Search for:
สวส.ร่วมกับสวพ.3 จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การพัฒนาบุคลากรด้านการตรวจวิเคราะห์สมุนไพร”

     วันที่ 13 มีนาคม 2567 นายธงชัย คำโคตร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เป็นประธานพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร การพัฒนาบุคลากรด้านการตรวจวิเคราะห์สมุนไพร ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 14 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 – 18.00 น. ณ อาคารห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น โดยมี นางสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล พร้อมด้วย นายไกรสิงห์ ชูดี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3  คณะผู้จัดฝึกอบรม วิทยากรบรรยาย และผู้เข้ารับการฝึกอบรม เข้าร่วมพิธีเปิดฯ

     ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กล่าวว่า แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566  2570 กําหนดวัตถุประสงค์สําคัญที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร คือ
1) พัฒนาเกษตรกร หรือวิสาหกิจชุมชน ด้านการปลูก ขยายพันธุ์ แปรรูวัตถุดิบ สมุนไพรเบื้องต้นที่ปลอดภัยให้เพียงพอต่อความต้องการ

2) ยกระดับการผลิต สมุนไพรตลอดห่วงโซ่การผลิตของเกษตรกรให้ได้มาตรฐาน GAP เพื่อให้ได้วัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพมาตรฐาน

3) เพิ่มพื้นที่แปลงปลูกพืชสมุนไพร ปลอดภัยได้ตามมาตรฐาน โดยมีเป้าหมายให้เกิดพื้นที่เพาะปลูกสมุนไพรที่ได้ มาตรฐาน GAP/เกษตรอินทรีย์ 5๐,๐๐๐ ไร่ และกลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ มีการแปรรูปสมุนไพรเบื้องต้นที่ได้มาตรฐาน 3๐๐ แห่ง ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจําเป็นต้องมีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์สารสำคัญที่ได้มาตรฐานเพียงพอสําหรับให้บริการอย่างทั่วถึง 
การตรวจวิเคราะห์สารสําคัญจึงเป็นขั้นตอนสําคัญที่บ่งชี้คุณภาพของสมุนไพร ปัจจุบันห้องปฏิบัติการที่รับวิเคราะห์สารสําคัญในพืชสมุนไพรยังมีไม่เพียงพอทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นอกจากนั้นการวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือชั้นสูง เช่น GC HPLC LC-MS/MS ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้าน ทําให้เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ โดยง่าย เกษตรกรจึงต้องส่งตัวอย่างไปวิเคราะห์สารสําคัญกับภาคเอกชน หรือ ส่วนกลางของภาครัฐ ทําให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงและมีระยะเวลาในการวิเคราะห์นาน 

     กรมวิชาการเกษตร มีหน่วยงานส่วนภูมิภาค 8 เขต ที่มีหน้าที่ ให้บริการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช การวิเคราะห์ทดสอบด้านการเกษตร มีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์พืชและปัจจัยการผลิตที่สามารถพัฒนาเป็น ศูนย์บริการวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยในพืชสมุนไพรได้ โดย จําเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพ 3 ด้าน คือ 1) ด้านมาตรฐาน 2) ด้านการรับรองระบบงาน และ 3) ด้านการตรวจสอบและรับรอง ซึ่งการ พัฒนาทั้ง 3 ด้านนี้ จําเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและเข้าใจกระบวนการ ในด้านการวิเคราะห์ วิจัย มาตรฐานสมุนไพร และการบริการที่มีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนงานด้านพัฒนาระบบการผลิตพืชสมุนไพรให้ได้มาตรฐานตามความต้องการของตลาด รองรับงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร และให้บริการเกษตรกรหรือผู้ประกอบการในพื้นที่ เพื่อเข้าสู่มาตรฐานการผลิต GAP และ เกษตรอินทรีย์ รองรับยุทธศาสตร์การส่งเสริมการผลิตและแปรรูป วัตถุดิบพืชสมุนไพรให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ภายใต้แผนปฏิบัติงานเพิ่มจํานวนห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 สําหรับบริการตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบพืชสมุนไพร

     ดังนั้น สถาบันวิจัยพืชสวน ร่วมกับสํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 จึงได้จัดอบรมหลักสูตร การพัฒนาบุคลากรด้านการตรวจวิเคราะห์ สมุนไพร ให้กับบุคลากรของกรมวิชาการเกษตร ผู้ประกอบการ และหน่วยงาน ภายนอก ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถนําความรู้ที่ได้ไปปรับใช้และพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารสําคัญในสมุนไพรเพื่อรองรับแผนปฏิบัติการเพิ่มจํานวน ห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 ที่พร้อมให้บริการแก่ เกษตรกร และผู้ประกอบการได้เพียงพอ

ขอเชิญ!! เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การพัฒนาบุคลากรด้านการตรวจวิเคราะห์สมุนไพร
สวส.จัดอบรมหลักสูตร “การรจัดการข้อมูล Big Data ในงานวิจัยทางด้านพืชสวน”

          วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร ได้จัดอบรมหลักสูตร “การจัดการข้อมูล Big Data ในงานวิจัยทางด้านพืชสวน” ให้แก่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของกรมวิชาการเกษตร เพื่อความรู้ความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับ Big Data และการจัดการระบบข้อมูลงานวิจัยที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         จากที่ผ่านมาในการดำเนินงานวิจัย เช่น รูปแบบการบันทึก การรวบรวมข้อมูล และการแปลผลทางด้านการวิจัย ยังไม่มีการจัดระบบเพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์หรือนำเสนอผลการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันนี้มีการพัฒนารูปแบบการจัดการข้อมูลที่เรียกว่า Big Data ที่ช่วยส่งเสริมให้สามารถแยกแยะ จัดกลุ่ม และนำเสนอข้อมูลออกมาได้หลากหลายมิติตามที่ต้องการ อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้ดำเนินการวิจัยและผู้นำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงช่วยประหยัดเวลาให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้น หากนักวิชาการหรือเจ้าหน้าที่ของสถาบันวิจัยพืชสวนหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของกรมวิชาการเกษตรได้เรียนรู้หลักการดังกล่าวแล้ว จะส่งผลให้สามารถจัดการข้อมูลและวางแผนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นโดยมี ดร.ชูชาติ  วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เป็นประธานพิธีเปิด  ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาสวีร์  มาศดิศรโชติ  ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นวิทยากร ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม 321 ชั้น 3 สถาบันวิจัยพืชสวน

      ดร.ชูชาติ  กล่าวในพิธีเปิดว่า ในการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดการข้อมูล Big Data ในครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวกับ Big Data  และการจัดการระบบข้อมูลงานวิจัยที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผู้เข้าร่วมการใกอบรมสามารถออกแบบ วางแผนการเก็บข้อมูล บันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบ รวมถึงสามารถจัดการข้อมูลวิจัยและนำเสนอได้อย่างมีแบบแผน ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น

        โอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์มาสวีร์  มาศดิศรโชติ ได้รับเกียรติเป็นวิทยากรเพื่อถ่ายทอดความรู้ตลอดช่วงการฝึกอบรมหลักสูตรนี้ ตลอดทั้ง 3 วัน โดยบรรยายในหัวข้อ ดังนี้
                 1) การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ (Data Collection)
                 2) การเตรียมข้อมูล (Data Preparation)
                 3) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก (Insight Data Analytics)

ขอเชิญเข้าร่วม!! การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การแปรรูปและควบคุมคุณภาพสมุนไพรด้วยวิธีทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (Freeze dried Technology)

ขอเชิญเข้าร่วมการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การแปรรูปและควบคุมคุณภาพสมุนไพรด้วยวิธีทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง
(Freeze dried Technology)” ันที่  9 – 10 พฤษภาคม 2566 เวลา 08.00 – 17.30 น. ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรและอาหาร ภาคตะวันออกมหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี จังหวัดจันทบุรี