24 พฤศจิกายน 2024

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

จังหวัดเลยตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นและระดับความสูงเหมาะสมต่อการเกษตรบนที่สูง ดังนั้นกรมวิชาการเกษตรจึงได้มอบหมายให้นายดำเกิง  ชารีจันทร์ หัวหน้าสำนักงานเกษตรที่สูงในขณะนั้น ทำการวางแผนก่อตั้งสถานีฯ ที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย และพบว่าบริเวณป่าเสื่อมโทรมของยอดภูผาแดง ม.6 ต.ปลาบ่า  อ.ภูเรือ มีความเหมาะสมต่อการเกษตรบนที่สูง เนื่องจากสามารถขยายพื้นที่ของสถานีฯ ได้ 3,600 ไร่ และมีแหล่งน้ำพอเพียงสำหรับการบุกเบิกก่อตั้งสถานีฯ

13 มิถุนายน 2529 นายวิฑูรย์  รัตนา หัวหน้าสถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จ.เชียงใหม่ ได้เริ่มบุกเบิกพื้นที่เพื่อจัดตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ

ปี 2532 ได้จัดตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ โดยได้ดำเนินงานวิจัยพืชสวน งานผลิตพันธุ์พืช งานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสวน และงานโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว กองทัพภาคที่ 2

ปี 2538 ได้ย้ายที่ทำการเดิมซึ่งมีสภาพทรุดโทรมมาก่อสร้างเป็นอาคารถาวร โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 14 มกราคม 2538

วันที่ 2 ธันวาคม 2545 สถาบันวิจัยพืชสวนร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการเป็น ศูนย์ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตรขึ้นเป็นแห่งแรกของกรมวิชาการเกษตร

ปี 2546 ได้เปลี่ยนชื่อตามการปรับโครงสร้างระบบราชการใหม่เป็น ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเลย 2 จังหวัดเลย

วันที่ 26 ธันวาคม 2554 ได้ปรับปรุงหน่วยงานและระบบงานภายในกรมวิชาการเกษตร      เดิมศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตหนองคาย (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเลย) ปรับเป็นศูนย์วิจัยพืชสวนเลย สังกัด สถาบันวิจัยพืชสวน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2554

สภาพพื้นที่และลักษณะทั่วไป

สถานที่ตั้ง

ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่บ้านหินสอ (หมู่ที่ 6) ตำบลปลาบ่า อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

– ห่างจากอำเภอภูเรือ                       24 กิโลเมตร

– ห่างจากอำเภอด่านซ้าย                42 กิโลเมตร

– ห่างจากกรุงเทพมหานคร             487 กิโลเมตร

(เส้นทางจากกรุงเทพฯ ->เพชรบูรณ์-> ด่านซ้าย-> ศูนย์ฯ)

 

อาณาเขตติดต่อ

    ทิศเหนือ         ติดต่อพื้นที่ป่าภูเปือย ภูขี้เถ้า ภูเรือ

    ทิศใต้             ติดต่อหมู่บ้านหินสอ

    ทิศตะวันออก    ติดต่อเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง

    ทิศตะวันตก      ติดต่อพื้นที่ภูแปก

Loading