ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ สายพันธุ์พ่อแม่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม กรมวิชาการเกษตร

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ นครสวรรค์ 1

Pedigree : (DA9-1(S)-7-3 x SW1C9)-S9-19-11-1-B

เดิมชื่อรหัส Nei 9008 ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แม่ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 72 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง และตั้งชื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ในปี 2542

การพัฒนาพันธุ์

ปี 2532  ต้นฤดูฝน ปลูกประชากรข้าวโพด (DA9-1(S)-7-3 x SW1(S)C9)F2   ในสภาพการก่อให้เกิดโรคราน้ำค้าง จำนวน 2,000 ต้น ในต้นที่ต้านทานโรคราน้ำค้างและคัดเลือกไว้เพื่อทำการผสมตัวเอง สร้างสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่หนึ่ง 800-1,000  ต้น เก็บเกี่ยวคัดเลือกฝัก 250 ฝัก

ปี 2532 ปลายฤดูฝน – 2533 ปลายฤดูฝน ฝักที่คัดเลือก 250 ฝัก นำไปปลูกแบบฝักต่อแถว  คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 ได้จำนวน 140 สายพันธุ์

ปี 2534 ฤดูแล้ง นำสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 แต่ละสายพันธุ์จากประชากร (DA-9-1(S)-7-3 x SW1(S)C9)F2 ไปผสมกับประชากรข้าวโพด Pop 28(HS)C5 เพื่อประเมินสมรรถนะการผสม  คัดเลือกสายพันธุ์ (DA9-1(S)-7-3 x SW1(S)C9)-S5-177 ซึ่งมีสมรรถนะการผสมดีกับ Pop 28 (HS)C5  ต้านทานโรคราน้ำค้าง  ทนทานการหักล้ม  เมล็ดมีสีส้มชนิดหัวแข็ง และต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 9008

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ นครสวรรค์ 2

Pedigree : Pop 28(HS)C5-S9-5-2-1-B

เดิมชื่อรหัส Nei 9202  ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์พ่อ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 72 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2542

การพัฒนาพันธุ์

ปี 2533 ต้นฤดูฝน – 2534 ต้นฤดูฝน สร้างสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 1-4 ในสภาพการก่อให้เกิดโรค ราน้ำค้าง จากประชากรข้าวโพด Pop 28(HS)C5 ซึ่งได้รับจากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดข้าวสาลีนานาชาติประจำเขตเอเชีย (CIMMYT-ARMP) คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 จากประชากร Pop 28(HS)C5 จำนวน 100 สายพันธุ์

ปี 2535 ฤดูแล้ง นำสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 จากประชากร Pop 28(HS)C5  ผสมกับสายพันธุ์   Nei 9008 ประเมินสมรรถนะการผสมในฤดูฝน คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 ได้สายพันธุ์ Pop 28(HS)C5-S5-129 ซึ่งมีสมรรถนะการผสมดีกับสายพันธุ์แท้ Nei 9008 และต้านทานโรคราน้ำค้าง  ต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 9202

ลักษณะประจำพันธุ์

ลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ นครสวรรค์ 1 และนครสวรรค์ 2

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะ นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 2
สีโคนต้นอ่อนระยะใบแรกคลี่ เขียวอ่อน ม่วง
สีรากค้ำ เขียวเข้ม เขียวปนม่วง
สีอับเรณู เขียวอ่อน  ม่วงแดง
สีของกาบดอกย่อย (glume) เขียว เขียว
สีไหม เขียวอ่อน โคนเขียวอ่อน-ปลายแดง
ลักษณะช่อตัวผู้ ตรง ตรง
รูปทรงฝัก ทรงกระบอก กึ่งทรงกรวยกึ่งทรงกระบอก
สีและชนิดเมล็ด ส้มแกมเหลือง-หัวแข็ง ส้มแกมเหลือง-หัวแข็ง

ลักษณะทางการเกษตร

ลักษณะ นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 2
ผลผลิตเมล็ด (กิโลกรัมต่อไร่) 610 343
อายุถึงออกไหม (วัน) 57 59
อายุถึงออกดอกตัวผู้ (วัน) 57 58
อายุถึงเก็บเกี่ยว (วัน) 110-120 110-120
ความสูงของฝัก (เซนติเมตร) 85 74
ความสูงของต้น (เซนติเมตร) 170 155
การหักล้ม (%) 9.6 1.6
จำนวนฝัก/ต้น (ฝัก) 1.4 1.0
จำนวนแถวเมล็ด 12 14
การกะเทาะ (%) 80.0 70.0
โรคราน้ำค้าง ต้านทาน ต้านทาน
โรคราสนิม อ่อนแอ ต้านทาน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 1

Pedigree : Pio3003-3-2-B-3-1-4-B

เดิมชื่อรหัส Nei 452008 ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แม่ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 2 นครสวรรค์ 3 และนครสวรรค์ 4 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2549 ปี 2552 และ ปี 2562 ตามลำดับ

การพัฒนาพันธุ์

ระหว่างปี 2543-2546 นำประชากรข้าวโพด Pioneer 3003F2 ทำการผสมตัวเอง จำนวน 4 ชั่ว    ในสภาพการก่อให้เกิดโรคราน้ำค้าง ประเมินสมรรถนะการผสมของสายพันธุ์ที่คัดเลือกกับตัวทดสอบ           Nei 9202 (T) คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีสมรรถนะการผสมดี มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้างและทนทานแล้ง ได้แก่ สายพันธุ์  Pio3003-3-2-B-3-1-4-B และต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 452008

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 2

Pedigree : Pop 28(HS)C5-S5-129(T)-B

เดิมชื่อรหัส Nei 9202(T)  ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์พ่อ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 2 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2549

การพัฒนาพันธุ์

ปี 2533 ต้นฤดูฝน – 2534 ต้นฤดูฝน สร้างสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 1-4 ในสภาพการก่อให้เกิดโรค  ราน้ำค้าง จากประชากรข้าวโพด Pop 28(HS)C5 ซึ่งได้รับจากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดข้าวสาลีนานาชาติประจำเขตเอเชีย (CIMMYT-ARMP) คัดเลือกได้สายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 จากประชากร Pop 28(HS)C5 จำนวน 100 สายพันธุ์

ปี 2535 ฤดูแล้ง นำสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 จากประชากร Pop 28(HS)C5  ผสมกับสายพันธุ์   Nei 9008 ประเมินสมรรถนะการผสมในฤดูฝน คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 ได้สายพันธุ์ Pop28(HS)C5-S5-129(T) ซึ่งมีสมรรถนะการผสมดีกับสายพันธุ์แท้ Nei 9008 และต้านทานโรคราน้ำค้าง ทำการผสมตัวเองเพื่อสร้างสายพันธ์แท้ ต่อมา ตั้งชื่อเป็น Nei 9202(T)

ลักษณะประจำพันธุ์

ลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 1 และตากฟ้า 2

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะ ตากฟ้า 1 ตากฟ้า 2
สีโคนต้นอ่อนระยะใบแรกคลี่ ม่วง ม่วง
สีรากค้ำ ม่วง เขียวปนม่วง
สีอับเรณู ชมพู แดง
สีของกาบดอกย่อย (glume) เขียวขีดม่วง เขียวปลายจุดแดง
สีไหม ม่วง แดง
ลักษณะช่อตัวผู้ ตรง ตรง
รูปทรงฝัก กึ่งทรงกรวยกึ่งทรงกระบอก กึ่งทรงกรวยกึ่งทรงกระบอก
สีและชนิดเมล็ด ส้มแกมเหลือง-หัวแข็ง ส้มแกมเหลือง-หัวแข็ง

ลักษณะทางการเกษตร

ลักษณะ ตากฟ้า 1 ตากฟ้า 2
ผลผลิตเมล็ด (กิโลกรัมต่อไร่) 532 309
อายุถึงออกไหม (วัน) 58 62
อายุถึงออกดอกตัวผู้ (วัน) 59 61
อายุถึงเก็บเกี่ยว (วัน) 120 120-125
ความสูงของฝัก (เซนติเมตร) 75 87
ความสูงของต้น (เซนติเมตร) 142 170
การหักล้ม (%) 0.4 4.9
จำนวนฝัก/ต้น (ฝัก) 1.1 1.1
จำนวนแถวต่อฝัก (แถว) 12 14
จำนวนเมล็ดต่อแถว (เมล็ด) 23 25
การกะเทาะ (%) 75.61 70.00
โรคราน้ำค้าง ต้านทาน ต้านทาน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 3

