ชื่อวิทยาศาสตร์: cocos nucifeca L.
ชื่อสามัญ: coconut,
ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1
   ได้จากการผสมข้ามระหว่างลูกผสมเดี่ยวพันธุ์เรนเนลต้นสูง x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (แม่พันธุ์) กับพันธุ์ไทยต้นสูง (พ่อพันธุ์) โดยแม่พันธุ์เรนเนลล์ต้นสูง x เวสท์อัฟริกันต้นสูง ได้จากการนำเข้าจากประเทศไอเวอรี่โคสท์ และพ่อพันธุ์ไทยต้นสูงจากการคัดเลือกต้นในแปลงรวบรวมเชื้อพันธุกรรมด้วยวิธีการควบคุมการผสมพันธุ์แบบใกล้ชิด
ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 2
   ได้จากการผสมข้ามระหว่างลูกผสมเดี่ยวพันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x เวสท์อัฟริกันต้นสูง (แม่พันธุ์) กับพันธุ์ไทยต้นสูง(พ่อพันธุ์) โดยแม่พันธุ์มลายูสีเหลืองต้นเตี้ย x เวสท์อัฟริกันต้นสูง ได้จากการคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ในแปลงรวบรวมเชื้อพันธุกรรมด้วยวิธีการควบคุมการผสมพันธุ์แบบใกล้ชิด
ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1
ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 2
ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1,2
ลักษณะเด่นของมะพร้าวลูกผสมสามทางทั้ง 2 พันธุ์
ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 1 
  • ให้ผลผลิตเฉลี่ย 102 ผล/ต้น/ปี หรือ 2,252 ผล/ไร่/ปี
  • ผลขนาดกลางถึงใหญ่ โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,882 กรัม/ผล
  • น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 337 กรัม/ผล หรือ 766 กิโลกรัม/ไร่/ปี
  • น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 61 % และคิดเป็นผลผลิตน้ำมันเฉลี่ย 21 กิโลกรัม/ต้น/ปี
  • สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
ลูกผสมสามทางพันธุ์ชุมพร 2
  • ให้ผลผลิตเฉลี่ย 108 ผล/ต้น/ปี หรือ2,372 ผล/ไร่/ปี
  • ผลขนาดกลาง โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 1,509 กรัม/ผล
  • น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 250 กรัม/ผล หรือ584 กิโลกรัม/ไร่/ปี
  • น้ำมันต่อเนื้อมะพร้าวแห้งเฉลี่ย 62%
  • สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
ข้อจำกัด
   เนื่องจากการผลิตพันธุ์มะพร้าวเป็นลูกผสมชั่วที่ 1 (F1) จึงไม่ควรนำผลที่ได้ไปขยายพันธุ์ต่อ เพราะจะทำให้ได้มะพร้าวที่มีการกระจายตัว
พื้นที่แนะนำ
  ควรปลูกในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำฝน ไม่น้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร/ปี มีช่วงแล้งติดต่อกันไม่เกิน 3 เดือน และดินมีการระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำท่วมขัง พื้นที่ปลูกไม่ควรเป็นดินดานหรือดินที่ชั้นหินแข็งอยู่ลึกจากผิวดินไม่น้อยกว่า 1 เมตร
วันที่รับรองพันธุ์
กรมวิชาการเกษตร รับรองพันธุ์เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562