Search for:
ศึกษาชนิดของวัสดุเพาะและท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมในการผลิต

ศึกษาชนิดของวัสดุเพาะและท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมในการผลิตชาโยเต้

Study on Chayote Vine Cutting

จิตอาภา จิจุบาล1/ เกษตริน ฝ่ายอุประ1/   ธัญพร  งามงอน1/  

 เยาวภา เต้าชัยภูมิ1/   ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์2/

บทคัดย่อ

 

     การปักชำกิ่งชาโยเต้เพื่อการขยายพันธุ์ กิ่งที่เลือกปักชำควรเป็นกิ่งอ่อน จากส่วนยอดที่มีใบติดมีข้อ ประมาณ 3-4 ข้อ วัสดุชำที่เหมาะสมสำหรับการปักชำในโรงเรือนพลาสติก คือ ทรายละเอียดผสมแกลบดำ อัตราส่วน 1:1 มีเปอร์เซ็นต์การรอดตาย 54-71 เปอร์เซ็นต์ และการปักชำในโรงเรือนที่มุงหลังคาด้วยตาข่ายพรางแสง 80 เปอร์เซ็นต์ ใช้วัสดุชำแกลบดำ มีอัตราการรอดตายสูงสุด 75-82 เปอร์เซ็นต์ การปักชำสามารถ ชำได้ทั้งในโรงเรือนพลาสติกคลุมความชื้น และโรงเรือนหลังคาพรางแสง 80 เปอร์เซ็นต์ การรอดตายของกิ่งชำ มีความสัมพันธ์กับช่วงเดือนหรือฤดูกาลที่ปักชำ สภาพอากาศ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ในช่วงฤดูฝนการรอดตายของกิ่งจะสูงกว่าฤดูแล้ง ซึ่งอุณหภูมิสูงและความชื้นต่ำกว่า

 


1/ ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์

2/ สถาบันวิจัยพืชสวน

การคัดเลือกสายพันธุ์ชาโยเต้ที่ได้จากการผสมข้าม

การคัดเลือกสายพันธุ์ชาโยเต้ที่ได้จากการผสมข้าม

 Research and Development of Chayote Varieties

จิตอาภา จิจุบาล1      เกษตริน ฝ่ายอุประ1  ธัญพร  งามงอน1  

 เยาวภา เต้าชัยภูมิ1   ลัดดาวัลย์  อินทร์สังข์2

 

บทคัดย่อ

     การคัดเลือกพันธุ์ในพื้นที่ต่างๆ และการผสมข้ามพันธุ์ เป็นแนวทางในการพัฒนาพันธุ์ใหม่ เพื่อให้ได้พันธุ์ที่ มีลักษณะดีผลผลิตสูง ทนทานต่อโรคเหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ ซึ่งได้ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ปี 2557 -2558 โดยการสำรวจและรวบรวมพันธุ์จากแหล่งปลูกต่าง ๆ ในประเทศไทย 5 แหล่ง และได้ สายพันธุ์ชาโยเต้จำนวน 6 สายพันธุ์ คือ CKK#1, CKK#2, CKK#3, CKK#4, CKK#5 และ CKK#6 ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะประจำพันธุ์แตกต่างกันทั้งรูปร่าง สีผล และความทนทานต่อโรค นำสายพันธุ์ที่รวบรวมได้มาปลูก แยกกลุ่มและทำการผสมข้ามสายพันธุ์ทั้งหมด 5 คู่ผสม ได้ผลดังรายละเอียดคู่ผสมที่ 1 สายพันธุ์ สายพันธุ์ CKK#5(F)+CKK#3(M) ลูกผสมที่ได้มีลักษณะคล้ายพ่อแม่คือผลสีเหลืองทองมีร่องลึก ผิวผลแข็งเรียบไม่มีหนาม น้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 200-300 กรัม ความยาวผล 13-14 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อในรสชาติกรอบ หวานน้อย คู่ผสมที่ 2 สายพันธุ์ สายพันธุ์CKK#4(F)+CKK#3(M) ลักษณะลูกผสมที่ได้มีลักษณะสีเหลืองอมเขียว ร่องผล ลึก มีหนามท้ายผล น้ำหนักผลแก่อยู่ระหว่าง 240-260 กรัม ความยาวผล 13-14 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อใน รสชาติกรอบติดหวานเล็กน้อย คู่ผสมที่3 สายพันธุ์ สายพันธุ์ CKK#6(F) +CKK#1(M) ลักษณะลูกผสมที่ได้มี ลักษณะสีเขียวอ่อน ร่องผลลึกปานกลาง ผิวเรียบ แก่อยู่ระหว่างน้าหนักผล 360-400 กรัม ความยาวผล 10-15 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อในรสชาติกรอบ หวานน้อย คู่ผสมที่ 4 สายพันธุ์ สายพันธุ์ CKK#1(F)+CKK#5(M) ลักษณะลูกผสมที่ได้มีสีเหลือง ร่องผลลึกปานกลาง ผิวผลหนา มีหนามสั้นแข็งรอบผล น้ำหนักผลแก่อยู่ระหว่าง 280-330 กรัม ความยาวผล 7-12 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อในรสชาติกรอบ หวานน้อย คู่ผสมที่ 5 สายพันธุ์ สายพันธุ์ CKK#2(F)+CKK#1(M) ลักษณะลูกผสมที่ได้มีลักษณะรูปร่างผลสีเขียว ร่องผิวผลหนาลึก ขรุขระไม่มีหนาม น้ำหนักผลอยู่ระหว่าง 250-300 กรัม ความยาวผล 6-13 เซนติเมตร มียางเล็กน้อย เนื้อในรสชาติกรอบ หวานน้อย ซึ่งได้ดำเนินการรวมรวมและศึกษาสายพันธุ์ที่ได้จากการทดลองเพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผล  ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะตรงตามความต้องการสูงต่อไป

 


1  ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์

2  สถาบันวิจัยพืชสวน

ทดสอบพันธุ์ดาหลาที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

ทดสอบพันธุ์ดาหลาที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

 

ชญานุช ตรีพันธ์1/  สุมาลี  แก้วศรี1/  บุญชนะ วงศ์ชนะ1/ ศุภลักษณ์ อริยภูชัย1/   

บทคัดย่อ

     การทดสอบพันธุ์ดาลที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง วางแผนการ ทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ 9 พันธุ์ ประกอบด้วย พันธุ์ตรัง 1 พันธุ์ตรัง 2 พันธุ์ตรัง 3 พันธุ์ตรัง 4 พันธุ์ ตรัง 5 พันธุ์บัวแดงเล็ก พันธุ์บัวแดงใหญ่ พันธุ์บัวชมพู และพันธุ์ชมพูบ้านแหล พบว่า การเจริญเติบโตทางด้านลำต้น มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ ในเรื่องการแตกกอ ขนาดกอ และความยาวใบโดยดาหลาพันธุ์ตรัง 3 มีการแตกกอมากที่สุดคือ มีจำนวนต้นเฉลี่ย 31.58 ต้น/กอ มีจำนวนต้นเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 29.67 ต้น/กอ มีอัตราการเพิ่มจำนวนต้นเฉลี่ย 14.83 ต้น/กอ/ปี ดาหลาพันธุ์ตรัง 2 มีขนาดกอสูงสุดเฉลี่ย 4.82 เมตร และดาหลาพันธุ์บัวแดงใหญ่ มีขนาดใบยาวที่สุดเฉลี่ย 53.11 เซนติเมตร ตามลำดับ ส่วนในเรื่องความสูง และความกว้างใบไม่มีความแตกต่างทางสถิติ โดยดาหลาพันธุ์ตรัง 3 มีความสูงเฉลี่ย 185.28 เซนติเมตร มีความ สูงเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 101.28 เซนติเมตร มีอัตราการเพิ่มความสูงเฉลี่ย 50.63 เซนติเมตร/ปี และดาหลาพันธุ์บัวแดง ใหญ่มีขนาดใบกว้างที่สุดเฉลี่ย 14.97 เซนติเมตร ตามลำดับ ในด้านผลผลิต ดาหลาพันธุ์ตรัง 4 มีการให้ผลผลิต เร็วที่สุดคือ 22 เดือนหลังปลูก และมีผลผลิตรวม 7 เดือนสูงสุดเท่ากับ 27.01 ดอก/กอ

