Chai Nat Field Crops ReSearch Center

About CNFCRC

This author has not yet filled in any details.
So far CNFCRC has created 409 blog entries.

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 2

By |2021-12-05T14:06:00+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 2 ชื่อพืช ข้าวโพดข้าวเหนียว ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 2 วันที่รับรอง 15 สิงหาคม 2562 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม ซึ่งพัฒนาพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ WPK008 เป็นสายพันธุ์แม่ที่มีลักษณะเด่น คือมีคุณภาพการบริโภคเหนียวนุ่ม และเมล็ดสีม่วง ซึ่งได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ในระหว่างปี 2555-2558 และข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ F4305 เป็นสายพันธุ์พ่อที่มีลักษณะเด่น คือ มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง คุณภาพการบริโภคเหนียวนุ่ม และเมล็ดสีขาว ซึ่งได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ในระหว่างปี 2545-2547 สร้างพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวในปี 2558 จากนั้นประเมินผลผลิตและประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ตามลำดับ ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยวสีขาวปนม่วง ที่มีคุณภาพบริโภคเหนียวนุ่ม เหมาะสำหรับการบริโภคฝักสด ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นตรงสีเขียว รากค้ำสีชมพู ความสูงต้น 200-210 เซนติเมตร ความสูงฝัก 100-120 เซนติเมตร ช่อดอกตัวผู้ค่อนข้างตรง อับเรณูสีชมพู เส้นไหมสีชมพู อายุวันออกดอกตัวผู้ 43 วัน อายุวันออกไหม 44 วัน อายุวันเก็บเกี่ยว 62-64 วัน ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,132 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือก 1,306 กิโลกรัมต่อไร่ ฝักรูปทรงกึ่งกรวยกึ่งกระบอก ฝักปอกเปลือกมีความยาว 17.5 เซนติเมตร ฝักกว้าง 4.3 เซนติเมตร เมล็ดสีขาวปนม่วง คุณภาพบริโภคเหนียวนุ่ม รสชาติฝักต้มดี [...]

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 84-1

By |2021-12-05T14:07:42+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 ชื่อพืช ข้าวโพดข้าวเหนียว ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 84-1 วันที่รับรอง 30 มิถุนายน 2554 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 หรือข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ CNW80 เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์ CNW4305(S) 2-B-42-B-B-B ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้จากลูกผสมระหว่างพันธุ์ T-10-V-1 กับพันธุ์ WAXY-DMR โดยคัดเลือกให้มีความต้านทานโรคราน้ำค้างในแปลงปลูกเชื้อโรคราน้ำค้างในฤดูฝน ปี 2545 – 2547 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โดยวิธีการคัดเลือกแบบสืบประวัติและผสมตัวเอง 1 ครั้ง จนได้สายพันธุ์ F4305 1 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ทับกฤช (S) 2-B-B-14-B-B-80-1-1-B-B-B ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวพื้นเมืองที่มีรสชาติหวาน คุณภาพเหนียวนุ่ม จากไร่เกษตรกรบ้านทับกฤช ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ นำมาปลูกคัดเลือกแบบสืบประวัติและผสมตัวเอง 1 ครั้ง จนได้สายพันธุ์แท้ทับกฤช M80 จากนั้น ปี 2547 – 2549 ฤดูแล้งและฤดูฝน นำพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม CNW80 ไปทดสอบการให้ผลผลิตในแปลงเปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น เปรียบเทียบในท้องที่ และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และศึกษาข้อมูลจำเพาะการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม ตั้งแต่ปี 2549 – 2553 รวม 26 แปลงทดลอง ลักษณะเด่น ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,731 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างจากพันธุ์บิ๊กไวท์ 852 ที่ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 1,714 [...]

ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2

By |2021-12-05T14:16:18+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2 ชื่อพืช ข้าวโพดหวานลูกผสม ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 2 วันที่รับรอง 15 สิงหาคม 2562 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดหวานสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 กับสายพันธุ์แท้เบอร์ 66 ซึ่งได้ดำเนินการคัดเลือกข้าวโพดหวานสายพันธุ์แท้ในระหว่างปี 2549-2553 สร้างเป็นพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวในปี 2553 จากนั้นดำเนินการคัดเลือกพันธุ์ เปรียบเทียบพันธุ์และประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ตามลำดับ ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่ให้ผลผลิตสูง ฝักมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมของภาคเอกชน ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นใหญ่แข็งแรง ความสูงต้น 200-220 เซนติเมตร ความสูงฝัก 80-115 เซนติเมตร อับเรณูสีเหลือง เส้นไหมสีเขียวอ่อน อายุวันออกดอกตัวผู้ 50 วัน อายุวันออกไหม 50 วัน อายุวันเก็บเกี่ยว 68-70 วัน ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,897 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือก 1,965 กิโลกรัมต่อไร่ ฝักทรงกระบอก ความยาวฝัก 4.8 เซนติเมตร ความกว้างฝัก 18 เซนติเมตร เมล็ดสีเหลืองเข้มเรียงตัวเป็นแถวตรง ติดเมล็ดเต็มปลายฝัก ค่าความหวาน 13.0-14.0 องศาบริกซ์ มีความต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูง ฝักมีขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการผลิตเข้าโรงงานอุตสาหกรรม ต้านทานปานกลางต่อโรคใบไหม้แผลใหญ่ เหนือกว่าพันธุ์ชัยนาท [...]

ข้าวโพดหวานพันธุ์ชัยนาท 86-1

By |2021-12-05T14:10:27+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ข้าวโพดหวานพันธุ์ชัยนาท 86-1 ชื่อพืช ข้าวโพดหวาน ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 86-1 วันที่รับรอง 14 พฤศจิกายน 2556 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่พัฒนาโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เกิดจากการผสมระหว่างข้าวโพดหวานสายพันธุ์แท้เบอร์ 75 เป็นสายพันธุ์แม่ที่มีลักษณะเด่น คือ มีเปลือกหุ้มเมล็ดบาง และสายพันธุ์แท้เบอร์ 50 เป็นสายพันธุ์พ่อที่มีลักษณะเด่น คือ มีรสชาติหวาน คุณภาพเมล็ดนุ่ม โดยทำการพัฒนาสายพันธุ์พ่อแม่ในระหว่างปี 2548-2551 และสร้างพันธุ์ลูกผสมในปี 2551 จากนั้นประเมินผลผลิตตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ในระหว่างปี 2551-2553 ได้ข้าวโพดหวานลูกผสมเดี่ยวที่ให้ผลผลิตสูง ฝักมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมของภาคเอกชน ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นสีเขียว รากค้ำจุนสีเขียว ความสูงต้น 200-220 เซนติเมตร ความสูงฝัก 100-120 เซนติเมตร อับเรณูสีเหลือง เส้นไหมสีเขียวอ่อน อายุวันออกดอกตัวผู้ 50 วัน จำนวนวันออกไหม 52 วัน อายุวันเก็บเกี่ยว 70-72 วัน ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,888 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือก 1,939 กิโลกรัมต่อไร่ เปลือกหุ้มฝักสีเขียว มีหูใบ (ear leaf) ที่ปลายเปลือกหุ้มฝัก ฝักทรงกระบอก ความกว้างฝัก 5.0 เซนติเมตร ความยาวฝัก 18.0 เซนติเมตร เมล็ดสดสีเหลือง รสชาติหวานนุ่ม มีค่าความหวาน 13.8 องศาบริกซ์ มีอัตราแลกเนื้อ [...]

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 6

By |2021-12-05T14:26:08+07:00กรกฎาคม 7th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 6 ชื่อพืช ถั่วเขียวผิวดำ ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 6 วันที่รับรอง 19 มีนาคม 2561 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ BC 35A/PI 288603 กับสายพันธุ์ PI 220306 ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นตั้งตรง ความสูงต้น 52 เซนติเมตร อายุดอกแรกบาน 32 วัน อายุเก็บเกี่ยว 80 วัน จำนวนฝักต่อต้น 41 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 7 เมล็ด และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด 66 กรัม ลักษณะเด่น ให้ขนาดเมล็ดใหญ่ โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 66 กรัม สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 52 กรัม หรือร้อยละ 27 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 275 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 232 กิโลกรัมต่อไร่หรือร้อยละ 19 และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูง 6,005 กรัม ต่อน้ำหนักเมล็ด 1,000 กรัม [...]

