ฝ้ายเส้นใยสีเขียว กวก. ตากฟ้า 86-5

ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ โดย ดร.ปริญญา สีบุญเรือง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ และคณะ
ได้พัฒนาพันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดมลภาวะที่เกิดจากสารเคมีและน้ำเสีย
ในการฟอกย้อม เพื่อเป็นการยกระดับมูลค่าผลผลิตฝ้าย และผลิตภัณฑ์สิ่งทอของไทย โดยการผสมข้าม
ระหว่างพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 2 ซึ่งเป็นพันธุ์ฝ้ายเส้นใยยาว ให้ผลผลิตสูง และทนทานต่อโรคใบหงิก กับพันธุ์ฝ้าย
เส้นใยสีเขียวที่เส้นใยมีความยาวปานกลางแต่อ่อนแอต่อโรคใบหงิก

นำลูกผสมที่ได้รับไปทำการผสมย้อนกลับไปหาพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 2 อีก 4 ครั้ง แล้วทำการคัดเลือกจนได้
สายพันธุ์ฝ้ายที่มีเส้นใยสีเขียวและมีคุณภาพเส้นใยที่ดี ประมาณ 20 สายพันธุ์ ในระหว่างปี
2543-2550 จากนั้นทำการประเมินผลผลิต และศึกษาข้อมูลจำเพาะอื่นๆ ในระหว่างปี 2551-2554
รวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 12 ปี เพื่อคัดเลือกให้ได้พันธุ์ฝ้ายสีเขียวที่ให้ผลผลิตสูงสุด และมีคุณภาพ
เส้นใยดีที่สุด โดยเฉพาะความยาวและความนุ่ม สำหรับเผยแพร่ สู่เกษตรกร

ฝ้ายเส้นใยสีเขียวพันธุ์นี้ ได้เสนอรับรองพันธุ์กับกรมวิชาการเกษตร ในปี 2556
โดยใช้ชื่อพันธุ์ ” กวก. ตากฟ้า 86-5 ”

ลักษณะทรงต้น ของฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 86-5

ลักษณะปุยฝ้าย ของฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 86-5

ฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 86-5 เส้นใยสีเขียว

เส้นใยฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 86-5 (สีเขียว) เทียบกับฝ้ายเส้นใยสีขาว

ลักษณะเด่นของฝ้ายพันธุ์ ตากฟ้า 86-5
ผลผลิต 192 กิโลกรัมต่อไร่ เส้นใยมีสีเขียว คุณภาพเส้นใยดีเทียบเท่าพันธุ์ตากฟ้า 2
ต้านทานโรคใบหงิก เปอร์เซ็นต์หีบ 23% ความยาวเส้นใย 1.25 นิ้ว ความเหนียวของกลุ่ม
เส้นใย 21.5 กรัมต่อเท็กซ์ ความละเอียดอ่อนเส้นใย 2.6 ความสม่ำเสมอเส้นใย 57

คำแนะนำในการเก็บเกี่ยว
อายุเก็บเกี่ยว 110–135 วัน ควรเก็บเกี่ยวทุก 5–10 วัน เพื่อรักษาคุณภาพสีเขียวของเส้นใย ก่อนที่ปุยจะถูกแดดจนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และขาวในที่สุด

จากเส้นใยฝ้าย…สู่เส้นด้าย และผืนผ้า
ปุยฝ้ายทั้งเมล็ด 5 กิโลกรัม หีบเมล็ดออก จะได้ปุยฝ้าย 1 กิโลกรัม นำไปปั่นเป็นเส้นด้าย 0.9-1.0 กิโลกรัม สามารถทอผ้าที่มีความยาว 4-6 เมตร

ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายสีธรรมชาติ เข็นและทอมือ
เสื้อผ้าฝ้ายทอมือจากเส้นใยสีเขียวตามธรรมชาติของฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 86-5
เสื้อผ้าฝ้ายจากเส้นใยสีเขียวตามธรรมชาติของฝ้ายพันธุ์ กวก. ตากฟ้า 86-5

การถนอมและรักษาคุณภาพสิ่งทอ
ฝ้ายเส้นใยสีเขียว มีความคงตัวของเส้นใยค่อนข้างต่ำ ทำให้ง่ายต่อการเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและขาว เมื่อถูก
แสงแดด หากนำไปปั่นเป็นเส้นด้ายและทอเป็นผืนผ้า สีของสิ่งทอที่ได้อาจไม่สดใสสวยงาม สำนักวิจัยและพัฒนา
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลการเกษตร จึงทำการศึกษาวิธีการถนอมและรักษาคุณภาพสี
เพื่อให้เพิ่มความเขียวเข้มแก่สิ่งทอด้วยวิธีการดังนี้

1. ใช้ปูนกินหมากที่ไม่ผสมสีเสียด 5% ผสมกับน้ำปูน (ปูน 50 กรัม + น้ำ 1 ลิตร) แช่ไว้จนปูน
ตกตะกอน (ประมาณ 10 นาที)
2. รินเฉพาะน้ำที่ใส นำไปต้มให้เดือด
3. นำเส้นด้ายหรือสิ่งทอ ใส่ลงไปในน้ำผสมน้ำปูนใสที่เดือด แล้วต้มต่อประมาณ 30 นาที
4. นำไปซัก (อาจแช่น้ำยาปรับผ้านุ่ม)
5. ผึ่งในที่ร่ม พอหมาดจึงรีด