สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จัดฝึกอบรม “ถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรจากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ รุ่นที่ 2”
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงพืชสมุนไพร จากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เพิ่มผลผลิตและคุณภาพสมุนไพรเพื่อการแพทย์ รองรับภาคอุตสาหกรรม สู่การสร้างอาชีพ
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบสมุนไพรในระบบอุตสาหกรรม ยา เวชสําอาง เครื่องดื่มและอาหารเสริมสุขภาพซึ่งมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี แพทย์มีปริมาณไม่แน่นอน ไม่สามารถคาดการณ์คุณภาพผลผลิต
แม้ปัจจุบันเกษตรกรสามารถผลิตพืชสมุนไพรได้มากมาย แต่กลับพบว่ากว่า 80 % มีปริมาณสารสําคัญต่ำกว่าค่ามาตรฐานทางการแพทย์ เนื่องจากเป็นผลผลิตจากสมุนไพรพันธุ์พื้นเมืองและหัวพันธุ์ที่ไม่สะอาด เมื่อนําหัวพันธุ์ดังกล่าวไปปลูกผลผลิตจะต่ําลง 30 – 50 % และเมื่อนําไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบสมุนไพรแห้งพบว่า สารสําคัญทางการ ทําให้ผู้ประกอบการจําเป็นต้องซื้อวัตถุดิบเพิ่มขึ้นถึง 20 -30 % เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ประเทศไทยยังต้องนําเข้าวัตถุดิบสมุนไพรแห้งและสารสกัดจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งที่เป็นพืชสมุนไพรที่ประเทศไทยปลูกเป็นจํานวนมาก
กรมวิชาการเกษตร มีพันธุ์พืชสมุนไพรเพื่อการแพทย์โดยตรงหลายหลากชนิด ซึ่งล้วนมีปริมาณสารสําคัญสูงกว่าค่ามาตรฐานทางการแพทย์ 50 – 100 % และยังมีเทคนิคในการขยายปริมาณหัวพันธุ์พืชอย่างรวดเร็ว ผ่าน เทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรเฉพาะชนิด จึงได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงพืชสมุนไพร จากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ รุ่นที่ 2” ในวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2566 นี้ ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย
ในขั้นตอนสําคัญที่เป็นหัวใจของความสําเร็จในขบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อมี 3 เรื่อง ได้แก่
กิจกรรมที่ 1 การฟอกชิ้นส่วนพืชสมุนไพรและการเพิ่มประสิทธิภาพการฟอกชิ้นส่วนพืช
กิจกรรมที่ 2 การเตรียมอาหารสําหรับการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนพืชสมุนไพรตามพัฒนาการของพืชและการถ่ายย้ายชิ้นส่วนพืชสมุนไพร
กิจกรรมที่ 3 การออกปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนควบคุมและอนุบาลพืชสมุนไพรที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การฝึกอบรมครั้งนี้เป็นเป้าหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ : กิจกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ตามแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 ที่เน้นการเพิ่มมูลค่า พืชสมุนไพรให้เป็นพืชความหวังใหม่ ผ่านการขับเคลื่อนตามแนวทาง BCG model เกษตรชีวภาพ กล่าวคือ การนําความรู้ เทคโนโลยี/นวัตกรรม มาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับคุณภาพ มาตรฐานให้กับสินค้าเกษตร การพัฒนาพืชสมุนไพรให้เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมนั้นจะต้องให้ความสนใจตั้งแต่พื้นฐาน ต้นน้ําคุณภาพ ซึ่งจะต้องเกิดจากพันธุ์พืชที่เหมาะสม การปลูกที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการรับผิดชอบต่อผู้บริโภคของเกษตรกรที่ผลิตแต่สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยจากสารพิษต่าง
ดังนั้นการอบรม การถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงพืชสมุนไพรจากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ รุ่นที่ 2 จะเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการหัวพันธุ์สมุนไพรที่เหมาะสมและเพียงพอ ส่งเสริมให้มีแหล่งขยายปริมาณมากขึ้น
โดยที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงพืชสมุนไพร ฯ รุ่นที่ 1 เมื่อปี 2565 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้สนใจทั่วประเทศอย่างมาก
ทำให้ต้องจัดการอบรมรุ่นที่ 2 ในภาคเหนือ ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงพันธุ์ดี ได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดําเนินงานขับเคลื่อนห่วงโซ่มูลค่าสมุนไพร สร้างรายได้สู่ชุมชน และขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วในอนาคตต่อไป