ข้อมูลพันธุ์พืชรับรอง พันธุ์พืชแนะนำ และสิ่งประดิษฐฺ์


ชื่อพืช เดือย
พันธุ์ เลย
วันที่รับรอง 31 มกราคม 2546
ประเภทการรับรอง พันธุ์แนะนำ
เดือยข้าวเหนียวพันธุ์เลย ได้รับการคัดเลือกพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่นในปี พ.ศ.2539 โดยทำการรวบรวมเมล็ดพันธุ์จากแหล่งปลูกอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย และทำการคัดเลือกให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่เป็นแป้งข้าวเหนียวทั้งหมด ระหว่างปี พ.ศ.2542-2544 ได้พันธุ์เดือยข้าวเหนียว ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโดยการผ่าเมล็ดเดือยในส่วนที่เป็น endosperm ประมาณหนึ่งในสี่ส่วน ตรวจสอบความเป็นแป้งข้าวเหนียวโดยใชสารละลาย ปี พ.ศ.2540-2541 สถานีทดลองพืชไร่เลย ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธี modified plant to row ให้มีความสม่ำเสมอ ได้พันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีและให้ผลผลิตสูง จึงนำเข้าประเมินผลผลิตร่วมกับเดือยพื้นเมืองพันธุ์ต่าง ๆ
ลำต้นสีเขียวอมแดง ทรงพุ่มกว้าง สูง 196 เซนติเมตร ช่อดอกแน่นปานกลาง เปลือกหุ้มเมล็ดสีน้ำตาลเหลือบส้ม เยื่อห้มเนื้อในเมล็ดสีส้ม เป็นเเป้งข้าวเหนียว 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวนเมล็ด 609 เมล็ดต่อกอ น้ำหนัก 100 เมล็ด 15.7 กรัม
เป็นพันธุ์เดือยข้าวเหนียว ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด ให้ผลผลิตทั้งเปลือก 299 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์วังสะพุง ร้อยละ 13 มีเปอร์เซ็นต์กะเทาะ 55.6 เปอร์เซ็นต์ และผลผลิตหลังกะเทาะ 167 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์วังสะพุง ร้อยละ 13 และร้อยละ 26 ตามลำดับ
จังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดชัยภูมิ
เนื่องจากเดือยพันธุ์นี้เป็นเดือยข้าวเหนียวบริสุทธิ์ และความเป็นแป้งข้าวเหนียวถูกควบคุมด้วยยีนด้อย (recessive gene) แต่ในสภาพการปลูกของเกษตรกรจะมีทั้งเดือยข้าวเหนียวและเดือยข้าวเจ้า เพราะฉะนั้นหากต้องการให้ได้ผลผลิตที่เป็นเดือยข้าวเหนียวล้วนจำเป็นต้องปลูกห่างจากเดือยพันธุ์อื่น ๆ อย่างน้อย 300 เมตร นอกจากนั้นเดือยพันธุ์นี้เป็นพันธุ์ที่ไวต่อช่วงแสง เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด จึงควรปลูกระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน