Search for:
ประชุมวางแผนและเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field day) “มันฝรั่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”

          วันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 ดร.ชูชาติ  วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน  เป็นประธาน ประชุมวางแผนและเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field day) “มันฝรั่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ผ่านระบบประชุมออนไลน์

         โดยกรมวิชาการเกษตรร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน  จะจัดประชุมเสวนาเชิงปฏิบัติโครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมมันฝรั่งในประเทศไทยด้วยมันฝรั่ง สายพันธุ์ใหม่ การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Field day) “มันฝรั่งเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีด้านพันธุ์มันฝรั่งของ RDA และกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับการปรับใช้เทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่งและมันฝรั่งเพื่อการแปรรูป ที่ได้จากงานวิจัยแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างกรมวิชาการเกษตร สถาบันนเกษตรกร และภาคเอกชน

ประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 1/2566
     เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 1/2566 โดยมี ดร. ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล (Zoom meeting) พร้อมด้วย ดร.ชูชาติ วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีสาระสำคัญ เพื่อทราบสถานการณ์การผลิตไม้ผล ปี 2566 ในฤดูกาลผลิตที่กำลังจะมาถึง ได้แก่ ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด เงาะ และลองกอง รวมถึงรายงานความก้าวหน้าโครงการมหานครผลไม้ และการขนส่งผลไม้ ผ่านสนามบินจันทบุรี เพื่อรองรับการขนส่งทางอากาศ และการเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเส้นทางรถไฟจีน-ลาว เพื่อเพิ่มทางเลือกการขนส่งผลผลิตทางบก ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพการขนส่งสามารถส่งผลผลิตไม้ผลเศรษฐกิจหลักจากพื้นที่ผลิตตรงถึงตลาดได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
     นอกจากนี้ในการประชุมครั้งนี้ยังมีการพิจารณาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาทุเรียนด้วยคุณภาพ ปี 2566 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งภายใต้โครงการดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรมีแผนงานโครงการเร่งด่วนขับเคลื่อนทุเรียนไทย ทุเรียนคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการทำงานในการกำกับดูแลคุณภาพของทุเรียนตลอดห่วงโซ่อุปทาน และพัฒนา “Application ควบคุมปริมาณทุเรียน” เชื่อมโยงระหว่างเกษตรกรกับระบบการออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (PC) แบบอิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto) ของด่านตรวจพืช เพื่อแก้ไขปัญหาทุเรียนอ่อนให้ตรงจุด รวมทั้งการสวมสิทธิ์ใบรับรอง GAP อย่างยั่งยืน
สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จัดฝึกอบรม “ถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรจากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ รุ่นที่ 2”

     สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงพืชสมุนไพร จากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ เพิ่มผลผลิตและคุณภาพสมุนไพรเพื่อการแพทย์ รองรับภาคอุตสาหกรรม สู่การสร้างอาชีพ

     นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบสมุนไพรในระบบอุตสาหกรรม ยา เวชสําอาง เครื่องดื่มและอาหารเสริมสุขภาพซึ่งมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี แพทย์มีปริมาณไม่แน่นอน ไม่สามารถคาดการณ์คุณภาพผลผลิต

     แม้ปัจจุบันเกษตรกรสามารถผลิตพืชสมุนไพรได้มากมาย แต่กลับพบว่ากว่า 80 % มีปริมาณสารสําคัญต่ำกว่าค่ามาตรฐานทางการแพทย์ เนื่องจากเป็นผลผลิตจากสมุนไพรพันธุ์พื้นเมืองและหัวพันธุ์ที่ไม่สะอาด เมื่อนําหัวพันธุ์ดังกล่าวไปปลูกผลผลิตจะต่ําลง 30 – 50 % และเมื่อนําไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบสมุนไพรแห้งพบว่า สารสําคัญทางการ ทําให้ผู้ประกอบการจําเป็นต้องซื้อวัตถุดิบเพิ่มขึ้นถึง 20 -30 % เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้ประเทศไทยยังต้องนําเข้าวัตถุดิบสมุนไพรแห้งและสารสกัดจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปีทั้งที่เป็นพืชสมุนไพรที่ประเทศไทยปลูกเป็นจํานวนมาก

     กรมวิชาการเกษตร มีพันธุ์พืชสมุนไพรเพื่อการแพทย์โดยตรงหลายหลากชนิด ซึ่งล้วนมีปริมาณสารสําคัญสูงกว่าค่ามาตรฐานทางการแพทย์ 50 – 100 % และยังมีเทคนิคในการขยายปริมาณหัวพันธุ์พืชอย่างรวดเร็ว ผ่าน เทคนิคเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชสมุนไพรเฉพาะชนิด จึงได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงพืชสมุนไพร จากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ รุ่นที่ 2” ในวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2566 นี้ ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย 

     ในขั้นตอนสําคัญที่เป็นหัวใจของความสําเร็จในขบวนการเพาะเลี้ยงเนื้อมี 3 เรื่อง ได้แก่
กิจกรรมที่ 1 การฟอกชิ้นส่วนพืชสมุนไพรและการเพิ่มประสิทธิภาพการฟอกชิ้นส่วนพืช
กิจกรรมที่ 2 การเตรียมอาหารสําหรับการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนพืชสมุนไพรตามพัฒนาการของพืชและการถ่ายย้ายชิ้นส่วนพืชสมุนไพร
กิจกรรมที่ 3 การออกปลูกพืชสมุนไพรในโรงเรือนควบคุมและอนุบาลพืชสมุนไพรที่ขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

     อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การฝึกอบรมครั้งนี้เป็นเป้าหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในโครงการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรชีวภาพ : กิจกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ตามแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 – 2570 ที่เน้นการเพิ่มมูลค่า พืชสมุนไพรให้เป็นพืชความหวังใหม่ ผ่านการขับเคลื่อนตามแนวทาง BCG model เกษตรชีวภาพ กล่าวคือ การนําความรู้ เทคโนโลยี/นวัตกรรม มาเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ยกระดับคุณภาพ มาตรฐานให้กับสินค้าเกษตร การพัฒนาพืชสมุนไพรให้เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ภาคเอกชน และภาคอุตสาหกรรมนั้นจะต้องให้ความสนใจตั้งแต่พื้นฐาน ต้นน้ําคุณภาพ ซึ่งจะต้องเกิดจากพันธุ์พืชที่เหมาะสม การปลูกที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และการรับผิดชอบต่อผู้บริโภคของเกษตรกรที่ผลิตแต่สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน ปลอดภัยจากสารพิษต่าง

     ดังนั้นการอบรม การถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงพืชสมุนไพรจากงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ รุ่นที่ 2 จะเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการหัวพันธุ์สมุนไพรที่เหมาะสมและเพียงพอ ส่งเสริมให้มีแหล่งขยายปริมาณมากขึ้น

     โดยที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรถ่ายทอดเทคนิคการเพาะเลี้ยงพืชสมุนไพร ฯ รุ่นที่ 1 เมื่อปี 2565 ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้สนใจทั่วประเทศอย่างมาก

ทำให้ต้องจัดการอบรมรุ่นที่ 2 ในภาคเหนือ ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงพันธุ์ดี ได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมในการดําเนินงานขับเคลื่อนห่วงโซ่มูลค่าสมุนไพร สร้างรายได้สู่ชุมชน และขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ประเทศพัฒนาแล้วในอนาคตต่อไป