ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช ข้าวเจ้า
พันธุ์ พิษณุโลก 80
วันที่รับรอง 23 มกราคม 2550
ประเภทการรับรอง พันธุ์รับรอง
ข้าวสายพันธุ์ PSL92147-1-2-4 ได้จากการผสม 3 ทาง ระหว่างข้าวสุพรรณบุรี 90 และ IR56 กับ กข27 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ปลูกชั่วที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2536 ปลูกชั่วที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2537 ปลูกชั่วที่ 3-5 เมื่อ พ.ศ. 2538-2540 ปลูกศึกษาพันธุ์และปลูกเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลกนำเข้าปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ระหว่าง พ.ศ.2543-2548 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตชัยนาท (ศบป.ชัยนาท) และศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตลพบุรี (ศบป.ลพบุรี) ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในนาราษฎร์ ระหว่าง พ.ศ. 2544-2546 ที่จังหวัดพิษณุโลก พิจิตร ลพบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี เพชรบูรณ์ และสิงห์บุรี ทดสอบการตอบสนองต่ออัตราปุ๋ยไนโตรเจน ระหว่าง พ.ศ. 2545-2546 ที่ศูนย์วิจัยข้าวพิษณุโลก ศปบ.ชัยนาท และศบป.ลพบุรี ทดสอบเสถียรภาพของผลผลิตร่มกับศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี ศูนย์วิจัยข้าวสุพรรณบุรี และเครือข่าย ใน พ.ศ. 2545-2547 และ 2548 ผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวระหว่าง พ.ศ. 2546-2548
สายพันธุ์ PSL92147-1-2-4 เป็นข้าวเจ้าไวต่อช่วงแสง อายุปานกลาง เก็บเกี่ยวต้นเดือนธันวาคม ลักษณะทรงกอตั้ง ต้นแข็งไม่ล้มง่าย ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง คอรวงยาว รวงแน่นปานกลาง ความสูงเฉลี่ย 141 เซนติเมตร น้ำหนักข้าวเปลือก 10.6 กิโลกรัมต่อถัง ข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด หนัก 29.2 กรัม เปลือกเมล็ดสีฟาง ข้าวเปลือกยาว 1010 มิลลิเมตร กว้าง 2.53 มิลลิเมตร หนา 1.98 มิลลิเมตร ข้าวกล้องรูปเรียว ยาว 7.45 มิลลิเมตร กว้าง 2.16 มิลลิเมตร หนา 1.74 มิลลิเมตร มีระยะพักตัว 7 สัปดาห์
1. สามารถให้ผลผลิต เสถียรภาพในการให้ผลผลิตดีในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 637 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ กข27 (571 กิโลกรัมต่อไร่) ขาวตาแห้ง 17 (488 กิโลกรัมต่อไร่) และพิษณุโลก 3 (627 กิโลกรัมต่อไร่) ประมาณ 12 31 และ 2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 2. ทรงต้นตั้งตรง ต้นแข็ง ไม่ลมง่าย 3. คุณภาพเมล็ดดี คือ มีท้องไข่น้อย เมล็ดข้างกล้องยาว (7.45 มิลลิเมตร) รูปร่างเรียว 4. คุณภาพการสีดีมาก ได้ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 61.3 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่า กข 27 (47.6 เปอร์เซ็นต์) และขาวตาแห้ง 17 (54.2 เปอร์เซ็นต์) สามารถทำเป็นข้าวสาร 100 เปอร์เซ็นต์ได้
เหมาะสำหรับนาน้ำฝนพื้นที่ลุ่มในเขตภาคเหนือตอนล่าง และเกษตรกรที่ต้องการปลูกข้าวอายุปานกลาง
ไม่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคไหม้ในจังหวัดพิษณุโลก และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง