ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช อ้อย
พันธุ์ ขอนแก่น 3
วันที่รับรอง 30 มกราคม 2551
ประเภทการรับรอง พันธุ์รับรอง
ได้จากคู่ผสมระหว่างอ้อยโคลน 85-2-352 กับพันธุ์ K84-200 โดยการผสมข้ามพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ในปี พ.ศ.2537 ทำการเพาะเมล็ดและคัดเลือกครั้งที่ 1 (ลูกอ้อย) ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรีในปี พ.ศ.2538-2539 คัดเลือกครั้งที่ 2 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นในปี พ.ศ.2540 คัดเลือกครั้งที่ 3 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นในปี พ.ศ.2541-2542 เปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้นที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นในปี พ.ศ.2544–2545 เปรียบเทียบมาตรฐานที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น และศูนย์วิจัยพืชไร่กาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ.2545-2547 เปรียบเทียบและทดสอบในไร่เกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ชัยภูมิ และนครราชสีมา ในปี พ.ศ.2547-2548 พบว่ามีผลผลิตสูงและสามารถปรับตัวได้ดีกับเขตใช้น้ำฝนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2537-2551 รวมระยะเวลาการวิจัย 15 ปี
กอตั้งตรง กาบใบหลวม มี 6-12 หน่อต่อกอ ความยาวปล้องน้อยกว่า 10 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำ 2.72 เซนติเมตร มีไขปานกลางสีเหลืองเหลือบเขียวเมื่อไม่ต้องแสงและสีม่วงเหลือบเหลืองถึงน้ำตาล เมื่อต้องแสง ตารูปไข่ ใบมีลักษณะปลายโค้ง มีกลุ่มขนที่ขอบใบส่วนโคน ลิ้นใบเป็นแถบ ตรงกลางพองออก ปลายเรียวทั้ง 2 ข้าง หูใบด้านนอกรูปสามเหลี่ยม หูใบด้านในรูปใบหอกสั้น คอใบรูปสามเหลี่ยม ชายธงปลายคด ขนที่กาบใบน้อย จำนวนลำเก็บเกี่ยวในอ้อยปลูก 10,351 ลำต่อไร่ อ้อยตอ1 11,287 ลำต่อไร่ ผลผลิตน้ำตาลในอ้อยปลูก 2.64 ตันซีซีเอสต่อไร่ อ้อยตอ1 2.49 ตันซีซีเอสต่อไร่ ซีซีเอสในอ้อยปลูก 14.6 อ้อยตอ1 15.1
ให้ผลผลิตสูง อ้อยปลูกมีน้ำหนักเฉลี่ย 18.1 ตันต่อไร่ และอ้อยตอ1 16.5 ตันต่อไร่ ซึ่งสูงกว่าพันธุ์อู่ทอง 3 ร้อยละ 25 และ 28 ตามลำดับ ไม่ออกดอก ทำให้น้ำหนักและความหวานไม่ลดลง กาบใบหลวมเก็บเกี่ยวง่าย
ปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่ที่เป็นดินร่วนปนทรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตปลูกอ้อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