต้น

– ระยะติดดอก และผลในช่วง 3-4 ปี เป็นต้นไป ใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง สูตร 13-13-21 ใส่ก่อนออกดอก และสูตร 15-15-15 ใส่ระยะหลังเก็บผล ร่วมกับปุ๋ยคอกทุกครั้ง

– การใส่ปุ๋ยแต่ละครั้ง ให้ใส่หลังกำจัดวัชพืชหรือไถพรวนดินร่วม

การตัดแต่งกิ่ง

หลังการปลูกในช่วงปีแรก ให้ตัดยอดลำต้นทิ้ง เพื่อให้ลำต้นแตกกิ่งออก หลังจากนั้น ตัดแต่งกิ่งหลักให้เหลือประมาณ 3 กิ่ง แล้วปล่อยให้กิ่งหลักแตกกิ่งแขนงออก

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

  • โรค

– Peach leafcurl

– Brown rot scab

– Rust

  • แมลง มีแมลงทำลายที่สำคัญ คือ แมลงวันทองผลไม้

การใช้ประโยชน์

  1. ลูกท้อหรือลูกพีชใช้เป็นผลไม้รับประทานสด เนื้อผลหนาคล้ายผลแอปเปิ้ล มีสีขาวอมเหลือง มีรสกรอบ หวาน และกลิ่นหอมอ่อนๆ
  2. เนื้อลูกท้อหรือลูกพีชแปรรูปทำแยม ลูกท้อดอง ลูกท้อเชื่อม ลูกท้อแช่อิ่ม เป็นต้น โดยเฉพาะลูกท้อขนาดเล็กที่นิยมดองเป็นผลไม้หรือลูกท้อแช่อิ่ม
  3. ชาวจีนมักเปรียบกลีบดอกลุกท้อเหมือนแก้มผู้หญิงที่มีสีชมพูอ่อน นอกจากนั้น ยังถือว่าต้นลูกท้อเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ โดยหมอผีหรือผู้เฒ่ามักใช้กิ่งลูกท้อปักยื่นในทิศตะวันออกหรือทิศใต้เพื่อใช้เป็นไม้บังคับ ส่วนใบลูกท้อนิยมใช้ผสมลงในหม้อยาหรือหม้อน้ำมนต์สำหรับพรมขับไล่ผี และวันขึ้นปีใหม่ อีกทั้งชาวจีนยังนิยมดื่มน้ำลูกท้อหรือนำลำต้น กิ่ง และใบมาต้มน้ำอาบในวันขึ้นปีใหม่ของจีน รวมถึงนำไม้ลูกท้อมาทำเครื่องราง เครื่องประดับแขวนไว้หน้าบ้านสำหรับกันภูตผี ตำนานที่เกี่ยวกับลูกท้อในประเทศจีนกล่าวถึงลุกท้อว่า ลูกท้อสวรรค์จะมีช่วงการสุกที่ประมาณ 3000 ปี/ครั้ง และหากผลท้อสุก เหล่าเทพ และเซียนทั้งหลายจะเข้าแย่งเก็บกินลูกท้อ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้คงกระพัน และความเชื่อเหล่านั้นยังสะท้อนด้วยภาพเขียนรูปเด็กหรือผู้เฒ่ายืนถือลูกท้อ ชื่อว่า เหลาซี แปลว่า ผู้สูงอายุหรือผู้มีอายุยืนยาว มีลักษณะเด่นที่ หน้าผากกว้างยาวกว่าคนปกติ

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล