Search for:
ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

       วันที่ 10 สิงหาคม 2566 ดร.ชูชาติ  วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน  ร่วมลงพื้นที่ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีะเกษ กับนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมด้วย ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และคณะผู้บริหารกรมวิชาการเกษตร ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีะเกษ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และ ในโอกาสนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ติดตามความก้าวหน้าโครงการคาร์บอนเครดิตแปลงมะม่วง จัดทำข้อมูล baseline การปล่อยก๊าซเรือนกระจกย้อนหลัง 3 ปี ในแปลงดำเนินงานตามกรอบ T-VER ของ อบก. เพื่อเข้าสู่กระบวนการขอรับรองคาร์บอนเครดิตต่อไป
      การดำเนินงานคาร์บอนเครดิต กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำ MOU ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และ ได้เปิดตัวโครงการคาร์บอนเครดิต ในงาน DOA Green Together ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ เมื่อปลายเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ซึ่ง กรมวิชาการเกษตรมีแนวทางลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคเกษตร 2 แนวทาง ประกอบด้วย

     1. การจัดทำต้นแบบการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตพืช โดยมีแนวทางการดำเนินงานในพืชเป้าหมายที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา และไม้ผล (ทุเรียน และมะม่วง) ซึ่งจะดำเนินการพัฒนาเป็นโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ
     2. การพัฒนากรมวิชาการเกษตรเพื่อเป็นหน่วยงานตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภาคเกษตร โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาให้กรมวิชาการเกษตรสามารถเป็นหน่วยงานในการตรวจรับรองคาร์บอนเครดิตภาคป่าไม้ และการเกษตร ภายใต้หน่วยงานใหม่ คือกองวิจัยพัฒนาพืชเศรษฐกิจใหม่และการจัดการก๊าซเรือนกระจกสำหรับภาคเกษตร

    ในการนี้ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้เข้าติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการคาร์บอนเครดิตในแปลงมะม่วง ซึ่งได้มีการดำเนินการจัดทำข้อมูล baseline การปล่อยก๊าซเรือนกระจกย้อนหลัง 3 ปี โดยมีค่าการปลดปล่อยเฉลี่ยประมาณ 0.30 tCO2eq/ไร่/ปี ซึ่งหลังจากนี้จะมีการดำเนินการตามกรอบ T-VER ของ อบก. เพื่อเข้าสู่กระบวนการขอรับรองคาร์บอนเครดิตต่อไป
     นอกจากนี้ ยังได้มีการสรุปความก้าวหน้า Baseline ของพืชที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวข้างต้น บางพืชได้มีการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานเอกชนหรือสมาคมที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกัน พัฒนา National baseline ในพื้นที่แปลงเกษตรกรจากแหล่งผลิตสำคัญในการดำเนินงานด้านคาร์บอนเครดิตภาคเกษตร ถือเป็นครั้งแรกในจัดทำมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคเกษตร ที่นอกจากจะก่อให้เกิดรายได้จากการขายคาร์บอนแล้ว ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางเกษตรของไทย จากกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม เพื่อรองรับข้อกีดกันทางการค้าที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต และ กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำคู่มือประชาชน เพื่อให้ผู้สนใจได้รับรู้แนวทาง หรือหลักการในการสร้างรายได้จากการผลิตพืชด้วย

อบรมเทคนิคการใช้สื่อสารสนเทศในการนำเสนองานวิจัยพืชสวนอย่างมืออาชีพ

       เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ดร.ธีรวุฒิ  ชุตินันทกุล  หัวหน้างานวิจัยไม้ผล ประธานพิธีเปิดการอบรมหลักสูตร “เทคนิคการใช้สื่อสารสนเทศในการนำเสนองานวิจัยพืชสวนอย่างมืออาชีพ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของกรมวิชาการเกษตร โดยเฉพาะนักวิชาการมีการเพิ่มพูนทักษะในการจัดการสื่อในการนำเสนอผลงานทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีบุคลิกภาพที่ดีการนำเสนอผลงาน โดยได้รับเกียรติวิทยากรจำนวน 4 ท่าน ได้แก่ รศ.ดร.ธนิตา เลิศพรกุลรัตน์  ดร.รณยุทธ เอื้อไตรรัตน์  ดร.ณัชวดี จันทร์ฟอง และ อ.จาริณี มาเวหา จากสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นวิทยากรผู้ถ่ายทอดความรู้หลักตลอดช่วงการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 สิงหาคม 2566  ณ ห้องประชุม 321 ชั้น 3 สถาบันวิจัยพืชสวน

      ดร.ธีรวุฒิ  กล่าวในตอนท้ายว่าว่า ในการฝึกอบรมหลักสูตรเทคนิคการใช้สื่อสารสนเทศในการนำเสนองานวิจัยพืชสวนในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มพูนทักษะในการจัดการสื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีบุคลิกภาพที่ดีแล้ว ผู้เข้าร่วมอบรมยังมีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานวิชาการให้สามารถเข้าใจง่ายและเป็นที่จูงใจแก่ผู้ฟังมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

รศ.ดร.ธนิตา  เลิศพรกุลรัตน์
  เทคนิคการนำเสนองานวิชาการอย่างมืออาชีพ

ดร.รณยุทธ  เอื้อไตรรัตน์
การพูดเพื่อจูงใจผู้ฟังและบุคลิกที่ดีในการนำเสนองาน /การเล่าเรื่องและจับประเด็นเพื่อนำเสนอ/การออกแบบสื่อสำหรับการนำเสนอ/อินโฟกราฟิก

ดร.ณัชวดี  จันทร์ฟอง
การพูดเพื่อจูงใจผู้ฟังและบุคลิกที่ดีในการนำเสนองาน

อาจารย์จาริณี  มาเวหา

การเล่าเรื่องและจับประเด็นเพื่อนำเสนอ/การออกแบบสื่อสำหรับการนำเสนอด้วยอิโฟกราฟิก