Chai Nat Field Crops ReSearch Center

ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์สงขลา 84-1

By |2021-12-05T14:18:26+07:00กรกฎาคม 29th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ข้าวโพดหวานพันธุ์สงขลา 84-1 ชื่อพืช ข้าวโพดหวานลูกผสม ชื่อพันธุ์ สงขลา 84-1 วันที่รับรอง 15 มิถุนายน 2555 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวพันธุ์แรกของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งพัฒนาพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชไร่สงขลา เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดหวานสายพันธุ์แท้ CLei0856 เป็นสายพันธุ์แม่ที่มีลักษณะเด่น คือ ฝักใหญ่ ลำต้นแข็งแรง และให้ผลผลิตเมล็ดพันธุ์สูง และสายพันธุ์แท้ CLei0838 เป็นสายพันธุ์พ่อที่มีลักษณะเด่น คือ เยื่อหุ้มเมล็ดบาง และติดเมล็ดเต็มปลายฝัก ซึ่งได้ดำเนินการคัดเลือกข้าวโพดหวานสายพันธุ์แท้ตั้งแต่ปี 2548-2550 สร้างเป็นพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวในปี 2551 จากนั้นประเมินผลผลิตและประเมินความพึงพอใจของเกษตรกรและผู้บริโภคตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตามลำดับ ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่มีคุณภาพบริโภคตรงตามความต้องการของเกษตรกรและผู้บริโภคในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นขนาดใหญ่ รากค้ำสีเขียวอ่อน ความสูงต้น 190-210 เซนติเมตร ความสูงฝัก 90-120 เซนติเมตร ลักษณะช่อดอกตัวผู้ค่อนข้างตรง ความแน่นของช่อดอกตัวผู้ปานกลาง อับเรณูสีเหลือง เส้นไหมสีเขียวอ่อน อายุวันออกดอกตัวผู้ 50 วัน อายุวันออกไหม 52 วัน อายุวันเก็บเกี่ยว 72-75 วัน ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,858 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือก 2,165 กิโลกรัมต่อไร่ ฝักปอกเปลือกมีความยาว 17.0–19.0 เซนติเมตร ฝักกว้าง 4.5-5.0 เซนติเมตร ฝักรูปทรงกระบอกกึ่งกรวยเมล็ดสีเหลืองอ่อนเรียงตัวค่อนข้างตรง ซังสีขาว ค่าความหวาน 15.0-16.0 องศาบริกซ์ เยื่อหุ้มเมล็ดบาง รสชาติฝักต้มดี [...]

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 2

By |2021-12-05T14:06:00+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 2 ชื่อพืช ข้าวโพดข้าวเหนียว ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 2 วันที่รับรอง 15 สิงหาคม 2562 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม ซึ่งพัฒนาพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ WPK008 เป็นสายพันธุ์แม่ที่มีลักษณะเด่น คือมีคุณภาพการบริโภคเหนียวนุ่ม และเมล็ดสีม่วง ซึ่งได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ในระหว่างปี 2555-2558 และข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ F4305 เป็นสายพันธุ์พ่อที่มีลักษณะเด่น คือ มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง คุณภาพการบริโภคเหนียวนุ่ม และเมล็ดสีขาว ซึ่งได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ในระหว่างปี 2545-2547 สร้างพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวในปี 2558 จากนั้นประเมินผลผลิตและประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ตามลำดับ ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยวสีขาวปนม่วง ที่มีคุณภาพบริโภคเหนียวนุ่ม เหมาะสำหรับการบริโภคฝักสด ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นตรงสีเขียว รากค้ำสีชมพู ความสูงต้น 200-210 เซนติเมตร ความสูงฝัก 100-120 เซนติเมตร ช่อดอกตัวผู้ค่อนข้างตรง อับเรณูสีชมพู เส้นไหมสีชมพู อายุวันออกดอกตัวผู้ 43 วัน อายุวันออกไหม 44 วัน อายุวันเก็บเกี่ยว 62-64 วัน ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,132 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือก 1,306 กิโลกรัมต่อไร่ ฝักรูปทรงกึ่งกรวยกึ่งกระบอก ฝักปอกเปลือกมีความยาว 17.5 เซนติเมตร ฝักกว้าง 4.3 เซนติเมตร เมล็ดสีขาวปนม่วง คุณภาพบริโภคเหนียวนุ่ม รสชาติฝักต้มดี [...]

