Search for:
ประชุมสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570)ของกรมวิชาการเกษตร

     วันที่ 14 สิงหาคม 2567 นายธงชัย คำโคตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน พร้อมด้วย นางสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล ดร.อนุวัฒน์ รัตนชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านพืชสวน และคณะผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมประชุมการสัมมนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) และให้ความรู้ในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของกรมวิชาการเกษตร ในระหว่างวันที่ 14 – 16 สิงหาคม 2567 เพื่อระดมสมองผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันทบทวนแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) และจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยมี ดร. พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานเปิดการสัมมนา ณ โรงแรมท็อปแลนด์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ประชุมคณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 4/2567

     วันที่ 14 สิงหาคม 2567 นายธงชัย คำโคตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 4/2567 โดยมี นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธาน ณ ห้องประชุมอยุธยา โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณุโลก และผ่านระบบ zoom meeting

ผอ.สวส ร่วมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้างานวิจัยของหน่วยงานภายใต้กรมวิชาการเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน

    วันที่ 8 สิงหาคม 2567 นายธงชัย คำโคตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ข้าราชการ ในสังกัดกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ ร่วมลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้างานวิจัยของหน่วยงานภายใต้กรมวิชาการเกษตรในเขตภาคเหนือตอนบน โดยเยี่ยมชมการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัดหลายแห่ง โดยมี นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธาน

     ที่ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ติดตามการพัฒนาพันธุ์กาแฟอะราบิกา ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ที่โดดเด่น เช่น กวก.เชียงใหม่ 80 กวก. เชียงราย 1 และ 2 แต่ละพันธุ์มีจุดเด่นต่างกันทั้งในแง่ผลผลิต ความต้านทานโรค และกลิ่นรสที่เป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ ยังได้สั่งการให้เร่งขึ้นทะเบียนพันธุ์กาแฟ Geisha และ Java ที่มีการรวบรวมไว้ที่ศูนย์วิจัยฯ ตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 เพื่อคุ้มครองสิทธิและสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพกาแฟไทย

     สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 และศูนย์เครือข่ายได้นำเสนอผลงานวิจัยด้านพืชเศรษฐกิจสำคัญของภาคเหนือ รวมถึงแนวทางการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการยกระดับการเกษตรของประเทศ การทำงานแบบบูรณาการระหว่างสำนักวิจัยฯ และศูนย์เครือข่ายช่วยให้การวิจัยและพัฒนามีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างตรงจุด     
     นอกจากกาแฟ ยังมีการพัฒนาพันธุ์ชาแม่จอนหลวงเบอร์ 3 ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนขอรับรองเป็นพันธุ์แนะนำของกรม เหมาะสำหรับแปรรูปเป็นชาเขียวคุณภาพสูง ส่วนมันฝรั่งมีการพัฒนาพันธุ์ทนร้อนและใช้เทคโนโลยีจีโนมิกเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอธิบดีรพีภัทร์ได้เปิดเผยแผนการดำเนินงานในปี 2567-2568 ว่า กรมวิชาการเกษตรเตรียมขยายพันธุ์กาแฟคุณภาพทั้งอะราบิกาและโรบัสตา พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ตลอดกระบวนการผลิต เพื่อยกระดับการปลูกกาแฟไทยอย่างครบวงจร โดยจะเน้นการบูรณาการการทำงานระหว่างสำนักวิจัยฯ ศูนย์เครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรมุ่งมั่นที่จะเป็นหน่วยงานหลักในการสนับสนุนการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทยให้ก้าวหน้าและยั่งยืน

ผอ.สวส.ร่วมพิธีวางพานพุ่มเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

     วันที่ 8 สิงหาคม 2567 นายธงชัย คำโคตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เข้าร่วมพิธีวางพานพุ่มเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมี นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธาน ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