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 4

By |2021-12-05T14:23:02+07:00กรกฎาคม 6th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 4 ชื่อพืช ถั่วเขียวผิวดำ ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 4 วันที่รับรอง 19 มีนาคม 2561 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เป็นพันธุ์ที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ PI 220306 และ BC48 ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นตั้งตรง ความสูงต้น 56 เซนติเมตร อายุดอกแรกบาน 31 วัน อายุเก็บเกี่ยว 80 วัน จำนวนฝักต่อต้น 45 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 8 เมล็ด และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด 57.4 กรัม ลักษณะเด่น ผลผลิตสูง ให้ผลผลิตเฉลี่ย 284 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 228 กิโลกรัมต่อไร่ หรือร้อยละ 24 และมีเสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดถั่วงอกสูง 6,075 กรัม ต่อน้ำหนักเมล็ด 1,000 กรัม สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 80 และพันธุ์พิษณุโลก 2 ต้านทานสูงต่อโรคแอนแทรคโนส [...]

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80

By |2021-12-04T16:16:16+07:00กรกฎาคม 6th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 80 ชื่อพืช ถั่วเขียวผิวดำ ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 80 วันที่รับรอง 31 สิงหาคม 2550 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์ปราจีนกับพันธุ์ NBG 5 โดยพันธุ์ปราจีนเป็นถั่วเขียวผิวดำพันธุ์พื้นเมือง ส่วนพันธุ์ NBG 5 เป็นพันธุ์ที่นำเข้าจากศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักแห่งเอเชีย (AVRDC) ในปี พ.ศ. 2532-2546 ทำการผสมข้ามพันธุ์คัดเลือกและประเมินพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ศูนย์วิจัยฯ ศูนย์บริการวิชาการ และไร่เกษตรกรเขตภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2532-2546 รวมระยะเวลาการวิจัย 15 ปี ลักษณะประจำพันธุ์ การเจริญเติบโตตั้งตรงทอดยอดเล็กน้อยในระยะต้นอ่อน โคนต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยงมีสีม่วง ไม่มีขนที่ใบและฝัก ดอกสีเหลือง ฝักอ่อนมีสีเขียวเข้ม ฝักแก่มีสีดำ ลักษณะฝักกลม สีเปลือกเมล็ดแห้งสีดำ เมล็ดมีลักษณะรูปทรงกระบอก อายุดอกแรกบาน 37 วัน อายุการเก็บเกี่ยว 83 วัน มีความสูงต้น 48.5 เซนติเมตร จำนวนฝักต่อต้น 45 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 7 เมล็ด ความยาวฝัก 5.2 เซนติเมตร และน้ำหนัก 1,000 เมล็ด 57.5 กรัม ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 250 [...]

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 2

By |2021-12-04T16:14:14+07:00กรกฎาคม 6th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ถั่วเขียวผิวดำพันธุ์ชัยนาท 2 ชื่อพืช ถั่วเขียวผิวดำ ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 2 วันที่รับรอง 25 กรกฎาคม 2548 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ KAB4 กับพันธุ์ PLU1131 ตั้งแต่ปลายฤดูฝนปี 2532 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โดยได้คัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี 2532-2546 รวมระยะเวลาการวิจัย 15 ปี ลักษณะประจำพันธุ์ โคนต้นอ่อนสีม่วง ใบย่อยใบกลางมีรูปร่างคล้ายรูปไข่ มีความยาว 7.6 เซนติเมตร ความกว้าง 6.1 เซนติเมตร ความยาวก้านใบ 10.9 เซนติเมตร มีขนบนและใต้ใบ ใบสีเขียว ก้านใบมีสีเขียวอมม่วง กลีบดอกสีเหลืองเข้ม และมีขนที่ฝักแก่ ฝักแก่มีลักษณะกลม เมล็ดรูปไข่ และมีสีดำ ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 251 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 17 ขนาดเมล็ดใหญ่ตรงตามความต้องการของตลาด โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 59.8 กรัม สูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ร้อยละ 16 เหมาะสำหรับการเพาะถั่วงอก โดยให้น้ำหนักสดของถั่วงอกสูงและมีรสชาติหวานมากกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ลำต้นตั้งตรงและแข็งแรง มีการหักล้มของลำต้นน้อยกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 อายุการเก็บเกี่ยวสั้น ใกล้เคียงกับพันธุ์พิษณุโลก 2 ความสูงของลำต้นจากพื้นดินถึงข้อที่สองสูงกว่าพันธุ์พิษณุโลก 2 ทำให้สะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักรกล [...]

ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3

By |2021-12-04T15:58:02+07:00กรกฎาคม 6th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3 ชื่อพืช ถั่วเขียว ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 3 วันที่รับรอง 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 3 เป็นถั่วเขียวพันธุ์กลายที่คัดได้จากถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 36 ที่ผ่านการฉายรังสีแกมมาอัตรา 400 เกรย์ คัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ระหว่างปี พ.ศ. 2548–2561 โดยใช้พันธุ์มาตรฐานชัยนาท 36 และพันธุ์ชัยนาท 72 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ศึกษาข้อมูลจำเพาะของพันธุ์ และคุณค่าทางโภชนาการ รวมทั้งประเมินการยอมรับของเกษตรกร ระหว่างปี พ.ศ. 2551–2561 จนได้สายพันธุ์ดีนำเสนอขอรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร ลักษณะประจำพันธุ์ โคนต้นสีเขียว ใบสีเขียว ดอกสีเหลืองอ่อน ฝักอ่อนสีเขียวอ่อน ฝักแก่สีดำรูปร่างกลม รูปเมล็ดทรงกระบอก ความสูงต้น 63 เซนติเมตร อายุดอกแรกบาน 35 วัน อายุเก็บเกี่ยว 65 วัน จำนวนฝักต่อต้น 14 ฝัก น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 72 กรัม ให้เปอร์เซ็นต์แป้ง 58.4 เปอร์เซ็นต์ และโปรตีน 24.1 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะเด่น ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 232 กิโลกรัมต่อไร่ ขนาดเมล็ดใหญ่ โดยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ด 72 กรัม [...]

ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1

By |2021-12-04T15:50:09+07:00กรกฎาคม 6th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 ชื่อพืช ถั่วเขียว ชื่อพันธุ์ ชัยนาท 84-1 วันที่รับรอง 15 มิถุนายน 2555 หน่วยงานรับรอง กรมวิชาการเกษตร ประวัติ ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 หรือถั่วเขียวสายพันธุ์ M5-1 เป็นถั่วเขียวสายพันธุ์กลายที่คัดได้จากพันธุ์ชัยนาท 36 ที่ผ่านการฉายรังสีแกมมาอัตรา 500 เกรย์ ในปี 2538 ทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ และศึกษาข้อมูลจำเพาะของพันธุ์ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาทระหว่างปี 2538-2553 ลักษณะประจำพันธุ์ โคนต้นอ่อนใต้ใบเลี้ยงสีเขียว ใบมีขนมาก ใบ ก้านใบ และวงกลีบเลี้ยงมีสีเขียว กลีบดอกสีเหลือง ช่อดอกอยู่ทั้งเหนือและใต้ทรงพุ่ม ฝักอ่อนมีเขียวอ่อน ฝักแก่สีดำ มีเมล็ดรูปทรงกระบอก อายุถึงดอกแรกบาน 35 วัน อายุถึงเก็บเกี่ยว 65 วัน จำนวนฝักต่อต้น 11.5 ฝัก จำนวนเมล็ดต่อฝัก 11.3 เมล็ด ฝักยาว 8.7 เซนติเมตร ความสูงต้น 63 เซนติเมตร ลักษณะเด่น ผลผลิตสูง โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 226 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 36 และกำแพงแสน 1 ร้อยละ 4 และ 7 ตามลำดับ เปอร์เซ็นต์แป้งสูง เหมาะสำหรับการแปรรูปเป็นวุ้นเส้น โดยให้เปอร์เซ็นต์แป้ง 54.85 เปอร์เซ็นต์ [...]

Go to Top