ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช หม่อนผลสด
พันธุ์ สกลนคร
วันที่รับรอง 09 มกราคม 2549
ประเภทการรับรอง พันธุ์แนะนำ
ในการปรับปรุงพันธุ์หม่อน ทริพลอยด์ (2n=3X=42)จะต้องเริ่มจากการปรับปรุงพันธุ์หม่อน เททราพลอยด์ (2n=4X=56) สำหรับผสมกับหม่อน ดิพลอยด์ (2n=2X=28) เพื่อให้ได้หม่อน ทริพลอยด์ งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการนำหม่อนพันธุ์คุณไพ (2n=2X=28) ทำให้เป็นหม่อน เททราพลอยด์เนื่องจากพันธุ์คุณไพมีลักษณะที่ดีหลายประการ เช่น มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วหลังการตัดเต่ง ขยายพันธุ์ได้ง่าย และทนทานโรครากเน่า ตาให้ผลผลิตต่ำ และใบบางเหี่ยวง่าย มีธาตุอาหารต่ำ เมื่อปรับปรุงพันธุ์คุณไพ ดิพลอยด์ เพศเมีย เป็นคุณไพ เททราพลอยด์ เพศเมีย โดยการหยดสารละลายโคลชิซิน 0.4 เปอร์เซ็นต์ ที่ตาของหม่อนพันธุ์คุณไพแล้วจึงทำการผสมพันธุ์กับหม่อน ดิพลอยด์ เพศผู้ ได้แก่ หม่อนพันธุ์น้อย Kosen และลุน 40 เมื่อได้เมล็ดหม่อน ทริพลอยด์ นำไปเพาะในถุงชำ ถุงละ 1 เมล็ด เมื่อต้นกล้าอายุ 2 เดือน ย้ายปลูกในแปลง โดยใช้ระยะปลูก 0.75x2.0 เมตร หลังจากนี้ ทำการคัดเลือกจนได้ต้นหม่อน ทริพลอยด์ 5 พันธุ์ คัดเลือกได้ 2 พันธุ์ ได้แก่ SKN – M95-3-82 และ SKN-M95-2-10 ที่มีลักษณะดี
ทรงต้นตั้งตรง ใบรูปไข่ค่อนข้างกว้าง ใบรูปหัวใจ ผิวใบหยาบ ขอบใบเป็นหยัก ปลายใบแหลมสั้น การเรียงของใบสลับกัน ใบมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม กิ่งสีเขียวม่นปนเทา ปลายกิ่งออกสีน้ำตาล ความสูงของต้นมากกว่า 1.81 เซนติเมตร ระยะระหว่างข้อถี่ (น้อยกว่า 5 เซนติเมตร) น้ำหนักใบต่อต้นต่อปี มากกว่า 3 กิโลกรัม ผลผลิตใบต่อไร่ต่อปี มากกว่า 3,000 กิโลกรัม (จากแปลงทดลอง) ผลผลิตใบต่อไร่ต่อปี 2,512.90 กิโลกรัม (จากแปลงเกษตรกร) ขยายพันธุ์ด้วยท่อนพันธุ์ ต้านทานโรคเน่าได้ดีกว่าบุรีรัมย์ 60
ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าพันธุ์หม่อนบุรีรัมย์ 60 30 เปอร์เซ็นต์ มีความทนทานต่อสภาวะแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ออกรากดีเมื่อตัดกิ่งปักชำ ขยายพันธุ์ง่าย สามารถใช้ท่อนพันธุ์ปลูกในแปลงได้โดยตรง หรือปักชำก่อนปลูก มีความทนทานโรครากเน่าดีกว่าหม่อนพันธุ์บุรีรัมย์ 60
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่ที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ปลูกแทนพันธุ์บุรีรัมย์ 60 ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งยาวนาน เช่น จังหวัดสกลนคร นครพนม
กิ่งที่จะใช้ขยายพันธุ์ควรมีอายุหลังการตัดแต่งไม่ต่ำกว่า 5 เดือน