Pedigree : C-5124001-21-2-B -2-1-2-B

เดิมชื่อรหัส Nei 452015 ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์พ่อ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ นครสวรรค์ 3 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2552

การพัฒนาพันธุ์

ระหว่างปี 2543-2546 นำประชากรข้าวโพด C-5124001F2 ทำการผสมตัวเอง จำนวน 4 ชั่ว ในสภาพการก่อให้เกิดโรคราน้ำค้าง  ประเมินสมรรถนะการผสม โดยนำข้าวโพดสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่สี่ แต่ละสายพันธุ์ผสมกับสายพันธุ์แท้ตากฟ้า 1 (Nei 452008) คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีสมรรถนะการผสมดี มีความต้านทานโรคราน้ำค้าง ทนทานการหักล้ม ได้แก่ สายพันธุ์  C-5124001-21-2-B -2-1  และต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 452015

ลักษณะประจำพันธุ์ ของข้าวโพดสายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 3

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะ ตากฟ้า 3
สีโคนต้นอ่อนระยะใบแรกคลี่ ม่วง
สีรากค้ำ แดง
สีอับเรณู เหลือง
สีของกาบดอกย่อย (glume) ม่วงขีดเขียว
สีไหม ม่วง
ลักษณะช่อตัวผู้ ค่อนข้างตรง
รูปทรงฝัก กึ่งทรงกรวยกึ่งทรงกระบอก
สีและชนิดเมล็ด ส้มแกมเหลือง-กึ่งหัวแข็ง

 ลักษณะทางการเกษตร

ลักษณะ ตากฟ้า 3
ผลผลิตเมล็ด (กก./ไร่) 514
อายุถึงออกไหม (วัน) 59
อายุถึงออกดอกตัวผู้ (วัน) 58
อายุถึงเก็บเกี่ยว (วัน) 115-120
ความสูงของฝัก (เซนติเมตร) 87
ความสูงของต้น (เซนติเมตร) 166
การหักล้ม (%) 0.7
จำนวนฝัก/ต้น (ฝัก) 1.2
จำนวนแถวต่อฝัก (แถว) 12
จำนวนเมล็ดต่อแถว (เมล็ด) 27
การกะเทาะ (%) 79.58
โรคราน้ำค้าง ต้านทาน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 4

Pedigree : C-5134064-59-2-B-1-2-2-B

เดิมชื่อรหัส Nei 452006 ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์พ่อ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์ นครสวรรค์ 4 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2562

การพัฒนาพันธุ์

ระหว่างปี 2543-2546 นำประชากรข้าวโพด C-5134064F2 ทำการผสมตัวเอง จำนวน 3 ชั่ว ในสภาพการก่อให้เกิดโรคราน้ำค้าง  ประเมินสมรรถนะการผสมของสายพันธุ์ที่คัดเลือกกับตัวทดสอบสายพันธุ์แท้พันธุ์นครสวรรค์ 1 และสายพันธุ์แท้พันธุ์นครสวรรค์ 2 คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีสมรรถนะการผสมดี มีความทนทานต่อโรคราน้ำค้างและทนทานแล้ง นำมาผสมตัวเอง 4 ชั่ว และต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 452006

ลักษณะประจำพันธุ์ ของข้าวโพดสายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 4

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะ ตากฟ้า 4
สีโคนต้นอ่อนระยะใบแรกคลี่ ม่วง
สีรากค้ำ ม่วง
สีอับเรณู เหลือง
สีของกาบดอกย่อย (glume) ม่วง
สีไหม แดง
ลักษณะช่อตัวผู้ ค่อนข้างตรง
รูปทรงฝัก ทรงกระบอก
สีและชนิดเมล็ด ส้มแกมเหลือง-กึ่งหัวแข็ง

 ลักษณะทางการเกษตร

ลักษณะ ตากฟ้า 4
ผลผลิตเมล็ด (กก./ไร่) 453
อายุถึงออกไหม (วัน) 57
อายุถึงออกดอกตัวผู้ (วัน) 56
อายุถึงเก็บเกี่ยว (วัน) 115-120
ความสูงของฝัก (เซนติเมตร) 71
ความสูงของต้น (เซนติเมตร) 131
การหักล้ม (%) 1.1
จำนวนแถวต่อฝัก (แถว) 12
จำนวนเมล็ดต่อแถว (เมล็ด) 26
การกะเทาะ (%) 81.78
โรคราน้ำค้าง ต้านทาน

