Search for:

ชื่อสามัญ  ส้มเขียวหวาน mandarin หรือ tangerine

ชื่อวิทยาศาสตร์  Citrus reticulata Blanco      วงศ์ Rutaceae

ชื่ออื่นๆ

ถิ่นกำเนิดและประวัติความเป็นมา

ถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีนและญี่ปุ่น ได้มีการแพร่กระจายไปยังสหรัฐอเมริกาและยุโรป ส้มเขียวหวานเป็นไม้ผลกึ่งเมืองร้อน

ลักษณะทั่วไป

ลักษณะต้นเป็นพุ่มใหญ่ สูงประมาณ 2-8 เมตร แน่นทึบ กิ่งที่แตกใหม่สีเขียวและเนื้อไม้อ่อน กิ่งและใบห้อยลง ต้นไม่มีหนาม เปลือกต้นเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเป็นสีน้ำตาลอ่อน ใบแยกเป็น 2 ส่วน คือแผ่นใบ และก้านใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่ค่อนข้างยาว ผิวหลังใบสีเขียวเข้ม ออกดำเป็นมัน ใต้ใบมีสีเขียวอ่อน ขอบใบเรียบ และมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่เต็มทั้งใบ ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีขาว และมีต่อมน้ำมันกระจายอยู่ทั่วไป ผลทรงกลมแป้น ไม่มีจุก เปลือกเรียบ มีสีเขียว หรือเหลืองส้ม แล้วแต่พันธุ์ ขนาดของผลโดยประมาณมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 เซนติเมตร ด้านก้นผลเรียบถึงเว้าเล็กน้อย ด้านขั้วผลมน เปลือกอ่อนบาง ปอกง่าย กลีบแยกออกจากกันได้ง่าย จำนวน 10-12 กลีบ ผนังกลีบบาง มีรกน้อย ตัวกุ้งหรือเนื้อที่เกาะกันเป็นกลีบมีขนาดสั้น ฉ่ำน้ำ เนื้อสีส้ม มีกลิ่นหอมแรง ส้มเขียวหวานมีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน และบางพันธุ์หวาน เมล็ดเล็ก รูปไข่หัวกลับ และ จำนวนเมล็ดมีน้อย แต่ก็อาจพบจนถึง 12 เมล็ดต่อผล ส้มเขียวหวาน จะให้ผลผลิตมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม

พันธุ์และการขยายพันธุ์

ส้มเขียวหวานเป็นพันธุ์ส้มเปลือกล่อน ปลูกกันแพร่หลายมาแต่เดิมแล้วขยายพันธุ์ต่อๆ กันมา โดยมีการคัดพันธุ์ตามแหล่งที่ปลูกต่างๆ พันธุ์ที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ ส้มโชกุน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มบางมด ส้มสีทอง เป็นต้น

ส้มพันธุ์แหลมทอง

ออกดอกติดผลค่อนข้างยาก ผลขนาดกลาง รสชาติหวานจัด ปลูกกันอยู่เดิมในเขตจังหวัดราชบุรี

ส้มพันธุ์โชกุนหรือส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง เป็นพันธุ์ส้มเปลือกล่อนที่กำลังได้รับความนิยม พันธุ์ที่ปลูกในภาคเหนือเรียก ส้มสายน้ำผึ้ง ถ้าปลูกที่ภาคใต้เรียก ส้มโชกุนหรือส้มเพชรยะลา ทรงต้นและขนาดต้นใกล้เคียงกับส้มเขียวหวาน แต่ทรงพุ่มค่อนข้างหนาแน่นกว่า กิ่งและใบตั้งขึ้น ใบมีขนาดเล็กกว่าส้มเขียวหวาน แต่สีใบเขียวเข้มกว่า ผลมีสะดือซึ่งเป็น

ลักษณะพิเศษ เนื้อแน่น ชานนิ่ม มีเปอร์เซ็นต์ของน้ำคั้นต่อผลสูง รสชาติหวานจัดอมเปรี้ยวเล็กน้อยผลแตกง่ายกว่าส้มเขียวหวาน

ส้มพันธุ์บางมด

ผลขนาดกลาง ทรงผลค่อนข้างกลมถึงแป้นเล็กน้อย ผิวผลสีเขียวอมเหลือง เมื่อปลูกทางภาคเหนือ

ผิวผลสีเหลืองเข้ม เนื้อผลสีส้ม ชานนิ่ม รสชาติหวานอมเปรี้ยว ติดผลดก ปลูกได้ทั่วไป เป็นสายพันธุ์ที่ปลูก

กันมาแต่เดิมในเขตบางมด บางขุนเทียน ปัจจุบันมีผู้นำไปปลูกในเขตอื่นแล้วเรียกชื่อต่างกันไป เช่น ส้มผิว

ทอง ส้มสีทอง เป็นต้น

การขยายพันธุ์ ตอนกิ่ง ทาบกิ่ง ติดตา

วิธีการปลูก

นิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งและติดตา การปลูกเตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายตัว ใช้ระยะปลูก 4×6 หรือ 6×6 เมตร ติดดอกออกผลช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ อายุเก็บเกี่ยว 8.5-10 เดือนหลังการติดผล

การดูแลรักษา

ระยะเจริญเติบโตให้น้ำปกติ ระยะออกดอกต้องการน้ำน้อย ระยะติดผลถึงผลแก่ต้องการน้ำมากขึ้น

ระยะผลส้มเข้าสีแล้วลดปริมาณน้ำลง

การให้ปุ๋ยตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงอายุ 1 ปี ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 10 กิโลกรัมต่อต้น ใส่ปุ๋ยเคมี เช่น 20-10-10 ผสม 46-0-0 (1 : 1) อัตรา 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้งต่อปี สำหรับต้นอายุ 2-4 ปี ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 20 กิโลกรัมต่อต้น และใส่ปุ๋ยเคมีส่วนผสมเดียวกันอัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น (แบ่งใส่ 3-4 เดือนต่อครั้ง) ส้มอายุ 4 ปีขึ้นไป (เริ่มให้ผลผลิต) ให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น และพ่นปุ๋ยทางใบเพื่อเพิ่มธาตุอาหาร (ก่อนออกดอก) ให้ปุ๋ยธาตุอาหารรองและอาหารเสริม เช่น แคลเซียม ทองแดง แมงกานีส เป็นต้น (ระยะติดผล) ให้สูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น (ช่วงใกล้เก็บเกี่ยว)

โรคและแมลงศัตรูที่สำคัญ

เหมือนกับพืชตระกูลส้มอื่นๆ โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคกรีนนิ่ง โรคทริสเตซ่า และโรครากเน่าโคนเน่า ส่วนแมลงศัตรูที่สำคัญได้แก่ เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่ แจ้ส้ม เพลี้ยอ่อน ไรแดงแอฟริกัน ไรสนิมส้ม ไรเหลืองส้ม และหนอนชอนใบ

การใช้ประโยชน์

ส้มเขียวหวานคุณค่าอาหารสูงมาก มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก โซเดียม โพแทสเซียม วิตามินเอ วิตามินซี และวิตามินบีคอมเพล็กซ์ เนื้อส้มช่วยเจริญอาหาร วิตามินซีในส้มรักษาโรคเหงือก ซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน ชานส้มช่วยขับถ่ายและป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ เปลือกส้มมีน้ำมันหอมระเหยที่นำมาใช้ทำยาบำรุง ใช้ทาใบหน้าป้องกันและรักษาสิวฝ้า

แหล่งพืชอนุรักษ์

ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

<<กลับไปหน้าฐานข้อมูลไม้ผล