 


รหัส02-12-57-05-02-00-01-57

1/ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง 92105

การคัดเลือกพันธุ์กาแฟอะราบิกาจากเมล็ด Peaberry

การคัดเลือกพันธุ์กาแฟอะราบิกาจากเมล็ด Peaberry

 Trial 3.1 Selection in Arabica coffee from Peaberry seeds

นางสาวฉัตต์นภา ข่มอาวุธ  นายมานพ หาญเทวี  นายสมคิด รัตนบุรี  นายอนุ สุวรรณโฉม 

นางสาวไพรินทร์ มาลา   นายธนกฤษ รินใจ

 

บทคัดย่อ

     การคัดเลือกพันธุ์กาแฟอะราบิกาจากเมล็ด Peaberry มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการถ่ายทอดลักษณะเมล็ด Peaberry ดำเนินการเดือน ต.ค. 2553-กันยายน 2559 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่(ขุนวาง: 1400 ม. จากระดับน้ำทะเล) อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ไม่มีการวางแผนการทดลอง ในกาแฟอะราบิกาจำนวน 9 สายพันธุ์ ได้แก่ H420/9 ML2/4 78-31-34, H420/9 ML2/4 78-62-26, H420/9 ML2/4 87-84-35, H420/9 ML1/3 KW54,H528/46 ML2/10 29-65-23, H420/9 ML2/1 KW82, H420/9 ML2/10 KW46, Caturra และพันธุ์เชียงใหม่ที่ 80 เป็นเมล็ดที่มีลักษณะ Peaberry มาเพาะเป็นต้นกล้าพบว่าสามารถงอกและเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่สมบูรณ์เหมือนเมล็ดที่มีลักษณะปกติ เมื่อปลูกในเดือนตุลาคม 2555 ร่วมกับมะคาเดเมีย พบว่า กาแฟเริ่มออกดอกในเดือน มี.ค. 2556 ติดผลเดือน เม.ย-.พ.ค. 2556 และเก็บเกี่ยวในเดือน ม.ค.-ก.พ. 2557 จำนวน 6  สายพันธุ์ ปีที่ 2 ออกดอกในเดือน เม.ย. 2557 ติดผลเดือน พ.ค-มิ.ย 2557 และเก็บเกี่ยวในวันที่ 14 ม.ค. 2558 และ 16 มี.ค. 2558 ครบทุกพันธุ์ และปีที่ 3 ออกดอกในเดือน พ.ค. 2558 ติดผลเดือน มิ.ย–ก.ค. 2558 และเก็บเกี่ยววันที่ 11 ม.ค. 2559 และ 23 มี.ค. 2559 ครบทุกพันธุ์ พบว่า ให้ผลผลิตที่เป็นเมล็ดที่ปกติเฉลี่ยมากกว่าเมล็ดที่มีลักษณะ Peaberry คิดเป็น 89.1 และ 9.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โยสายพันธุ์ H420/9 ML2/4 78-31-34 มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดกาแฟPeaberry เฉลี่ยต่อปีมากที่สุดคือ 14.2 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์เชียงใหม่ 80 มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดกาแฟ Peaberry เฉลี่ยต่อปีน้อยที่สุดคือ 6.3 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดลองพบว่า สภาพแวดล้อมโดยเฉพาะอุณหภูมิ ปริมาณความชื้น และปริมาณน้ำฝน มีผลต่อการเกิดลักษณะเมล็ด Peaberry ร่วมกับพันธุกรรม