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 5

Pedigree : C-5124001-57-1-B-2-2-3-BB

เดิมชื่อรหัส Nei 452009 ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์พ่อ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุเก็บเกี่ยวสั้น พันธุ์นครสวรรค์ 5 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2562

การพัฒนาพันธุ์

ระหว่างปี 2543-2546 นำประชากรข้าวโพด C-5124001F2 ทำการผสมตัวเอง จำนวน 3 ชั่ว ในสภาพการก่อให้เกิดโรคราน้ำค้าง ประเมินสมรรถนะการผสมกับตัวทดสอบ สายพันธุ์แท้นครสวรรค์ 1 และสายพันธุ์แท้นครสวรรค์ 2 คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีสมรรถนะการผสมดี มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้างและทนทานแล้ง แล้วนำมาผสมตัวเองต่ออีก 4 ชั่ว ต่อมา ตั้งชื่อรหัสเป็น Nei 452009

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 7

Pedigree : (KS23(S)C2-190-1-2-1-BBBB x PIONEER 3006-4-1-3-1-BBB)-37-1-BBBBB

เดิมชื่อรหัส Nei 462013   เป็นสายพันธุ์แท้อายุเก็บเกี่ยวสั้น ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แม่ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมอายุเก็บเกี่ยวสั้น พันธุ์นครสวรรค์ 5 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2562

การพัฒนาพันธุ์

พัฒนาและคัดเลือกสายพันธุ์แท้ ในปี พ.ศ. 2537 โดยผสมตัวเองจำนวน 8 ชั่ว ในประชากรข้าวโพด KS23(S)C2 ซึ่งใช้เป็นสายพันธุ์แม่ และผสมตัวเองจำนวน 7 ชั่ว ในประชากรข้าวโพด Pioneer3006F2 ซึ่งใช้เป็นสายพันธุ์พ่อ ปี 2543 ทำการผสมระหว่างสายพันธุ์ KS23(S)C2-S8 (สายพันธุ์แม่) กับสายพันธุ์ Pioneer3006F2-S7 (สายพันธุ์พ่อ) จากนั้นคัดเลือกและผสมตัวเองจำนวน 8 ชั่ว ในสภาพการก่อให้เกิดโรค   ราน้ำค้าง และประเมินสมรรถนะการผสมของสายพันธุ์ที่คัดเลือกไว้ คัดเลือกสายพันธุ์ที่มีสมรรถนะการผสมดี มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้างและทนแล้ง ต่อมา ตั้งชื่อรหัสเป็น Nei 462013

ลักษณะประจำพันธุ์

ลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ ตากฟ้า 5 และตากฟ้า 7

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลักษณะ ตากฟ้า 5 ตากฟ้า 7
สีโคนต้นอ่อนระยะใบแรกคลี่ ม่วง ม่วง
สีรากค้ำ ม่วง ม่วง
สีอับเรณู ชมพู ชมพู
สีของกาบดอกย่อย (glume) เขียวขีดม่วง เขียว
สีไหม ชมพู เขียว
ลักษณะช่อตัวผู้ ตรง ค่อนข้างตรงตรง
รูปทรงฝัก กึ่งทรงกรวยกึ่งทรงกระบอก กึ่งทรงกรวยกึ่งทรงกระบอก
สีและชนิดเมล็ด ส้มแกมเหลือง-หัวแข็ง ส้มแกมเหลือง-กึ่งหัวแข็ง

 ลักษณะทางการเกษตร

ลักษณะ ตากฟ้า 5 ตากฟ้า 7
ผลผลิตเมล็ด (กิโลกรัมต่อไร่) 339 536
อายุถึงออกไหม (วัน) 62 57
อายุถึงออกดอกตัวผู้ (วัน) 60 57
อายุถึงเก็บเกี่ยว (วัน) 120 95-100
ความสูงของฝัก (เซนติเมตร) 56 44
ความสูงของต้น (เซนติเมตร) 121 105
จำนวนฝัก/ต้น (ฝัก) 1.0 1.0
จำนวนแถวต่อฝัก (แถว) 12 12
การกะเทาะ (%) 62.24 79.67

ดาวโหลด PDF ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ สายพันธุ์พ่อแม่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม

ที่มา : สุริพัฒน์ ไทยเทศ ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร