อบรม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี Next Generation Sequencing และชีวสารสนเทศเพื่อการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช
ระหว่างวันที่ 9 – 11 สิงหาคม 2566 สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพจัดการฝึกอบรม เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี Next Generation Sequencing และชีวสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช โดยมี ดร.ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นประธานพร้อมข้าราชการและบุคลากรเข้าร่วม
วันที่ 9 สิงหาคม 2566 มีการบรรยาย เรื่อง โปรตีโอมิกส์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช โดย ดร.สิทธิรักษ์ รอยตระกูล นักวิจัยอาวุโสหัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีโปรตีโอมิกส์เชิงหน้าที่ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และเรื่อง การประยุกต์ใช้เครื่องหมายโมเลกุลเพื่อการตรวจสอบและจำแนกพันธุ์พืช โดย ดร. หทัยรัตน์ อุไรรงค์ ที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร ด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร
วันที่ 10 สิงหาคม 2566 มีการบรรยาย เรื่อง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีโอมิกส์เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช โดย ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และเรื่อง เครื่องหมายโมเลกุลเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช โดย รศ.ดร.กิตติพัฒน์ อุโฆษกิจ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ 11 สิงหาคม 2566 มีการบรรยาย เรื่อง การใช้เทคโนโลยี Next Generation Sequencing เพื่อพัฒนาเครื่องหมายโมเลกุลโดย ดร.วิรัลดา ภูตะคาม หัวหน้าทีมวิจัยจีโนมิกส์ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เรื่อง ชีวสารสนเทศเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจากเทคโนโลยี Next Generation Sequencing โดย ดร. วันอภินันต์ นาแว นักชีวสารสนเทศ ทีมวิจัยจีโนมิกส์ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และปิดท้ายการภาคปฏิบัติ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลจากเทคโนโลยี Next Generation Sequencing ด้วยโปรแกรมชีวสารสนเทศ โดย นางสาววาสิฏฐี คงคาชนะ และ นายภูมิพัฒน์ ผาดโผน นักชีวสารสนเทศ ทีมวิจัยจีโนมิกส์ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