หญ้าแม่มด

หญ้าแม่มด (Witch weed; Striga  asiatica) เป็นพืชที่ต้องอิงอาศัยพืชชนิดอื่น (obligate parasite) จัดเป็นวัชพืชใบกว้างฤดูเดียว มีอายุ 90-120 วัน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด มีลำต้นตั้งตรง มีขนสีขาวปกคลุมทั่วลำต้น ขนาดความสูงประมาณ 15-40 เซนติเมตร มีดอกเดี่ยวสีขาว ออกตามซอกใบ ฝักมีสีน้ำตาลแก่  1 ฝัก มีเมล็ดเฉลี่ย 736 เมล็ด หรือ 1 ต้น สร้างเมล็ดได้ถึง 200,000 เมล็ด เมล็ดมีชีวิตในดินได้นาน 15-20 ปี

พืชอาศัยของหญ้าแม่มดมีหลายชนิด ได้แก่ อ้อย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ข้าวฟ่างหางกระรอก peal millet ข้าว ฯลฯ หลังเมล็ดงอก จะแทงรากเข้าไปในรากของพืชอาศัย เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้พืชอาศัยแคระแกร็น หรือแห้งตาย

การป้องกันกำจัด

  • ใช้เมล็ดพันธุ์/ท่อนพันธุ์ จากแหล่งที่ไม่มีการระบาด
  • ระวังการแพร่กระจายของเมล็ด เนื่องจากมีขนาดเล็กคล้ายฝุ่น สามารถปลิวไปกับลม ไหลไปกับน้ำ ติดไปกับเครื่องมือ เครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานในแหล่งที่มีหญ้าแม่มด
  • ปลูกพืชหมุนเวียน ที่ไม่ใช่พืชอาศัย
  • กำจัดวัชพืชประเภทใบแคบวงศ์หญ้าที่เป็นพืชอาศัย
  • ไม่ควรใช้มือถอนหรือจอบดาย เพราะจะทำให้หญ้าแม่มดแตกหน่อใหม่จากลำต้นใต้ดิน
  • พ่นด้วยสารซัลเฟนทราโซน อัตรา 300 มิลลิลิตรต่อไร่ หลังพ่นสารสองเดือน หากยังมีการแตกต้นใหม่ ให้พ่นซ้ำอีกครั้ง

แหล่งข้อมูล :
FB สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย
https://www.cabi.org/