เตือนภัยการเกษตร ช่วงวันที่ 2-8 มกราคม 2562
เตือนภัยการเกษตร
ช่วงวันที่ 2-8 มกราคม 2562
ภาคเหนือ ตอนบน
1.ส้มโอ ระยะเตรียมต้นก่อนการออกดอก (ศวส.เชียงราย)
– เพลี้ยไฟพริก Scirtothrips dosalis Hood การทำลายของเพลี้ยไฟพริก ดูดกิน น้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน ตุ่มตาใบ ตุ่มตาดอก ช่อดอก โดยเฉพาะฐานรองดอกและขั้วผลอ่อน ทำให้ใบที่แตกใหม่แคระแกรน ขอบใบและปลายใบไหม้ ยอดแห้งไม่แทงช่อใบหรือช่อดอก และทำให้ช่อดอกหงิกงอ ดอกร่วงไม่ติดผล หรือติดผลน้อย สังเกตพบผลอ่อนที่ถูกทำลายจะร่วง ปรากฏแผลชัดเจนเป็นวงที่ขั้วผลส้มโอ
การป้องกันกำจัด
1. ตัดแต่งใบ ยอด ที่ถูกทำลายออกเผา
2.พ่นสารป้องกันและกำจัด อิมิดาโคลพริด 10%อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
ภาคเหนือ ตอนล่าง
1.ส้มโอ ระยะเจริญเติบโต (ศวส.สุโขทัย)
-หนอนชอนใบ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนจะวางไข่ภายในเนื้อเยื่อใต้ผิวใบ เมื่อตัวหนอนฟักออกมาจะกัดกินชอนไชอยู่ในระหว่างผิวใบ ทำให้เป็นเส้นทางสีขาววกวน พบการระบาดได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในระยะแตกใบอ่อนทำให้ใบหงิกงอเสียรูปทรง หากระบาดรุนแรงสามารถเข้าทำลายกิ่งอ่อนและผลอ่อน ทำให้เกิดบาดแผลและสามารถเกิดโรคแคงแกอร์เข้าทำลายได้ง่าย
การป้องกันกำจัด
- ใบอ่อนที่ถูกหนอนเข้าทำลายหนัก ให้ตัดยอดอ่อนเผาทำลายนอกแปลงปลูก
- หมั่นสำรวจหนอนในระยะส้มแตกใบอ่อน การสุ่มสำรวจ
– สำรวจ 10 -20 ต้น ต่อสวน
– สำรวจต้นละ 5 ยอด
– ยอดละ 5 ใบ ถ้าพบ 3 ใบหรือมากกว่าถือว่ายอดนั้นถูกทำลาย ถ้ามียอดถูกทำลายเกินกว่า 50 % ต้องทำการป้องกันกำจัด
- การป้องกันโดยการฉีดพ่นสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 30 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดเมทโธเอท 40%
อีซี ผสมไซเปอร์เมทริน 5 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 7 – 10 วันต่อครั้ง หรือ อิมิดาโคลพริด 70 % ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง
1.มังคุด ออกดอก (ศวส.จันทบุรี)
-เพลี้ยไฟ บางครั้งมองดูตาเปล่าไม่เห็น สีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อนเคลื่อนไหวได้รวดเร็วมักพบระบาดในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่จะใช้ส่วนของปากเขี่ยผิวของใบและดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อนทำให้ยอดและใบแห้ง หงิกงอ แคระแกรน
การป้องกันกำจัด
สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด ได้แก่ อิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟเฉลี่ย 0.25 ตัวต่อผลอ่อน ไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้เพลี้ยไฟต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้
– ไรแดง ผลอ่อนจะมีเจริญเติบโตช้าหรือจะมีลักษณะผิวผลกร้าน เป็นขี้ขุย
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูใบมังคุด โดยใช้แว่นขยาย กำลังขยาย 10 เท่า ส่องดูด้านหน้าใบ ในช่วงเดือนตุลาคม – มกราคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีลมพัดแรง และฝนทิ้งช่วง
- เมื่อพบการระบาดให้ใช้สารฆ่าไรพ่น การป้องกันกำจัดไร ได้แก่ สารโพรพาร์ไกต์ 30% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะมิทราซ 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
** การใช้สารฆ่าไร ไม่ควรพ่นสารชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับชนิดกัน เพื่อป้องกันไรสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าไร และใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
2.ทุเรียน ออกดอก (ศวส.จันทบุรี)
-เพลี้ยไฟ ทำลายใบอ่อน ยอด โดยใช้ปากดูดน้ำเลี้ยง ทำให้ยอดอ่อนแคระแกร็น ใบหงิกและไหม้ ดอกแห้งและร่วง
การป้องกันกำจัด
สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด ได้แก่ อิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5 % เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟเฉลี่ย 0.25 ตัวต่อผลอ่อน ไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้เพลี้ยไฟต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้
-ราทำลายดอกภายในดอกทุเรียน จะมีสีดำเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายทำให้เกสรทุเรียนได้รับความเสียหาย
การป้องกันกำจัด
- ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดความชื้นสะสม
- ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนให้เหมาะสม
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่า เริ่มมีการระบาดของโรค ตัดส่วนที่เป็นโรค และเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น ไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชวาลิดามัยซิน 3% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เฮกซะโคนาโซล 5% เอสซี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 10 วัน
- เมื่อพบการระบาดของโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอย
– ไรแดง ผลอ่อนจะมีเจริญเติบโตช้าหรือจะมีลักษณะผิวผลกร้าน เป็นขี้ขุย
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูใบทุเรียน โดยใช้แว่นขยาย กำลังขยาย 10 เท่า ส่องดูด้านหน้าใบ ในช่วงเดือนตุลาคม – มกราคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีลมพัดแรง และฝนทิ้งช่วง
- เมื่อพบการระบาดให้ใช้สารฆ่าไรพ่น การป้องกันกำจัดไร ได้แก่ สารโพรพาร์ไกต์ 30% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะมิทราซ 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
** การใช้สารฆ่าไร ไม่ควรพ่นสารชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับชนิดกัน เพื่อป้องกันไรสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าไร และใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
3.เงาะ เตรียมความพร้อมในการออกดอก แตกใบอ่อน(ศวส.จันทบุรี)
-หนอนคืบกินใบอ่อนและช่อดอก หนอนจะกัดกินใบอ่อน และช่อดอก ให้ได้รับความเสียหาย
การป้องกันกำจัด
1.สำรวจแมลงและหมั่นกำจัดวัชพืชออกจากแปลงปลูกสม่ำเสมอ
2.ควรพ่นสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตร 50 มิลลิลิตร หรือสารไซเปอร์เมทริน / โฟซาโลน 6.25% / 22.5% อีซี 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
-แมลงค่อมทอง ตัวเต็มวัยกัดกินใบ ยอดอ่อน และดอก ใบที่ถูกทำลายจะเว้าๆ แหว่งๆ ถ้าระบาดรุนแรงจะเหลือแต่ก้านใบ และมีมูลที่ถ่ายออกมาปรากฏให้เห็นตามบริเวณยอด ตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สำคัญที่สุด เพราะกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช สีของตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม จึงพบมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีเทา สีดำ และสีเขียวปนเหลืองเป็นมัน ตัวเต็มวัยที่พบบนต้นพืชมักพบเป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มอยู่บนลำต้น เมื่อต้นพืชถูกกระทบ กระเทือน จะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน
การป้องกันกำจัด
- ตัวเต็มวัยมีอุปนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อถูกกระทบ กระเทือน ใช้ผ้าพลาสติกรองใต้ต้นแล้วเขย่าให้ ตัวเต็มวัยหล่น รวบรวมนำไปทำลาย
- บริเวณที่พบระบาดควรพ่นด้วย สารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วในระยะที่เงาะแตกใบอ่อน 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 10-14 วัน
ภาคใต้ตอนล่าง
1.กล้วยหิน ทุกระยะการเจริญเติบโต (ศวส.ยะลา)
-โรคเหี่ยวของกล้วย ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว ก้านใบหักพับ ปลีกล้วยแคระแกร็นและเหี่ยวแห้ง หน่อกล้วยยอดเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อตัดดูลักษณะภายในลำต้นเทียมจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดง อาการเหี่ยวจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พืชแสดงอาการใบเหลือง และยืนต้นตาย เชื้อสามารถเข้าทำลายลำต้นเทียม ก้านใบ เครือกล้วย ผล และหน่อกล้วย
