ประวัติศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี

(ก่อตั้งเมื่อ ปี พ.ศ.2508)
พ.ศ. 2508 สถานีกสิกรรมอู่ทอง
พ.ศ. 2514 สถานีทดลองพืชไร่อู่ทอง
พ.ศ. 2525 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี (ปรับโครงสร้างการทำงานตามโครงการวิจัยเกษตรแห่งชาติ)
27 มี.ค. 2552 ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี
4 ก.พ. 2559 ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี

สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่หน้าเขาวงพาทย์ ถนนกาญจนบุรี-อู่ทอง (ทางหลวงหมายเลข 324) ต.จรเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ห่างจาก อ.อู่ทอง 9 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดสุพรรณบุรี 40 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี 50 กิโลเมตร

ลักษณะดินฟ้าอากาศ อยู่ในเขตที่ค่อนข้างแห้งแล้งของประเทศ คือ มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบ 10 ปี (2550-2559) ประมาณ 979 มม. และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือระหว่างเดือนตุลมคม-กุมภาพันธ์ โดยมีปริมาณน้ำฝนสูงสุดในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ส่วนใหญ่ช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม จะมีฝนน้อยและมักจะมีระยะทิ้งช่วงนาน มีความเสี่ยงในการเพาะปลูกพืชต้นฤดูฝนสูง พื้นที่ของศูนย์ฯ อยู่ในเขตชลประทานทำให้หมดปัญหาในเรื่องการขาดแคลนน้ำ

ลักษณะดิน พื้นที่เพาะปลูกทั้งสิ้น 370 แบ่งออกเป็น 2 แปลง คือ 1)แปลงที่ตั้งศูนย์ฯ ประกอบด้วยดินชุดกำแพงแสน 2)แปลงรางโพธิ์ เป็นดินชุดกำแพงแสน มีความเป็นกรดเป็นด่าง 6.5-6.7 อินทรียวัตถุ 1.2-2.3 % ฟอสฟอรัส 22-155 ppm โพแทสเซี่ยม 142-332 ppm แคลเซี่ยม 1,330-3,900 ppm แมกนีเซี่ยม 140-425 ppm ปัญหาสำคัญของดินในเขตนี้ คือ ระบายน้ำเลวและปัญหาดินเค็ม

หน้าที่รับผิดชอบ ศึกษาวิจัย พัฒนาพืช เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่รับผิดชอบ ตามแผนงานและโครงการวิจัยของกรมวิชาการเกษตร แบ่งงานภายในออกเป็น 1 ฝ่าย 1 กลุ่ม ดังนี้ 1)ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานงบประมาณ งานการเงิน บัญชีและพัสดุ งานบุคคล และงานธุรการทั่วไป 2)กลุ่มวิจัยและพัฒนา ศึกษาวิจัยและพัฒนาพืชและเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ศึกษาวิจัยและทดสอบพืชตามสาขาวิชา ตามแผนงานโครงการวิจัยของกรม ผลิตพันธุ์คัด พันธุ์หลัก และพันธุ์ขยาย เมล็ดพันธุ์ หรือท่อนพันธุ์พืช และกระจายพันธุ์