ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช ขมิ้นชัน
พันธุ์ ตรัง 84-2
วันที่รับรอง 04 มกราคม 2553
ประเภทการรับรอง พันธุ์แนะนำ
ขมิ้นชันสายต้น T16 เป็นขมิ้นชันที่เกษตรกรปลูกกันมากในเขตอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง เช่น พัทลุง ตรัง และสงขลา เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อใช้ในการบริโภค เช่น ผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ คลุกกับอาหารแล้วนำไปทอด ย่าง หรืออบ ศูนย์วิจัยพืชสวนตรังได้รวบรวมหัวพันธุ์ขมิ้นชันจากแหล่งนี้ นำมาปลูกในแปลงทดลองรวมกับสายต้นอื่นๆ อีก 10 สายต้น คัดเลือกสายต้นที่ให้ผลผลิต สูงกว่า 2 ตันต่อไร่ และมีสารสำคัญสูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย ซึ่งได้ระบุให้มีสารเคอร์คูมินอยด์ไม่ต่ำกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำมันหอมระเหยไม่ต่ำกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ และเสนอขมิ้นชันที่เหมาะสำหรับการบริโภคสายต้น T16 เป็นพันธุ์แนะนำของกรมวิชาการเกษตรเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
ลำต้นอยู่ในดิน ส่วนที่ติดกับโคนกาบใบ เรียก หัว (tuber) และมีแขนงออกไปเป็นแง่ง เรียก rhizome ขนาดหัวประมาณ 4.52x7.6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 57.14 กรัม ขนาดแง่งประมาณ 1.91x5.89 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 15.00 กรัม สีเนื้อในหัวและแง่งเป็นสีเหลืองส้ม (Orange Group 28 B) ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นลำต้นเทียมสูงประมาณ 90-110 เซนติเมตร ใบเป็นรูปรีแกมขอบขนาน สีใบด้านบนสีเขียวเข้ม ด้านล่างสีเขียวจาง ขนาดใบประมาณ 14.33x58.64 เซนติเมตร ในหนึ่งหน่อจะมีใบประมาณ 7-8 ใบ ช่อดอกยาว 5-8 เซนติเมตร กลีบประดับสีเขียวอ่อน ปลายช่อสีขาว
1.) ให้ผลผลิตหัวสดในภาคใต้ประมาณ 2.59 ตันต่อไร่ 2.) มีสารสำคัญเคอร์คูมินอยด์เฉลี่ย 11.04 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย 120.80 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำมันหอมระเหยเฉลี่ย 7.78 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานยาสมุนไพรไทย 29.67 เปอร์เซ็นต์ และมี - turmerone 23.38 เปอร์เซ็นต์ (เก็บเกี่ยวเมื่อขมิ้นชันอายุ 11 เดือนหลังปลูก) 3.) เนื้อในหัวมีสีส้มแกมแดง หรือ Orange Group 28 B โดยใช้แผ่นเทียบสีของ The Royal Horticulture Society (RHS)
ปลูกได้ดีในพื้นที่ภาคใต้และปลูกได้ทั่วไปในดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี อุณหภูมิเฉลี่ย 27-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 70-80 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี
ไม่ควรใช้ส่วนขยายพันธุ์ (หัวและแง่ง) ที่มาจากแหล่งที่เป็นโรคเหี่ยวหรือโรคโคนเน่า