เตือนภัยพืช

เตือนภัยการเกษตร เกษตรชาวไร่มันสำปะหลังเฝ้าระวังการระบาดของด้วง Platytrachelus sp. หากพบการเข้าทำลายของด้วง Platytrachelus sp. ในมันสำปะหลัง

ระวังด้วง Platytrachelus sp.บุกมันสำปะหลัง

เตือนเกษตรชาวไร่มันสำปะหลังเฝ้าระวังการระบาดของด้วง Platytrachelus sp. หากพบการเข้าทำลายของด้วง Platytrachelus sp. ในมันสำปะหลัง โดย ตัวเต็มวัยกัดกินใบ ยอดอ่อน ใบที่ถูกทำลายจะเว้าๆ แหว่งๆ ถ้าระบาดรุนแรงจะเหลือแต่ก้านใบ และมีมูลที่ถ่ายออกมาปรากฏให้เห็นตามบริเวณยอด ตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สำคัญที่สุด เพราะกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช ตัวเต็มวัยที่พบบนต้นพืชพบเป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มอยู่บนลำต้น เมื่อต้นพืชถูกกระทบ กระเทือน จะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน

เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมการเกษตรลงพื้นที่ ให้คำแนะนำเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ต.ย่านรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี พบแมลงชนิดนี้ทำลายมันสำปะหลังประมาณ 20 ต้น (เจอบริเวณขอบแปลงที่ติดกับแปลงอ้อย) ในพื้นที่ 11 ไร่ และได้ให้คำแนะนำป้องกันกำจัด (โดยมีการประสานข้อมูลกับกรมวิชาการเกษตร) ดังนี้ :-

  1. วิธีกลโดยเด็ดกลุ่มใบที่มีแมลงเกาะ (ด้วงจะเกาะกัดกินใบเป็นกลุ่ม)ใส่ถุงไปทำลาย
  2. ใช้แสงไฟล่อในตอนกลางคืนและจับมาทำลาย
  3. ชีววิธี สามารถใช้เชื้อราบิวเวอเรียพ่นตัวด้วงในช่วงเย็น
  4. พ่นด้วยสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี (สารกลุ่ม1a) อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ ฟิโพรนิล 5%sc (กลุ่ม2b) อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้โดนตัว