     โอกาสนี้ ผู้บริหาร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 และเครือข่าย ศูนย์วิจัยเกษตรและวิศกรรมเชียงใหม่ ตลอดจนข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่และหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ ได้ร่วมพิธีถวายพานพุ่มและกล่าวถวายพระพรชัยมงคล เพื่อแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ กิจกรรมนี้จัดขึ้นล่วงหน้าก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม เพื่อให้สอดคล้องกับกำหนดการตรวจเยี่ยมศูนย์วิจัยฯ ของอธิบดี และเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมพระเกียรติที่จัดขึ้นทั่วประเทศ

ผอ.สวส.ร่วมนำผู้ชนะ สุดยอดกาแฟไทย 2567 Road Show กาแฟดูแลป่า รักษาต้นน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ เชิญชวนผู้ประกอบการ ร่วมทดสอบรสชาติ และประมูล

วันที่ 8 สิงหาคม 2567 นายธงชัย คำโคตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน ร่วมนำผู้ชนะ สุดยอดกาแฟไทย 2567 Road Show กาแฟดูแลป่า รักษาต้นน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ เชิญชวนผู้ประกอบการ ร่วมทดสอบรสชาติ และประมูล
      นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตร ได้ให้ความสำคัญกับการจัดประกวดสุดยอดกาแฟไทย ด้วยเป็นการสืบสานพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีแนวพระราชดำริในการส่งเสริมให้เกษตรกรบนพื้นที่สูงนำกาแฟ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจไปปลูกบนพื้นที่สูงเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้จากกาแฟพร้อมช่วยดูแลป่า อีกทั้งกรมวิชาการเกษตรยังเลือกกาแฟเป็นหนึ่งในพืชยุทธศาสตร์ที่จะทำให้เกิดพื้นที่สีเขียว และสนับสนุนการปลูกกาแฟควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่จำกัด

โครงการ การประกวดสุดยอดกาแฟไทย ภายใต้แนวคิด การผลิตอย่างยั่งยืน (Sustainable Coffee Production) กาแฟดูแลป่า รักษาต้นน้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ ได้จัดต่อเนื่องปีนี้เป็นปีที่ 4 ซึ่งการจัดกิจกรรมการประกวดสุดยอดกาแฟไทย ตลอด 3 ปี ที่ผ่านมา ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง ด้วยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีพระราชทานถ้วยรางวัลแด่ผู้ชนะเลิศการประกวดในแต่ละประเภท ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้เกษตรกรมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการผลิตกาแฟให้ได้คุณภาพ
       การประกวดสุดยอดกาแฟไทยปี 2567 นี้ กรมวิชาการเกษตรได้มอบหมายให้บริษัท พี่น้องกายสิทธิ์ จำกัด ในเครือบริษัท บิ๊ก แบล็ค บ๊อก จำกัด เป็นผู้จัดการประกวดเมล็ดกาแฟ และ ทำกิจกรรมโรดโชว์ ก่อนจัดการประมูลเมล็ดกาแฟในวันที่ 3-4 กันยายน 2567 นี้  โดยหลังจาก Kick off โครงการประกวดสุดยอดกาแฟไทย ปี 2567 เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2567 และจัดการประเมินคุณภาพด้านเมล็ด (green grading) และประเมินคุณภาพด้านรสชาติ (cup tasting) จนได้ผู้ชนะตามประกาศกรมวิชาการเกษตรแล้ว ในเดือนกรกฎาคม 2567 ทั้งประเภทการประกวดเมล็ดกาแฟอะราบิกา 3 ประเภท และโรบัสตา 1 ประเภท รวมถึงประกาศผู้ชนะการประกวดสวนกาแฟตามหลัก GAP และ เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู

 บริษัทฯ ได้นำกาแฟที่ได้คะแนนสูงสุดไปจัดกิจกรรมโรดโชว์แล้ว 3 แห่ง คือ ภาคกลางจัดที่งาน Coffee Fest 2024 ที่อิมแพคเมืองทองธานี, ภาคอีสาน จัดที่ จ.ขอนแก่น และ ภาคใต้จัดที่ จ.ภูเก็ต และ ภาคเหนือจัดงาน Best Coffee Road Show ที่จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 นี้ ทั้งนี้การจัดโรดโชว์ มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์รสชาติสุดยอดกาแฟไทยปีนี้ และเชิญชวนให้ผู้ประกอบการผลิตเมล็ดกาแฟคั่ว (Roaster) เข้าร่วมทดสอบรสชาติกาแฟ และเข้าร่วมการประมูลกาแฟ

