การคัดเลือกสายพันธุ์ชาโยเต้ที่ได้จากการผสมข้าม

การคัดเลือกสายพันธุ์ชาโยเต้ที่ได้จากการผสมข้าม

 Research and Development of Chayote Varieties

จิตอาภา จิจุบาล1      เกษตริน ฝ่ายอุประ1  ธัญพร  งามงอน1  

 เยาวภา เต้าชัยภูมิ1   ลัดดาวัลย์  อินทร์สังข์2

 

บทคัดย่อ

     การคัดเลือกพันธุ์ในพื้นที่ต่างๆ และการผสมข้ามพันธุ์ เป็นแนวทางในการพัฒนาพันธุ์ใหม่ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ มีลักษณะดีผลผลิตสูง ทนทานต่อโรคเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ ซึ่งได้ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ปี 2557 -2558 โดยการสำรวจและรวบรวมพันธุ์จากแหล่งปลูกต่าง ๆ ในประเทศไทย 5 แหล่ง และได้ สายพันธุ์ชาโยเต้จำนวน 6 สายพันธุ์ คือ CKK#1, CKK#2, CKK#3, CKK#4, CKK#5 และ CKK#6 ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะประจำพันธุ์แตกต่างกันทั้งรูปร่าง สีผล และความทนทานต่อโรค นำสายพันธุ์ที่รวบรวมได้มาปลูก แยกกลุ่มและทำการผสมข้ามสายพันธุ์ทั้งหมด 5 คู่ผสม ได้ผลดังรายละเอียดคู่ผสมที่ 1 สายพันธุ์ สายพันธุ์ CKK#5(F)+CKK#3(M) ลูกผสมที่ได้มีลักษณะคล้ายพ่อแม่คือผลสีเหลืองทองมีร่องลึก ผิวผลแข็งเรียบไม่มีหนาม น้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 200-300 กรัม ความยาวผล 13-14 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อในรสชาติกรอบ หวานน้อย คู่ผสมที่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์CKK#4(F)+CKK#3(M) ลักษณะลูกผสมที่ได้มีลักษณะสีเหลืองอมเขียว ร่องผล ลึก มีหนามท้ายผล น้ำหนักผลแก่อยู่ระหว่าง 240-260 กรัม ความยาวผล 13-14 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อใน รสชาติกรอบติดหวานเล็กน้อย คู่ผสมที่3 สายพันธุ์ สายพันธุ์ CKK#6(F) +CKK#1(M) ลักษณะลูกผสมที่ได้มี ลักษณะสีเขียวอ่อน ร่องผลลึกปานกลาง ผิวเรียบ แก่อยู่ระหว่างน้าหนักผล 360-400 กรัม ความยาวผล 10-15 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อในรสชาติกรอบ หวานน้อย คู่ผสมที่ 4 สายพันธุ์ สายพันธุ์ CKK#1(F)+CKK#5(M) ลักษณะลูกผสมที่ได้มีสีเหลือง ร่องผลลึกปานกลาง ผิวผลหนา มีหนามสั้นแข็งรอบผล น้ำหนักผลแก่อยู่ระหว่าง 280-330 กรัม ความยาวผล 7-12 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อในรสชาติกรอบ หวานน้อย คู่ผสมที่ 5 สายพันธุ์ สายพันธุ์ CKK#2(F)+CKK#1(M) ลักษณะลูกผสมที่ได้มีลักษณะรูปร่างผลสีเขียว ร่องผิวผลหนาลึก ขรุขระไม่มีหนาม น้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 250-300 กรัม ความยาวผล 6-13 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อในรสชาติกรอบ หวานน้อย ซึ่งได้ดำเนินการรวมรวมและศึกษาสายพันธุ์ที่ได้จากการทดลองเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผล  ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการสูงต่อไป

 


1  ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์

2  สถาบันวิจัยพืชสวน