แมลงหวี่ขาว
ลักษณะของการวางไข่ และเส้นไหมของแมลงหวี่ขาว แมลงหวี่ขาวพบตามใต้ใบ
เป็นแมลงขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ปีกบางใส 2 คู่คลุมเลยส่วนท้อง มีฝุ่นผงแป้งปกคลุมบนแผ่นปีก ตัวอ่อนรูปร่างคล้ายโล่ห์ เกาะนิ่งใต้ใบ เมื่อโตเต็มที่จะหยุดกินอาหาร และมีลักษณะเด่นเห็นได้ชัดเจน คือ ตาแดง อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
ลักษณะการทำลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนใต้ใบพืช และถ่ายมูลหวานลงมาบนใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้เกิดเป็นราดำขึ้นตามใบที่อยู่ด้านล่าง พืชสังเคราะห์แสงได้น้อย ใบม้วนซีด และร่วง
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน
การป้องกันกำจัด
- หลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงที่ต้นอ่อนจะกระทบแล้งนาน
- เก็บส่วนของพืชที่ถูกทำลาย เผาทำลายนอกแปลงปลูก
- หากพบการระบาดรุนแรงในระยะมันสำปะหลังเป็นต้นอ่อน ให้พ่นสารป้องกันกำจัด
การใช้สารป้องกันกำจัดไร และแมลงศัตรูมันสำปะหลังบางชนิด
ไรและแมลงศัตรูพืช | สารป้องกันกำจัด1/ | อัตราการใช้/
น้ำ 20 ลิตร |
วิธีการใช้/ข้อควรระวัง | หยุดการใช้สารก่อนเก็บเกี่ยว(วัน) |
ไรแดง | อามีทราซ
(20 % อีซี) |
40 ซีซี | พ่นเฉพาะบริเวณที่มีไรแดงทำลาย เมื่อใบส่วนยอดของต้นอ่อนเริ่มแสดงอาการม้วนงอ และอยู่ในสภาพอากาศแห้งแล้งเป็นเวลานาน | 14 |
ไดโคโฟล
(18.5%อีซี) |
50 ซีซี | |||
แมลงหวี่ขาว | โอเมโทเอต
(50% เอสแอล) |
40 ซีซี | พ่นใต้ใบ เฉพาะบริเวณที่พบแมลงหวี่ขาวมีความหนาแน่นทั้งต้น ประมาณ 30 % | 21 |
1/ ในวงเล็บ คือเปอร์เซ็นต์สารออกฤทธิ์และสูตรของสารป้องกันกำจัดไรและแมลงศัตรูพืช