ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช อ้อย
พันธุ์ อู่ทอง 8
วันที่รับรอง 07 มกราคม 2552
ประเภทการรับรอง พันธุ์รับรอง
อ้อยโคลน 95-2-156 เป็นอ้อยที่คัดได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่ K 84-200 กับพันธุ์พ่ออู่ทอง 3 ในปี พ.ศ.2538 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539-2549 ดำเนินการคัดเลือก เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน ศึกษาการตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีของอ้อย ศึกษาการทำลายของหนอนกออ้อยและปฏิกิริยาของอ้อยต่อโรคที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ และทดสอบในไร่เกษตรกรพันธุ์จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชลบุรี สรุปทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2538-2551 รวมระยะเวลา 13 ปี
กอตั้งตรง ขนาดลำปานกลาง ปล้องทรงกระบอก สีลำสีเหลืองเมื่อไม่ต้องแดด เมื่อต้องแสงสีเขียวเหลือบเหลือง ใบชัน – ตรง กว้างปานกลาง มีขนที่กาบใบเล็กน้อย ลำมีความสูง259 จำนวนลำเฉลี่ย 8,974ลำต่อไร่ ปล้องเฉลี่ย 24 ปล้องต่อลำ อายุเก็บเกี่ยว 11-12 เดือน ความหวาน 15.24 ซีซีเอส ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 17.23 ตันต่อไร่ ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.30 ตันซีซีเอสต่อไร่
1. ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย 17.23 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ K 84-200 (14.96 ตันต่อไร่)ร้อยละ 15 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (16.94 ตันต่อไร่) ร้อยละ 2 โดยให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ยในอ้อยปลูก 19.53 ตันต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 16.76 ตันต่อไร่ และอ้อยตอ 2 14.47 ตันต่อไร่ ขณะที่พันธุ์ K 84-200 ให้ผลผลิตน้ำหนักเฉลี่ย อ้อยปลูก 17.64 ตันต่อไร่ อ้อยตอ 1 13.69 ตันต่อไร่ และอ้อยตอ 2 12.84 ตันต่อไร่ ส่วนพันธุ์อู่ทอง 3ให้ผลผลิตน้ำหนักอ้อยปลูก 19.64 ตันต่อไร่ อ้อยตอ 1 15.26 ตันต่อไร่ และอ้อยตอ 2 15.39 ตันต่อไร่ 2. ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ย 2.63 ตันซีซีเอสต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์เปรียบเทียบ K 84-200 (2.30 ตันซีซีเอสต่อไร่)ร้อยละ 14 และสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 (2.51 ตันซีซีเอสต่อไร่) ร้อยละ 5 โดยให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยในอ้อยปลูก 2.97 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 2.49 ตันซีซีเอสต่อไร่ และในอ้อยตอ 2 2.30 ตันซีซีเอสต่อไร่ ขณะที่พันธุ์ K 84-200 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยในอ้อยปลูก 2.64 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 2.10 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในอ้อยตอ 2 2.05 ตันซีซีเอสต่อไร่ สำหรับพันธุ์อู่ทอง 3 ให้ผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยในอ้อยปลูก 2.95 ตันซีซีเอสต่อไร่ ในอ้อยตอ 1 2.21 ตันซีซีเอสต่อไร่ และในอ้อยตอ 2 2.31 ตันซีซีเอสต่อไร่
ในเขตชลประทาน ดินร่วนและดินร่วนเหนียว จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดนครปฐม จังหวัดราชบุรี จังหวัดเพชรบุรี
ไม่ควรปลูกในที่ลุ่มน้ำขัง มีโรคเหี่ยวเน่าแดงระบาด