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 84-1

By |2021-12-05T14:07:42+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 ชื่อพืช ข้าวโพดข้าวเหนียว ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 84-1 วันที่รับรอง 30 มิถุนายน 2554 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 หรือข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ CNW80 เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์ CNW4305(S) 2-B-42-B-B-B ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้จากลูกผสมระหว่างพันธุ์ T-10-V-1 กับพันธุ์ WAXY-DMR โดยคัดเลือกให้มีความต้านทานโรคราน้ำค้างในแปลงปลูกเชื้อโรคราน้ำค้างในฤดูฝน ปี 2545 – 2547 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โดยวิธีการคัดเลือกแบบสืบประวัติและผสมตัวเอง 1 ครั้ง จนได้สายพันธุ์ F4305 1 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ทับกฤช (S) 2-B-B-14-B-B-80-1-1-B-B-B ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวพื้นเมืองที่มีรสชาติหวาน คุณภาพเหนียวนุ่ม จากไร่เกษตรกรบ้านทับกฤช ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ นำมาปลูกคัดเลือกแบบสืบประวัติและผสมตัวเอง 1 ครั้ง จนได้สายพันธุ์แท้ทับกฤช M80 จากนั้น ปี 2547 – 2549 ฤดูแล้งและฤดูฝน นำพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม CNW80 ไปทดสอบการให้ผลผลิตในแปลงเปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น เปรียบเทียบในท้องที่ และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และศึกษาข้อมูลจำเพาะการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม ตั้งแต่ปี 2549 – 2553 รวม 26 แปลงทดลอง ลักษณะเด่น ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,731 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างจากพันธุ์บิ๊กไวท์ 852 ที่ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 1,714 [...]

ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2

By |2021-12-05T14:16:18+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ชื่อพืช ข้าวโพดหวานลูกผสม ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 2 วันที่รับรอง 15 สิงหาคม 2562 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดหวานสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 66 ซึ่งได้ดำเนินการคัดเลือกข้าวโพดหวานสายพันธุ์แท้ในระหว่างปี 2549-2553 สร้างเป็นพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวในปี 2553 จากนั้นดำเนินการคัดเลือกพันธุ์ เปรียบเทียบพันธุ์และประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ตามลำดับ ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่ให้ผลผลิตสูง ฝักมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมของภาคเอกชน ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นใหญ่แข็งแรง ความสูงต้น 200-220 เซนติเมตร ความสูงฝัก 80-115 เซนติเมตร อับเรณูสีเหลือง เส้นไหมสีเขียวอ่อน อายุวันออกดอกตัวผู้ 50 วัน อายุวันออกไหม 50 วัน อายุวันเก็บเกี่ยว 68-70 วัน ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,897 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือก 1,965 กิโลกรัมต่อไร่ ฝักทรงกระบอก ความยาวฝัก 4.8 เซนติเมตร ความกว้างฝัก 18 เซนติเมตร เมล็ดสีเหลืองเข้มเรียงตัวเป็นแถวตรง ติดเมล็ดเต็มปลายฝัก ค่าความหวาน 13.0-14.0 องศาบริกซ์ มีความต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูง ฝักมีขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการผลิตเข้าโรงงานอุตสาหกรรม ต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ เหนือกว่าพันธุ์ชัยนาท [...]

ข้าวโพดหวานพันธุ์ชัยนาท 86-1

By |2021-12-05T14:10:27+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ข้าวโพดหวานพันธุ์ชัยนาท 86-1 ชื่อพืช ข้าวโพดหวาน ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 86-1 วันที่รับรอง 14 พฤศจิกายน 2556 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เกิดจากการผสมระหว่างข้าวโพดหวานสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 เป็นสายพันธุ์แม่ที่มีลักษณะเด่น คือ มีเปลือกหุ้มเมล็ดบาง และสายพันธุ์แท้เบอร์ 50 เป็นสายพันธุ์พ่อที่มีลักษณะเด่น คือ มีรสชาติหวาน คุณภาพเมล็ดนุ่ม โดยทำการพัฒนาสายพันธุ์พ่อแม่ในระหว่างปี 2548-2551 และสร้างพันธุ์ลูกผสมในปี 2551 จากนั้นประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ในระหว่างปี 2551-2553 ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่ให้ผลผลิตสูง ฝักมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมของภาคเอกชน ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นสีเขียว รากค้ำจุนสีเขียว ความสูงต้น 200-220 เซนติเมตร ความสูงฝัก 100-120 เซนติเมตร อับเรณูสีเหลือง เส้นไหมสีเขียวอ่อน อายุวันออกดอกตัวผู้ 50 วัน จำนวนวันออกไหม 52 วัน อายุวันเก็บเกี่ยว 70-72 วัน ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,888 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือก 1,939 กิโลกรัมต่อไร่ เปลือกหุ้มฝักสีเขียว มีหูใบ (ear leaf) ที่ปลายเปลือกหุ้มฝัก ฝักทรงกระบอก ความกว้างฝัก 5.0 เซนติเมตร ความยาวฝัก 18.0 เซนติเมตร เมล็ดสดสีเหลือง รสชาติหวานนุ่ม มีค่าความหวาน 13.8 องศาบริกซ์ มีอัตราแลกเนื้อ [...]

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 6

By |2021-12-05T14:26:08+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 6 ชื่อพืช ถั่วเขียวผิวดำ ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 6 วันที่รับรอง 19 มีนาคม 2561 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BC 35A/PI 288603 กับสายพันธุ์ PI 220306 ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นตั้งตรง ความสูงต้น 52 เซนติเมตร อายุดอกแรกบาน 32 วัน อายุเก็บเกี่ยว 80 วัน จำนวนฝักต่อต้น 41 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 7 เมล็ด และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด 66 กรัม ลักษณะเด่น ให้ขนาดเมล็ดใหญ่ โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 66 กรัม สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 52 กรัม หรือร้อยละ 27 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 275 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 232 กิโลกรัมต่อไร่หรือร้อยละ 19 และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูง 6,005 กรัม ต่อน้ำหนักเมล็ด 1,000 กรัม [...]

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 4

By |2021-12-05T14:23:02+07:00กรกฎาคม 6th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 4 ชื่อพืช ถั่วเขียวผิวดำ ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 4 วันที่รับรอง 19 มีนาคม 2561 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ PI 220306 และ BC48 ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นตั้งตรง ความสูงต้น 56 เซนติเมตร อายุดอกแรกบาน 31 วัน อายุเก็บเกี่ยว 80 วัน จำนวนฝักต่อต้น 45 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 8 เมล็ด และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด 57.4 กรัม ลักษณะเด่น ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 284 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 228 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 24 และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูง 6,075 กรัม ต่อน้ำหนักเมล็ด 1,000 กรัม สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 80 และพันธุ์พิษณุโลก 2 ต้านทานสูงต่อโรคแอนแทรคโนส [...]

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80

By |2021-12-04T16:16:16+07:00กรกฎาคม 6th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 ชื่อพืช ถั่วเขียวผิวดำ ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 80 วันที่รับรอง 31 สิงหาคม 2550 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์ปราจีนกับพันธุ์ NBG 5 โดยพันธุ์ปราจีนเป็นถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พื้นเมือง ส่วนพันธุ์ NBG 5 เป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (AVRDC) ในปี พ.ศ. 2532-2546 ทำการผสมข้ามพันธุ์คัดเลือกและประเมินพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ศูนย์วิจัยฯ ศูนย์บริการวิชาการ และไร่เกษตรกรเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2532-2546 รวมระยะเวลาการวิจัย 15 ปี ลักษณะประจำพันธุ์ การเจริญเติบโตตั้งตรงทอดยอดเล็กน้อยในระยะต้นอ่อน โคนต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยงมีสีม่วง ไม่มีขนที่ใบและฝัก ดอกสีเหลือง ฝักอ่อนมีสีเขียวเข้ม ฝักแก่มีสีดำ ลักษณะฝักกลม สีเปลือกเมล็ดแห้งสีดำ เมล็ดมีลักษณะรูปทรงกระบอก อายุดอกแรกบาน 37 วัน อายุการเก็บเกี่ยว 83 วัน มีความสูงต้น 48.5 เซนติเมตร จำนวนฝักต่อต้น 45 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 7 เมล็ด ความยาวฝัก 5.2 เซนติเมตร และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด 57.5 กรัม ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 250 [...]

Go to Top