การกำจัดโรค
- ทำลายกอกล้วยหินโดยใช้สารกำจัดวัชพืช ซึ่งมีวิธีการดังนี้
– ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นความยาว 8 นิ้ว แช่ในกระป๋องที่ใส่สารกำจัดวัชพืช ไตรโคลเพอร์ บิวทอกซีเอทิลเอสเตอร์ 66.8% อีซีแช่ทิ้งไว้ข้ามคืน
– นำไม้เสียบลูกชิ้นที่แช่สารกำจัดวัชพืชแล้ว เสียบที่บริเวณโคนต้นกล้วยที่เป็นโรคเหี่ยว ลึกประมาณ 5 นิ้ว โดยเลือกเสียบที่ต้นกล้วยขนาดใหญ่ในกอ ประมาณ 2-3 ต้น ต้นกล้วยจะตายภายในเวลาประมาณ 20-30 วัน
- โรยปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อกอ ตรงบริเวณโคนและรอบรากต้นกล้วยที่เป็นโรค เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคที่อยู่ในดิน
- ต้นกล้วยที่เป็นโรค หากมีปลี หรือเครือกล้วย ให้ใช้ถุงพลาสติกคลุม เพื่อป้องกันแมลงที่จะมาสัมผัสเชื้อสาเหตุโรค และยับยั้งการแพร่กระจายโรคไปสู่ต้นอื่น
- หลังจากต้นกล้วยตาย ให้สับต้นกล้วยเป็นท่อน แล้วราดด้วย พ.ด.1 ที่ผสมน้ำตามคำแนะนำข้างซอง ใช้ 1 ซองต่อกอ เพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ห้ามนำต้นกล้วยที่ย่อยสลายแล้วไปเป็นปุ๋ย
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในดินอีกครั้ง โดยสับกอกล้วยที่ย่อยสลายแล้วกับดินบริเวณรอบกอกล้วย แล้วใช้ยูเรีย
0.5 กิโลกรัม ผสมกับ ปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อกอ โรยให้ทั่วกอ กลบดินบริเวณกอกล้วยให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้
3 สัปดาห์ เมื่อยูเรียและปูนขาวได้รับความชื้นจะแตกตัวเป็นแก๊สพิษฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เมื่อครบกำหนดใช้จอบสับดินให้แก๊สพิษที่อยู่ในดินออกมา แล้วปลูกพืชได้ตามปกติ
การดูแลป้องกันต้นกล้วยที่ยังไม่เป็นโรคแต่อยู่ในแปลงที่มีต้นกล้วยเป็นโรค
ใช้ชีวภัณฑ์บาซิลัส ซับทีลิส สายพันธุ์ BS-DOA 24 ของกรมวิชาการเกษตร อัตรา 25 กรัม ผสมน้ำ 10 ลิตรต่อกอ รดให้ทั่วรอบต้น ทุก 30 วัน เป็นระยะเวลา 12 เดือน
การป้องกันโรค
- การฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคในดินก่อนปลูก
– ในกรณีที่ปลูกกล้วยหินพืชเดียว ฆ่าเชื้อโดยใช้ยูเรีย อัตรา 80 กิโลกรัมผสมกับ ปูนขาว 800 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลง ไถกลบให้ลึกพอสมควร ปาดหน้าดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่มจนทั่ว ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดเปิดหน้าดินให้แก๊สพิษออกมา จากนั้นทำปลูกกล้วยได้ตามปกติ
– ในกรณีที่ปลูกกล้วยหินแซมพืชอื่น ฆ่าเชื้อบริเวณหลุมปลูก โดยใช้ยูเรีย 0.5 กิโลกรัม ผสมกับปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อหลุม โรยให้ทั่วหลุม กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มจนทั่ว ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดใช้จอบสับดินให้แก๊สพิษออกมา แล้วปลูกกล้วยได้ตามปกติ
- ใช้หน่อกล้วยปลอดเชื้อ หรือไม่ใช้หน่อกล้วยจากแปลงที่เป็นโรคมาเป็นหน่อพันธุ์
- หลังปลูกหน่อกล้วย รดด้วยชีวภัณฑ์บาซิลัส ซับทีลิส สายพันธุ์ BS-DOA 24 อัตรา 50 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วรอบต้นและรดซ้ำทุก 30 วัน นาน 12 เดือน
- ทำความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น มีดตัดผลกล้วย จอบ เสียม ทุกครั้งก่อนนำไปใช้กับต้นต่อไป โดยใช้น้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ อัตรา 250 มิลลิลิตรผสมน้ำ 3 ลิตร
- ไม่เดินจากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นที่ไม่เป็นโรค หากจำเป็นต้องเดินให้ฆ่าเชื้อที่รองเท้าก่อน ด้วยน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ อัตรา 250 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 3 ลิตร
- ไม่นำกล้วยหินที่เป็นโรคไปทำเป็นอาหารสัตว์
2.ทุเรียน ทุกระยะการเจริญเติบโต (ศวส.ยะลา)
-โรคใบติด ใบที่พบจะมีรอยคล้ายๆ ถูกน้ำร้อนลวก ขอบแผลไม่แน่นอน อาจเริ่มที่ปลายใบ กลางใบ หรือโคนใบแล้วลุกลามจนเป็นทั้งใบ และจะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมงมุมแผ่ไปตามผิวใบ ใบที่ถูกทำลายจะร่วงหล่นไปในที่สุด ถ้าใบที่เป็นโรคไปสัมผัสกับใบที่ปกติไมว่าจะเป็นใบที่อยู่ล่างๆ หรือใบที่อยู่เหนือกว่า ใบปกตินั้นก็จะเป็นโรคใบติดเช่นกัน
การป้องกันกำจัด
- ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดความชื้นสะสม
- ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนให้เหมาะสม
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่า เริ่มมีการระบาดของโรค ตัดส่วนที่เป็นโรค และเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น ไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชวาลิดามัยซิน 3% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เฮกซะโคนาโซล 5% เอสซี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคอปเปอร์ออกซี
คลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 10 วัน โดยพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้ว
3.ลองกอง ให้ผลผลิตแล้ว (ศวส.ยะลา)
-หนอนชอนเปลือกลองกอง หนอนกินใต้ผิวเปลือกทั้ง 2 ชนิด จะกัดกินทำลายอยู่ใต้ผิวเปลือกตามกิ่งและลำต้นลึกระหว่าง 2 – 8 มิลลิเมตร ซึ่งอยู่ระหว่างท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้กิ่งและลำต้นมีลักษณะตะปุ่มตะป่ำซึ่งในช่วงหน้าฝนกิ่งจะมีความชื้นสูงและมักมีโรคราสีชมพูเข้าทำลายร่วมด้วย ถ้าหนอนกัดกินบริเวณตาดอกจะทำให้ตาดอกถูกทำลายและผลผลิตลดลง ถ้าทำลายรุนแรงจะทำให้กิ่งแห้ง ต้นแคระแกรน โตช้า และตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
1.ใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 50 ล้านตัว (1 กระป๋อง) ต่อน้ำ 20 ลิตร 1 ต้นใช้น้ำ 5 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน (ในกรณีมีอากาศแห้งแล้ง ควรพ่นน้ำเปล่าให้ความชุ่มชื้นก่อนพ่นไส้เดือนฝอย)
- ใช้สาร คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้โชกบนลำต้น และกิ่งก้านที่มีรอยทำลายของหนอนกินใต้ผิวเปลือก
4.กาแฟ ให้ผลผลิต (ศวส.ยะลา)
-มอดเจาะผลกาแฟ มอดเจาะผลกาแฟเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็กประมาณ 1.5-2 มม. พบว่ามอดตัวเต็มวัยเข้าทำลายผลกาแฟได้ตั้งแต่ขนาดผลกาแฟมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.3 ม.ม. ขึ้นไป โดยเพศเมียจะเจาะผลกาแฟบริเวณปลายผลหรือสะดือของผล ในผลกาแฟสามารถพบแมลงได้ทุกระยะการเจริญเติบโต (ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย) แมลงอาศัยกัดกิน ขยายพันธุ์ในผลจนกระทั่งผลกาแฟสุก และยังสามารถอยู่ในผลกาแฟที่แห้งคาอยู่ในต้น ผลกาแฟที่หล่นลงพื้นดิน และแมลงอยู่ในกาแฟกะลาได้ในระยะหนึ่งถ้าเมล็ดกาแฟมีความชื้นเหมาะสม ซึ่งแมลงยังคงทำลายเมล็ดกาแฟกะลาระหว่างการตากเมล็ด ร่องรอยการเข้าทำลายของมอดเจาะผลกาแฟจะเห็นเป็นรูขนาดเล็กที่ปลายผลกาแฟบริเวณสะดือผล มักสังเกตได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกษตรกรไม่ทราบ อาจไม่ทันที่จะป้องกันหรือจัดการกับมอดเจาะผลกาแฟ
การป้องกันกำจัด
1 ตัดกิ่งแห้งคาต้น และผลกาแฟที่สุกแห้งคาต้น และที่ร่วงอยู่ใต้โคนต้นออกไปเผาทำลาย และทำความสะอาดโคนต้น อย่าทิ้งผลที่ร่วงหล่นไว้ในแปลงเพราะจะเป็นแหล่งวางไข่และขยายพันธุ์ของมอดกาแฟในฤดูถัดไป
- การเก็บเกี่ยวกาแฟ ควรเก็บผลผลิตให้หมดต้นไม่ให้ติดค้างอยู่บนต้นหรือร่วงหล่นตามพื้นดินใต้ต้น
- ถ้าการระบาดรุนแรงให้เลือกใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้ ไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20