ประชุมคณะทำงานพืชกาแฟ ครั้งที่ 3/2566
วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 ดร.ชูชาติ วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เป็นประธาน ประชุมคณทำงานพืชกาแฟ ครั้งที่ 3/2566 ณ ห้องประชุม 321 ชั้น 3 สถาบันวิจัยพืชสวน และผ่านระบบ Zoom Meeting โดยมีเรื่องพิจารณาในที่ประชุม ดังนี้
1) สถานการณ์กาแฟ ปี 2567 (ปีการผลิต 2566/67)
2) การขอนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบอะราบิกา ปี 2566 ครั้งที่ 3 ภายใต้ความตกลง AFTA
3) การขอนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบโรบัสต้า ปี 2566 ครั้งที่ 3 ภายใต้ความตกลง AFTA
4) การขอนำเข้ากาแฟคั่ว ปี 2566 ครั้งที่ 4 ภายใต้ความตกลง AFTA
5) การขอนำเข้ากาแฟสำเร็จรูป ปี 2566 ครั้งที่ 4 ภายใต้ความตกลง AFTA
6) การขอนำเข้ากาแฟสำเร็จรูปผสม ปี 2566 ครั้งที่ 4 ภายใต้ความตกลง AFTA
7) ร่าง หลักเกณฑ์พิจารณาการนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบและผลิตภัณฑ์กาแฟ ปี 2567
8) ร่าง แนวทางพิจารณาการนำเข้าเมล็ดกาแฟดิบและผลิตภัณฑ์กาแฟ ปี 2567
9) ร่าง กำหนดการประชุมคณะทำงานพืชกาแฟ และคณะอนุกรรมการพืชสวน ปี 2566/67
10) ร่างหนังสือนำส่ง/ลงรับ แบบฟอร์ม กวก. 1 ปี 2567
ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยพืชสวน ครั้งที่ 6/ 2565
วันที่ 9 ธันวาคม 2565 เวลา 09.30 น. ดร.ชูชาติ วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เป็นประธาน ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยพืชสวน ครั้งที่ 6/ 2565 โดยมี ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายร่วมประชุม ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom)
ปัญจขันธ์ : พันธุ์เชียงราย1,เชียงราย2
ชื่อพืช ปัญจขันธ์
พันธุ์ เชียงราย 1
วันที่รับรอง : 15 สิงหาคม 2562
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 210.5 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 31
2. สารซาโปนินทั้งต้นเฉลี่ย 11.47 กรัม/น้ำหนักแห้ง 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 52
3. อายุเก็บเกี่ยว 105 วัน สั้นกว่าพันธุ์สิบสองปันนาที่มีอายุเก็บเกี่ยว 116 วัน
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ดอนและที่ลุ่ม มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง
ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด
ควรปลูกในพื้นที่ที่มีร่มเงา หรือปลูกภายใต้โรงเรือนที่มีตาข่ายพรางแสงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์
ปัญจขันธ์ : พันธุ์เชียงราย2
ชื่อพืช ปัญจขันธ์
พันธุ์ เชียงราย 2
วันที่รับรอง : 15 สิงหาคม 2562
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบ 291.1 มิลลิกรัม/ตารางเมตร สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 29
2. ผลผลิตน้ำหนักสด 2,635 กิโลกรัม/ไร่สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 34 น้ำหนักแห้ง 240.3 กิโลกรัม/ไร่สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 28
3. ประกอบด้วยใบย่อย 7 ใบ มากกว่าพันธุ์สิบสองปันนาที่มีใบย่อย 5 ใบ
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ดอนและที่ลุ่ม มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง
ข้อควรระวังหรือข้อจำกัด
ควรปลูกในพื้นที่ที่มีร่มเงา หรือปลูกภายใต้โรงเรือนที่มีตาข่ายพรางแสงอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์
มันเทศ :พันธุ์พิจิตร 2,สุโขทัย 1,สุโขทัย 2
ชื่อพืช มันเทศ
พันธุ์ พิจิตร 2
วันที่รับรอง : 15 สิงหาคม 2562
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์รับรอง
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 3,617 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 35
