การจัดประชุมสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Understanding Gene Editing Technology Regulations”
เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2567 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานในการสัมมนา เรื่อง Understanding Gene Editing Technology Regulations” เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่สู่การใช้ประโยชน์ และการกำกับดูแล ณ ณ ห้องประชุม 314 ชั้น 3 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร บางเขน กรุงเทพฯ ร่วมกับระบบออนไลน์ ZOOM Meeting โดยมี นางปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นผู้ดำเนินการประชุมฯ พร้อมทั้งเชิญหน่วยงานภายนอกกรมวิชาการเกษตร มาร่วมแสดงความคิดเห็น อาทิ นายวิชา ธิติประเสริฐ ดร.ชาลินี คงสวัสดิ์รศ.ดร. อรชส นภสินธุวงศ์ รศ.ดร.ศุภชัย วุฒิพงศ์ชัยกิจ ผศ.ดร.อนงค์ภัทร สุทธางคกูล ดร. บุญญานาถ นาถวงษ์ (นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย) นายกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพสัมพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตามนโยบายของ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกร การผลักดันสินค้าเกษตรและบริการมูลค่าสูง และการจัดการทรัพยากรทางการเกษตรอย่างยั่งยืน ในการรองรับนโยบายนี้กรมวิชาการเกษตรตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยีการปรับแก้จีโนม (GEd) ที่เป็นเทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืชแบบแม่นยำและสามารถช่วยลดระยะเวลาในการปรับปรุงพันธุ์พืชได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีแนวทางที่เหมาะสมเกี่ยวกับกฎระเบียบและการกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการปรับแก้จีโนม โดยปัจจุบันนี้หลายประเทศและองค์กรระหว่างประเทศเริ่มให้การยอมรับพืชที่พัฒนาขึ้นด้วยเทคโนโลยีการปรับแก้จีโนมว่ามีความปลอดภัยสูง เนื่องจากผู้บริโภคไม่มีข้อกังวลด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ จึงนับเป็นโอกาสใหม่สำหรับประเทศไทยในการพัฒนานวัตกรรมทางการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล และเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรให้สูงขึ้น
กรมวิชาการเกษตรโดยสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพจึงได้จัดการสัมมนา เรื่อง Understanding Gene Editing Technology Regulations เพื่อเป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ และเป็นข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายดำเนินการของกรมวิชาการเกษตรในด้านเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยีการปรับแก้จีโนม ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร. Adam Cornish ที่ปรึกษาด้านการเกษตร หน่วยงาน The Office of Agricultural Policy, Bureau of Economic and Business Affairs ของ U.S. Department of State ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ด้านงานวิจัยและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการปรับแก้จีโนม โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประโยชน์ของพืช Ged และแนวทางการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพของสหรัฐอเมริกา ซึ่งหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการควบคุมผลิตภัณฑ์ที่มาจากการการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ
ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ USDA, FDA และ EPA นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับการสร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับพืชที่พัฒนาจากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ได้ใช้สื่อต่างๆ เช่น FAO GM food safety toolkit โดยมีหัวข้อ ข้อมูลพื้นฐาน ประโยชน์ การประเมินความปลอดภัย และการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เป็นต้น