ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช กาแฟอาราบิก้า
พันธุ์ เชียงใหม่ 80
วันที่รับรอง 31 มกราคม 2550
ประเภทการรับรอง พันธุ์รับรอง
เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ H.W 26/5 กับพันธุ์ SL 28 โดยศูนย์วิจัยโรคราสนิมกาแฟ (CIFC=Centro de Investigacao das Ferrugens do Cafeciro) ประเทศโปรตุเกส ได้ลูกผสมชั่วที่ 1 ในปี 2503 เมล็ดพันธุ์แต่ละชั่วของการคัดจะส่งไปปลูกที่ประเทศ แองโกลา บราซิล โปรตุเกสและไทย การปลูกและคัดเลือกชั่วที่ 2 ดำเนินการที่ IICA (Instituto Interamericano de Ciencias Agricolas) ในประเทศแองโกลา ชั่วที่ 3 ที่บราซิล ชั่วที่ 4 ที่ CIFC ประเทศโปรตุเกส ชั่วที่ 5 ที่ไทย ในปี 2528 โดยศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่(ขุนวาง) และคัดเลือกจนได้ถึงชั่วที่ 7 ในปี 2539 – 2544 ปลูกเปรียบเทียบในพื้นที่ที่มีระดับความสูง 750– 1,300 จากระดับน้ำทะเล รวมระยะเวลาในการวิจัย ทำการคัดเลือกและประเมินพันธุ์ตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ตั้งแต่ปี 2528-2544 รวมระยะเวลาการวิจัย 17 ปี
มีลำต้นตั้งตรง ทรงปิรามิด ผลกลมรีผิวมัน สีผิวผลแก่สีแดง สีผิวกะลาสีขาว – เหลืองอ่อน เมล็ดกลมรี สีเขียวอมเทา จำนวนเมล็ดต่อน้ำหนัก 100 กรัม คือ 449 เมล็ด มีผลจำนวน 14 ผลต่อข้อ ผลผลิต 6.81 กิโลกรัมต่อต้น (รวม 6 ปี) มีคุณภาพของสารกาแฟเกรด A 82 -85 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณคาเฟอีน 0.42 เปอร์เซ็นต์อายุการเก็บเกี่ยวที่ระดับความสูง 700 – 900 เมตร ประมาณ 173 -184 วัน ที่ระดับความสูง 1,000 -1,300 เมตร ประมาณ 296 -324 วัน
มีความต้านทานโรคราสนิมสูง Hemilcia vastatrix ให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟดิบ สูงกว่าพันธุ์ Caturra Bourbon และ Typica ที่เกษตรกรปลูกทั่วไป ประมาณ 1.79 – 2.39 เท่า ให้ปริมาณสารกาแฟ green bean เกรด A ประมาณ 81.3-87.3 เปอร์เซ็นต์ (เฉลี่ย 5 ปี) คุณภาพการชิมอยู่ระดับ 6.5-7.0 คะแนน (จาก 10 คะแนน) เปรียบเทียบกับ Caturra ได้ 5.5 คะแนน
เขตภาคเหนือตอนบนและตอนล่าง สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตรขึ้นไป มีอุณหภูมิ 18-25 องศาเซลเซียส และปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี
ควรปลูกภายใต้สภาพร่มเงาที่เป็นธรรมชาติ หรือระหว่างแถวไม้ผลยืนต้น เช่น มะคาเดเมีย บ๊วย ลิ้นจี่ เนื่องจากไม่ทนต่อสภาวะอากาศร้อนและแห้งแล้ง