ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์
ชื่อพืช
หม่อน
พันธุ์
นครราชสีมา 60
วันที่รับรอง
09 มกราคม 2530
ประเภทการรับรอง
พันธุ์รับรอง
ประวัติ
ปีพ.ศ.2524 สถานีทดลองหม่อนไหมนครราชสีมา ทำการผสมพันธุ์หม่อนระหว่างสายพันธุ์ แก้วชนบท กับ ลูกผสมสายพันธุ์ Shujakuichi no 18 ได้ลูกผสมที่ผ่านการคัดเลือกช่วงแรก 300 ต้น นำไปปลูกในแปลงทดลองได้ทำการคัดเลือกหม่อนลูกผสมที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของใบมาทำการขยายพันธุ์ โดยการติดตาบนต้นหมอนไผ่ คัดเลือกพันธุ์หม่อนที่มีการเจริญเติบโต แตกกิ่ง ให้ผลผลิตสูง มีคุณภาพใบเหมาะสมกับการเลี้ยงไหม
ลักษณะประจำพันธุ์
ใบรูปไข่ สีเขียว มีความนุ่ม ผิวใบเรียบมากกว่าหม่อนน้อย ก้านใบยาว การเรียงตัวของใบ 2/5 ขนาดของใบ 18.3x23.3 เซนติเมตร ความเลื่อมมันใบมากกว่าหม่อนน้อย ลำต้นมีสีเทา ทรงต้นตั้งตรง ระยะข้อปล้อง 4.1 เซนติเมตร การเจริญเติบโต 276.33 เซนติเมตรต่อ 12 เดือน การแตกกิ่ง 4.5 กิ่งต่อ 12 เดือน น้ำหนัก 100 ใบ หนัก 440.87 กรัม
ลักษณะเด่น
ผลผลิตใบหม่อนต่อไร่สูงกว่าพันธุ์ม่อนน้อยในทุกฤดูกาลโดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 3,600 กิโลกรัมต่อไร่ ต่อปี (สามารถเลี้ยงไหมได้ 8-9 กล่อง ได้ผลผลิตรังไหม 160-180 กิโลกรัม มูลค่า 16,000-18,000 บาท ต่อไร่ต่อปี) มีการแตกกิ่งหลังตัดแต่งดีกว่าหม่อนน้อย ก้านใบมีลักษณะใหญ่ยาวและแข็งทำให้เหมาะกับการเลี้ยงไหมแบบกิ่ง ใบมีลักษณะที่นุ่มหนาปานกลางทำให้เหี่ยวช้าหลังเก็บเกี่ยวสามารถเก็บไว้ได้นาน ใบหม่อนไม่ร่วงง่ายผลผลิตใบจึงสูงขึ้นและเก็บเกี่ยวได้นาน มีคุณค่าทางอาหารสูงใกล้เคียงกับหม่อนน้อย ขยายพันธุ์ได้ง่าย ต้านทานต่อโรคราแป้งได้ดี
พื้นที่แนะนำ
ปลูกได้ในสภาพพื้นที่ทั่วไปที่มีการเลี้ยงไหม
ข้อควรระวัง
ท่อนพันธุ์ออกรากได้ยากกว่าหม่อนน้อย ก่อนปลูกควรชุบสารเร่งรากหรือขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตาลงบนต้นตอหม่อนพันธุ์ที่ออกรากง่ายนอกจากนี้เป็นพันธุ์ไม่ต้านทานโรคและแมลง