วันอังคาร ที่ 27 มิถุนายน 2566  นางสาวทิพยา  ไกรทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ร่วมประชุม “ชี้แจงแนวทางมาตรการควบคุมทุเรียนเพื่อการส่งออก ในพื้นที่ภาคใต้ ฤดูกาลผลิตปี 2566” ณ ห้องประชุมศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร อ.สวี จ.ชุมพร และผ่านระบบ Zoom Meeting  โดยมี นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับ นายวิสาห์ พูลศิริรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เป็นประธานเปิดการประชุม พร้อมด้วย นางสาวฉันทนา คงนคร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 7 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร นายชัยศักดิ์ รินเกลื่อน ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดในเครือข่าย เกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนและผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุในพื้นที่จังหวัดชุมพร เข้าร่วมประชุม

    เพื่อหารือถึงการจัดระเบียบคุมเข้มมาตรการควบคุมคุณภาพทุเรียนเพื่อการส่งออก และขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร ในการตรวจติดตาม เฝ้าระวังและควบคุมการส่งออก ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการแก้ไขปัญหาการใช้ใบรับรอง GAP โดย สวพ.7 จะมีการให้บริการ GAP Mobile เปิดรับ สายด่วน GAP และบริการ Clinic เกษตรเคลื่อนที่ในการขึ้นทะเบียนสวน GAP ให้กับเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ (ภาคใต้ตอนบน) สวพ.7

     ผอ. สวพ. 7 กล่าวว่า สวพ. 7 และ สวพ. 8 มีความมุ่งหวังที่จะให้ผู้ประกอบการโรงคัดบรรจุ ได้มี ความเข้าใจในกระบวนการและขั้นตอนต่างๆ ในการส่งออกผลไม้ สามารถบริหารจัดการโรงคัดบรรจุได้ตาม มาตรฐาน มกษ. ๙๐๔๗ – ๒๕๖๐ มาตรฐานสินค้าเกษตร หลักปฏิบัติสําหรับกระบวนการรับวัตถุดิบของโรงรวบรวมและโรงคัดบรรจุทุเรียน มาตรการในการตรวจสอบคุณภาพทุเรียน เพื่อปองกันทุเรียนด้อยคุณภาพปะปน ไปในชวงตนฤดู โดยได้จัดชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจในการตรวจคุณภาพทุเรียน จํานวน 104 ราย ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน ปฏิบัติงานเพื่อรองรับการดําเนินการส่งออกทุเรียนตลอดฤดูกาล โดยชุดเฉพาะกิจดังกล่าว ได้ออกตรวจติดตามล้ง ตั้งแต่ก่อนวันประกาศวันเก็บเกี่ยวทุเรียน วันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เข้าตรวจ ทุกตู้ ทุกล้ง เพื่อทําการตรวจ แยกสีล้ง ให้เป็นสีเขียว เหลือง แดง หลังวันที่ 10 มิ.ย. มีการวางแผนการเข้าตรวจตามประเภทล้งที่ได้จัดเกรดไว้ ล้งที่ได้สีเขียวหมายถึงล้งที่มีการปฏิบัติตามระเบียบที่กําหนดส่วนสีเหลืองและแดงคือล้งที่อาจจะมีการปฏิบัตทิี่ คลาดเคลื่อนไปบ้างและจะต้องเพิ่มความถี่ในการเข้าตรวจอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นขอเชิญชวนให้ทุกล้ง ปฏิบัติตาม แนวทางที่กรมวิชาการเกษตรกําหนดเพื่อเป็นสีเขียวซึ่งถือว่าเป็นชื่อเสียงของแต่ละแห่งด้วย อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกล้ง ช่วยตรวจสอบทุเรียนก่อนซื้อ ไม่ซื้อทุเรียนอ่อนจากมือตัดที่ไม่รักษากติกา เพื่อรักษาคุณภาพไม่ให้มี ทุเรียนอ่อนหลุดรอดออกมาตลาดหรือส่งออก เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพของทุเรียนไทย และสร้างความมั่นใจ กับผู้บริโภคและเป็นไปตามข้อกําหนดพิธีสารการส่งออกผลไม้ไทยไปจีน

     นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อํานวยการสํานักคุ้มครองพืชและวัสดุการเกษตร กล่าวว่า ในส่วนของการ ปิดตู้ก่อนการส่งออกได้มีการจัดเพิ่มกําลังนายด่านตรวจพืชเป็น 30 คน เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกในการ ตรวจสอบศัตรูพืช โรค แมลงที่อาจติดไปกับผลทุเรียน ก่อนออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (PC) เพื่อการส่งออก ตาม พิธีสารที่ประเทศไทยได้ทําร่วมกับประเทศจีน โดยกรมวิชาการเกษตร จะบูรณาการร่วมกับจังหวัดชุมพร ลง พื้นที่ตรวจเข้มในวันที่ 27-28 มิ.ย นี้

     อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ย้ําคุมเข้มทุเรียนใต้ ต้องได้ทั้งคุณภาพเหมือนภาคตะวันออก บูรณาการ ตรวจเข้มลงพื้นที่ 27-28 มิ.ย นี้ เปิดสายด่วน กรมวิชาการเกษตร 081-9384408 พร้อม ขึ้นทะเบียน GAP บริการ Clinic เกษตรเคลื่อนที่ เพื่ออํานวยความสะดวกให้ ประชาชน เกษตรกร เน้นย้ํา มาตรการควบคุม คุณภาพและป้องกันสวมสิทธิ์ทุกรูปแบบโดยการบรูณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามแนวทาง DOA Together