ซึ่งกิจกรรมโรดโชว์จัดเป็นประจำทุกปี เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการตัดสิน ในการจัดประกวดสุดยอดกาแฟ 3 ครั้งที่ผ่านมา หลังจากการประกวดจนได้ผู้ได้ผู้ชนะแล้ว จะมีการจัดกิจกรรมโรดโชว์ โดยนำกาแฟของผู้เข้าประกวดที่ได้คะแนนชิมรสชาติดีที่สุดลำดับที่ 1-10 ไปจัดกิจกรรมให้ชิมในร้านกาแฟทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และผู้สนใจมีโอกาสชิมกาแฟดีที่สุด Top10 ของไทยทั้งประเภทอะราบิกาและโรบัสตา นอกจากการจัดกิจกรรมโรดโชว์ทดสอบรสชาติกาแฟแล้ว ยังมีการจัดสัมมนาในหัวข้อ Thailand Best Coffee Beans Seminar 2024 จัด 2 แห่ง ในภาคใต้ และภาคเหนือ เพื่อเปิดโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ ได้รับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกาแฟ

การจัดสัมมนาในหัวข้อ Thailand Best Coffee Beans seminar 2024  ภาคใต้จัดที่ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ในวันที่ 2 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา มีเกษตรกร และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมงานมากกว่า 60 คน การจัดครั้งนั้นได้เน้นความสำคัญของพันธุ์ที่ใช้ปลูก เทคโนโลยีการขยายพันธุ์ และการเปลี่ยนยอดพันธุ์พันธุ์ดีภายในแปลงปลูก เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตกาแฟที่มีคุณภาพดี นำไปสู่การผลิต The Best Coffee Beans โดยได้รับเกียรติจาก คุณนิภาวรรณ โดดเสนา ผู้จัดการฝ่ายบริการการเกษตร (กาแฟโรบัสตา) จาก บริษัทเนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และคุณพรรณระวี ดาราดวง ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการผู้ตัดสินการประกวดปีนี้    ร่วมเป็นผู้อภิปราย ซึ่งการสัมมนาวันดังกล่าวได้เน้นให้เกษตรกรปลูกกาแฟในรูปแบบเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู เน้นความอุดมสมบูรณ์ของดิน การอนุรักษ์ดินและน้ำ และการปลูกพืชหลากหลายชนิด เพื่อสร้างความหลากหลายของระบบนิเวศน์ภายในแปลงปลูกกาแฟ รวมทั้งเป็นการเพิ่มรายได้ของเกษตรกรได้  นอกจากนี้ยังได้มีการแบ่งกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว วิธีการเก็บรักษา เพื่อให้เมล็ดกาแฟคงคุณภาพดีอยู่ได้นานที่สุด กิจกรรมดังกล่าวเป็นการพัฒนารูปแบบการผลิตกาแฟคุณภาพตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ตรงตามความต้องการของผู้ซื้อไปแปรรูป ก่อให้เกิดความยั่งยืน

การจัดสัมมนาครั้งที่ 2 จะจัด ณ ห้องประชุม 1 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรจะเป็นประธานในพิธีเปิดในวันดังกล่าว และ คุณวีรวิชญ์ ลามเกสร ซึ่งเป็นหัวหน้าตัดสินการประกวดสุดยอดกาแฟไทยปีนี้ และ คุณพรรณระวี ดาราดวง กรรมการผู้ตัดสิน จะร่วมอภิปราย หัวข้อ Thailand Best Coffee Beans 2024 และเกษตรกรจะได้รับฟังเทคโนโลยีการผลิตกาแฟอะราบิกา จากคุณศิริภรณ์ จรินทร นักวิชาการเกษตรจากกรมวิชาการเกษตรอีกด้วย ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจะยืนยัน ผลัดดันการผลิตกาแฟคุณภาพ ตามนโยบายตลาดนำการผลิต