2. ปริมาณแป้งร้อยละ 4 คิดเป็นผลผลิตแป้ง 846 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 36
3.มีปริมาณขนาดหัวที่โรงงานต้องการร้อยละ 86.2 ของน้ำหนักรวม มากกว่าพันธุ์เกษตรกรร้อยละ 6.20
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่ปลูกทั่วไป ลักษณะดินร่วนทราย ทั้งในสภาพบนที่ราบสูงและที่ราบโดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก กำแพงเพชร นครสวรรค์ และสุโขทัย
ข้อควรระวัง หรือ ข้อจำกัด
เมื่อใกล้อายุเก็บเกี่ยวหัวจะโผล่เหนือผิวดิน ซึ่งเสี่ยงต่อการทำลายของด้วงงวงมันเทศ ดังนั้นควรมีการพูนโคนอย่างน้อย 1 ครั้ง เมื่ออายุหลังปลูก 30 วัน
มันเทศ :พันธุ์สุโขทัย 1
ชื่อพืช มันเทศ
พันธุ์ สุโขทัย 1
วันที่รับรอง : 1 มีนาคม 2562
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1. ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 3,884 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 79.5 (จากการทดสอบพันธุ์ 3 สถานที่ ปี 2557)
2. สีเนื้อเมื่อสุกสีเหลืองเข้ม เหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวานน้อย ผู้บริโภคและเกษตรกรยอมรับสูงถึง 7 คะแนนจาก 10 คะแนน
3.มีคุณค่าทางโภชนาการให้พลังงานสูง โดยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 33 กรัม และแคลอรี 136 กิโลแคลอรีต่อมันเทศ 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่นที่มีคาร์โบไฮเดรต 25 กรัม และแคลอรี 106 กิโลแคลอรีต่อมันเทศ 100 กรัม
พื้นที่แนะนำ
มันเทศสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้ สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนทราย ทั้งในสภาพบนที่ราบสูงและที่ราบ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกัน
ข้อควรระวัง หรือ ข้อจำกัด
1.หลีกเลี่ยงการปลูกมันเทศในแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศ และการปลูกซ้ำที่เดิม
2.การปลูกมันเทศในช่วงฤดูแล้งไม่ควรให้ดินในแปลงปลูกมีลักษณะแตกระแหง มีช่องว่างของดินเพราะทำให้แมลงศัตรูมันเทศเข้าทำลาย ดังนั้นควรให้น้ำมันเทศในฤดูแล้ง และยังสามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
มันเทศ : พันธุ์สุโขทัย 2
ชื่อพืช มันเทศ
พันธุ์ สุโขทัย2
วันที่รับรอง : 1 มีนาคม 2562
ประเภทพันธุ์ : พันธุ์แนะนำ
ลักษณะเด่น
1.ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,900 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ร้อยละ 34 (จากการทดสอบพันธุ์ 3 สถานที่ ปี 2557)
2.สีเนื้อเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม เหนียวนุ่ม ละเอียด รสชาติหวาน ผู้บริโภคและเกษตรกรยอมรับสูงถึง 8 คะแนนจาก 10 คะแนน
3.มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานสูง โดยมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 31 กรัม แคลอรี 131 กิโลแคลอรีต่อมันเทศ 100 กรัม และสารเบต้า-แคโรทีน 481 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์ท้องถิ่น ที่มีสารเบต้า-แคโรทีน น้อยกว่า 10 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม
พื้นที่แนะนำ
มันเทศสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้ สามารถปลูกได้ดีในดินร่วนทราย ทั้งในสภาพบนที่ราบสูงและที่ราบ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคอื่นๆ ที่มีสภาพภูมิอากาศใกล้เคียงกัน
ข้อควรระวัง หรือ ข้อจำกัด
1.หลีกเลี่ยงการปลูกมันเทศในแหล่งที่มีการระบาดของด้วงงวงมันเทศ และการปลูกซ้ำที่เดิม
2.การปลูกมันเทศในช่วงฤดูแล้งไม่ควรให้ดินในแปลงปลูกมีลักษณะแตกระแหง มีช่องว่างของดินเพราะทำให้แมลงศัตรูมันเทศเข้าทำลาย ดังนั้นควรให้น้ำมันเทศในช่วงฤดูแล้ง และยังสามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นได้อีกด้วย