 

คำสำคัญ  กาแฟอะราบิกา : ลักษณะเมล็ดกลม

การเปรียบเทียบสายพันธุ์กาแฟอะราบิกาที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย

การเปรียบเทียบสายพันธุ์กาแฟอะราบิกาที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย

Trial 1.6 Varietal trial of Arabica coffee introduced from Australia

นางสาวฉัตต์นภา  ข่มอาวุธ    นายมานพ  หาญเทวี    นายสมคิด  รัตนบุรี  นางสาวไพรินทร์  มาลา   นายธนกฤษ รินใจ

บทคัดย่อ

     การเปรียบเทียบสายพันธุ์กาแฟอะราบิกา ที่นำเข้าจากประเทศออสเตรเลียมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพันธุ์กาแฟให้ต้านทานต่อโรคราสนิมในสภาพธรรมชาติ สำหรับใช้ในการทดสอบพันธุ์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์กาแฟดำเนินการเดือน ต.ค. 2554-กันยายน 2559 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่  (ขุนวาง : 1400 ม. จากระดับน้ำทะเล) อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ไม่มีการวางแผนการทดลองในกาแฟอะราบิกา 6 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ CatimorCIFC 7963-13-28  สายพันธุ์ H420/9ML2/4-78-62-26  สายพันธุ์ H528/46ML2/10-29-65-23  และพันธุ์ที่ได้รับเมล็ดจาก ประเทศออสเตรเลีย 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ San Ramon Sln.7.3 พันธุ์ Typica และพันธุ์ Caturra ปลูกในเดือนตุลาคม 2555 ร่วมกับต้นพลับ พบว่า กาแฟเริ่มออกดอกปีที่1 เดือน พ.ค. 2558 ติดผลเดือน มิ.ย.-ก.ค. 2558 เก็บเกี่ยวเดือน ม.ค.-ก.พ. 2559 ด้านการเจริญเติบโตพบว่าสายพันธุ์ Catimor CIFC 7963-13-28 มีอัตราการ เพิ่มเจริญเติบโต ด้านความสูง เส้นรอบวงโคนต้น และขนาดทรงพุ่มเฉลี่ยเมื่ออายุ 5 ปีหลังจากปลูกมากที่สุดคือ 21.5 ซ.ม.  1.9 ซ.ม. และ 25.8 ซ.ม. ตามลำดับ และ พันธุ์ Caturra มีอัตราการเพิ่มเจริญเติบโต ด้านความสูง เส้นรอบวงโคนต้น และขนาดทรงพุ่มเฉลี่ยเมื่ออายุ 5 ปีหลังจากปลูกน้อยที่สุดคือ 10.7 ซ.ม. 1.3 ซ.ม. และ 7.2 ซ.ม. ด้านผลผลิตพบว่า พันธุ์ Caturra ต่อให้ผลผลิตน้ำหนักสดต่อต้น (กก.) ผลผลิตน้ำหนักสดต่อไร่ (กก.)  ผลผลิตน้าหนักแห้งกะลาต่อต้น (กก.) และผลผลิตน้ำหนักแห้งกะลาต่อไร่ (กก.) มากที่สุดคือ 0.38 กก.ต่อต้น 150.9 กก.ต่อไร่ 0.07 กก.ต่อต้น และ 29.7 กก.ต่อไร่ ตามลำดับ ด้านความต้านทานโรค พบว่า สายพันธุ์ Catimor CIFC7963-13-28 สายพันธุ์ H528/46ML2/10-29-65- 23 และพันธุ์ Caturra มีเปอร์เซ็นต์ต้านทานโรคราสนิม 100 เปอร์เซ็นต์ พบว่า พันธุ์ Caturra ที่มาจากประเทศ ออสเตรเลีย สามารถนำไปใช้ในการทดสอบพันธุ์ในโครงการปรับปรุงพันธุ์กาแฟต่อไป

คำสำคัญ : กาแฟอะราบิกา การเปรียบเทียบพันธุ์