โครงการระบบส่งเสริมการเกษตร ปีงบประมาณ 2564
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง จังหวัดอุบลราชธานี ๔๐๔,๑๖๘ ไร่ (กรมส่งเสริมการเกษตร ๒๕๖๒) อ สว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ปลูกมันสำปะหลัง ๓๕๑ ไร่ ในตำบลท่าช้าง ตำบลแก่งโดม ตำบลบุ่งมะแลง และ ตำบลสว่าง เกษตรกรตำบลแก่งโดมและตำบลบุ่งมะแลงได้รวมกันจัดตั้งแปลงใหญ่มันสำปะหลังปี ๒๕๖๒ มีสมาชิก ๓๒ คน พื้นที่ดำเนินการ ๓๒๐ ไร่ โดยคณะกรรมการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด (Chief of Operation : COO )ได้ผ่านความเห็นชอบรับรองให้เป็นแปลงใหญ่ในปี ๒๕๖๒จากการวิเคราะห์สภาพปัญหาของกลุ่มพบว่า เกษตรกรไม่เคยวิเคราะห์ดิน ใส่ปุ๋ย ๑๕-๑๕-๑๕ อัตรา ๕๐-๑๐๐ กก./ไร่ ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ได้ผลผลิตเฉลี่ย ๓.๒ ตัน/ไร่ ผลผลิตต่ำเนื่องจากใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้อง และปลูกถี่ระยะแถว ๑ เมตร ระยะต้น ๔๐-๖๐ ซม. ในปี ๒๕๖๓ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ได้จัดทำแปลงต้นแบบเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลัง ๒ ไร่ และการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน จำนวน ๑๓ ไร่
ดังนั้นในปี ๒๕๖๔ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี จะดำเนินการต่อเนื่องเพื่อขยายผลเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุน โดยการฝึกอบรมให้ความรู้ในการผลิตมันสำปะหลัง ศึกษาดูงานที่แปลงเรียนรู้ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี จัดทำแปลงต้นแบบเปรียบเทียบระยะปลูก ใช้เครื่องกำจัดวัชพืช ขยายผลการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ๓๐ ราย ๓๐๐ ไร่
วัตถุประสงค์
เพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง โดยการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน และลดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชโดยใช้เครื่องจักรกล
สรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
๔.๑ เนื่องจากปี ๒๕๖๓ ประสบปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (โควิด-๑๙) จึงทำให้ไม่ได้อบรมเกษตรกร แต่จัดวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร(สำนักงานเกษตรอำเภอสว่างวีระวงศ์)ในวันที่ ๒๙ มกราคม ๒๕๖๓ ที่ศาลากลางบ้านโนนเตาเหล็ก ต.แก่งโดม อ. สว่างวีระวงศ์ จ. อุบลราชธานี สาธิตการเก็บตัวอย่างดิน เลือกเกษตรกรจัดทำแปลงต้นแบบเปรียบเทียบพันธุ์มันสำปะหลังจำนวน ๒ แปลง ได้แก่ ห้วยบง ๖๐ ระยอง ๑๓ ระยอง ๙ ระยอง ๗๒ พันธุ์ละ ๒ งาน เกษตรกรส่งตัวอย่างดินมาวิเคราะห์โดยใช้ test kit ของ กปผ.. จำนวน ๑๓ ราย ได้วิเคราะห์ดินและให้ใบสั่งปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินแก่เกษตรกรทุกราย
๔.๒ ไม่ได้ใช้งบประมาณเนื่องจากสถานที่ดำเนินงานอยู่ในพื้นที่ใกล้กับศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี
๔.๓ จะอบรมเกษตรกร ๒ ครั้ง ครั้งที ๑ ช่วงวันใส่ปุ๋ย (หลังปลูก ๒-๓ เดือน) และมาศึกษาดูงาน แปลง
เปรียบเทียบพันธุ์ ใช้เครื่องจักรกลกำจัดวัชพืชที่ศูนย์วิจัยศูนย์วิจัยพืชไร่ ภายในเดือนกรกฎาคม ครั้งที่ ๒ ในวันเก็บเกี่ยว สรุปผลของเทคโนโลยีและการยอมรับและนำไปใช้ประโยชน์
ผลการดำเนินงานเกษตรกรต้นแบบ
แผน | ผล | |
เกษตรกรต้นแบบ (ราย) | 10 | 10 |
แปลงต้นแบบ (ไร่) | 10 | 10 |
รายชื่อเกษตรกรแปลงต้นแบบโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแปลงใหญ่ ปีงบประมาณ 2564 | |||||||||
ที่ | ชื่อ | สกุล | เลขบัตรประชาชน | ที่อยู่ | |||||
เลขที่ | หมู่ | ตำบล | อำเภอ | จังหวัด | |||||
1 | นางละออ | โพนสิม | 3341500964320 | 53 | 13 | แก่งโดม | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ | |
2 | นางทองปาน | หาทรัพย์ | 3341500141862 | 83 | 2 | แก่งโดม | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ | |
3 | นายสังคม | ใจสุข | 3341500932363 | 66 | 13 | แก่งโดม | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ | |
4 | นางอารีรัตน์ | สารีอาจ | 3341500965709 | 111 | 13 | แก่งโดม | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ | |
5 | นายบัวเรียง | พันยงค์ | 3341500121446 | 51 | 13 | แก่งโดม | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ | |
6 | นางดลนภา | เสาราช | 3341500141854 | 94 | 2 | แก่งโดม | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ | |
7 | นางมาลานี | รินลา | 3341500962092 | 12 | 2 | แก่งโดม | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ | |
8 | นางทองบาง | กำลังเขียว | 3342000069047 | 22 | 13 | บุ่งมะแลง | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ | |
9 | นางไสว | ไชยกาล | 3341500968716 | 36 | 2 | แก่งโดม | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ | |
10 | นายสายันต์ | คงดี | 3340100172905 | 148 | 13 | บุ่งมะแลง | สว่างวีระวงศ์ | อุบลฯ |