Search for:
ประชุมโครงการวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลพันธุ์มะพร้าวพันธุ์ดี ครั้งที่ 1/2567

     วันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2567 นายธงชัย คำโคตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เป็นประธานการประชุมโครงการวิจัยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตผลพันธุ์มะพร้าวพันธุ์ดี ครั้งที่ 1/2567 ระหว่างวันที่ 22-25 เดือนมกราคม พ.ศ. 2567 โดยมี นางปิยนุช นาคะ ที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร นางสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล นางสาวทิพยา ไกรทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และคณะ เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom)

     โอกาสนี้ ผอ.สวส. และคณะฯ ได้เยี่ยมชมแปลงแม่พันธุ์มะพร้าวน้ำหอม ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครพนม แปลงเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ณ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม และแปลงศูนย์เรียนรู้การผลิตพืชตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ ตำบลหนองแสง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

การฝึกอบรม หลักสูตร “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพรตามมาตรฐานการผลิตยา”

     วันที่ 20 มีนาคม 2566  สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร นำโดยกลุ่มวิชาการ งานพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ จัดฝึกอบรม “การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพรตามมาตรฐานการผลิตยา  ให้กับนักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และความเข้าใจในการผลิตพืชสมุนไพร ตามแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพรตามมาตรฐานการผลิตยา โดยมี ดร.ชูชาติ  วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เป็นประธานพิธีเปิด ดร.ทวีศักดิ์  แสงอุดม ผู้อำนวยการกลุ่มวิชาการ กล่าวรายงาน
      การฝึกอบรมฯ ได้กำหนดเป็นเวลา 2 วัน ในระหว่างวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2565  ณ ห้องประชุมกสิน ชั้น 3 อาคารพิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งมีผู้เข้าฝึกอบรม จำนวน 35 ราย

โดยมีวิทยากรมบรรยายภาคทฤษฎี รวม 6 ท่าน ดังนี้
     1. นางสาวแสงระวี  ม่วงฉ่ำ  นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ บรรยายเรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพร ภายใต้มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 3502 – 2561
     2. รศ.ดร.ภก. สมภพ ประธานธุรารักษ์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยาย เรื่อง วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐาน : กรณีศึกษาขมิ้นชัน
    3. นางสาวสุมาลี ทองดอนแอ  นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช  บรรยาย เรื่อง การอนุรักษ์และการค้าพืชสมุนไพรในบัญชี อนุสัญญาไซเตส (CITES) 
    4.นางสาววราภรณ์ ทองพันธ์   นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช บรรยาย เรื่อง สมุนไพรกับกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช
    5. ผศ.ดร.ภญ. วันดี ญาณไพศาล วิทยาลัยเภสัชกรรมสมุนไพรแห่งประเทศไทย
สภาเภสัชกรรม อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร บรรยาย เรื่อง การผลิตวัตถุดิบสมุนไพรเพื่อใช้ประโยชน์ทางยา (Herbal Medicinal Plants)
   6. รศ.ดร.ภก. อุทัย โสธนะพันธุ์    ภาควิชาเภสัชเวท คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  บรรยาย เรื่อง การผลิตพืชสมุนไพรให้ได้มาตรฐานใน สาธารณรัฐประชาชนจีน

        ดร.ชูชาติ  วัฒนวรรณ  กล่าวว่า ตามแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔ และ (ร่าง) แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ฉบับที่ 2 พ.ศ. ๒๕๖6-๒๕70 ได้กำหนดแนวทางภารกิจแผนงานของส่วนราชการในการขับเคลื่อนสมุนไพรไทยให้เป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชีย ที่มีความมั่นคงทางสุขภาพ และเกิดความยั่งยืนของเศรษฐกิจ ดังนั้นส่วนราชการจึงมีบทบาทอย่างสูงในการสนับสนุนการผลิตสมุนไพรที่มีมาตรฐานและมีคุณภาพ ตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตผลสมุนไพร เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของสมุนไพรไทยสำหรับตลาดในประเทศและต่างประเทศ และพัฒนาเพื่อให้มีการใช้สมุนไพรทางการแพทย์ ประกอบกับภาครัฐได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้สมุนไพรเป็นยารักษาโรค
ซึ่งการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จะต้องมีการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรนั้นๆ ก่อนทุกครั้ง เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น และยังต้องคำนึงถึงรายละเอียดอื่น ๆ อาทิ ธรรมชาติของสมุนไพรแต่ละชนิด สายพันธุ์ สภาวะแวดล้อมในการปลูก ฤดูกาล ช่วงเวลาเก็บ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการออกฤทธิ์ในการรักษาโรค ดังนั้นการใช้สมุนไพรต้องใช้อย่างมีความรู้ โดยยึดหลักเลือกใช้ให้ถูกต้องกับชนิดของพืช ใช้ถูกส่วน ใช้ให้ถูกขนาด ใช้ให้ถูกวิธี ใช้ให้ถูกโรค นอกจากนี้ ความต้องการพืชสมุนไพรสำหรับนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยาเพิ่มมากขึ้น การควบคุมคุณภาพของสมุนไพรจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีคุณภาพและได้มาตรฐาน ทำให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยและถูกต้องตามคุณภาพของสมุนไพร
       ปัจจุบันการผลิตสมุนไพรสำหรับนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ยังขาดความรู้สำหรับการผลิตให้ได้มาตรฐานการผลิตยา ตั้งแต่พื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีลักษณะตรงตามความต้องการ
       ดังนั้น สถาบันวิจัยพืชสวน จึงได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชสมุนไพรตามมาตรฐานการผลิตยา ให้กับบุคลากรของกรมวิชาการเกษตร ให้มีความรู้ความเข้าใจในการผลิตสมุนไพรเพื่อให้ได้มาตรฐานการผลิตยา