บริการตรวจ GMO
งานบริการตรวจวิเคราะห์สินค้าพืชดัดแปรพันธุกรรม
พืช GMOs คืออะไร
พืช GMOs (Genetically Modified Organisms) หรือเรียกว่า พืช ตัดต่อสารพันธุกรรม หรือพืชดัดแปลงพันธุกรรม หรือพืช ดัดแปร พันธุกรรมหรือบางทีเรียกว่าพืชไบโอเทค หมายถึง พืชที่ ได้รับการ ถ่ายยีนนเกิดจากการตัดเอายีนของสิ่งมีชีวิตชนิด หนึ่ง ซึ่งอาจมา จากแบคทีเรียไวรัส หรือพืช ใส่เข้าไปในยีน ของสิ่งมีชีวิต หรือพืชอีก ชนิดหนึ่งซึ่งโดยปกติไม่ได้เกิดตามธรรมชาติ เพื่อให้ได้ลักษณะหรือ คุณสมบัติตามที่ต้องการ เช่น พืชทีมีความทนทานต่อโรคศัตรูพืชและแมลง ทนทานต่อ ความแห้งแล้ง หรือยืนอายุการสุกแก่ของผักและผลไม้ เป็นต้น
ทำไมต้องตรวจสอบพืช GMOs
- ประชาชนและผู้บริโภคก็มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการบริโภค อาหาร GMOs และมีการเรียกร้องให้มีการติดฉลากสินค้า หรือ ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนผสมของ GMOs ห้างสรรพสินค้า บางแห่งได้ออกมาตรการให้สินค้าที่จะนำมาวางขาย ต้องมีหนังสือรับรองว่าเป็นสินค้าที่ไม่ใช่ GMOs เพราะฉะนั้นการนำสินค้า มาตรวจสอบ ก็เพื่อให้ผู้บริโภคคลายความกังวล และสามารถ เลือกบริโภคอาหารที่ปลอด GMOs ได้
- จากสถานการณ์การปลูกพืช GMOs เชิงการค้าทั่วโลกมีแนว โน้มเพิ่มขึ้น โดยพบว่าในปี 2549 มีประเทศปลูกพืช GMOs ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 22 ประเทศ และในปัจจุบันได้มีการปรับปรุง พัฒนาพืชดัดแปรพันธุกรรมอีกเป็นจำนวนมาก ด้วยการปรับปรุง ยีนใหม่ๆ เพื่อตัดต่อในพืช จึงทำให้ประเทศหลายประเทศได้ ออกกฎระเบียบการติด ฉลากพืชดัดแปรพันธุกรรม โดยเฉพาะ ในสหภาพยุโรป กำหนดให้ ต้องมีการตรวจสอบสินค้าย้อน กลับไปทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่การ ผลิตอาหารจนถึงการทดสอบระดับไร่นา และกำหนดให้สินค้าทุก ชนิดมีการปนเปื้อนพืช GMOs ไม่เกินร้อยละ 0.9นอกจากนี้ ญี่ปุ่นและเกาหลีออก ระเบียบปนเปื้อนพืช GMOs ไม่เกินร้อยละ 5% เป็นต้น และจากกฎระเบียบดังกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยต้องประสบปัญหา และ อุปสรรคในการส่งสินค้าเกษตรออก เนื่องจากประเทศผู้นำ เข้าใช้ มาตรการเกี่ยวกับมาตรฐานและสุขอนามัยเพื่อควบคุม มาตรฐานสินค้า และอาจแอบแฝงการกีดกันทางการค้าไว้ด้วย ดังนั้นสิ่งนี้ก็ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้ประกอบการส่งออก จึงมีความจำเป็นต้องนำ สินค้ามาตรวจสอบพืช GMOs เพื่อขอหนังสือ รับรอง
- ตรวจสอบเพื่อควบคุมพืชนำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืช โดยกรมวิชาการเกษตรได้ออกพระราชบัญญัติกักพืชเพื่อ ควบคุมพืชตัดต่อสารพันธุกรรมดังนี้
พระราชบัญญัติ กักพืช เรื่อง กำหนดพืชจากแหล่งที่ กำหนด เป็นสิ่งต้องห้ามข้อยกเว้นและเงื่อนไขตาม พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2542 ประกาศ ณ พ.ศ. 2543ได้กำหนดพืชตัดต่อสารพันธุกรรมเป็นสิ่งต้องห้าม จำนวน 40 ชนิด
ได้กำหนดพืชตัดต่อสารพันธุกรรมเป็นสิ่งต้องห้าม จำนวน 49 สกุล ซึ่งพืชต้องห้ามเหล่านี้ห้ามนำเข้า ปลูก ทำเป็น การค้า หรือ ครอบครอง ยกเว้นว่าได้รับอนุญาต เพื่อการ ทดลองหรือวิจัย ซึ่งต้องปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด
รูปแบบการออกหนังสือรับรอง
กรมวิชาการเกษตร ซึ่งต้องรับผิดชอบในเรื่องพืชนั้นได้ตระหนักและ เห็นความสำคัญของเรื่องนี้ จึงได้ ให้การรับรองสินค้าพืชปลอด GMOs ไว้ 4 แบบด้วยกันคือ
1. การออกหนังสือรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (Certificate of non-GM plant in Thailand)
ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องการรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ. 2543 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555 ประกาศให้รายชื่อพืชที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยจำนวน 157 ชนิด ตามประกาศแนบท้าย เช่น ข้าว พืชสมุนไพรไทย หรือผลไม้ไทย เป็นต้น เป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม โดยทางหน่วยงานก็จะออกหนังสือรับรองว่า “พืชที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม” โดยไม่ต้องนำตัวอย่างมาตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
2. การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (Test report)
ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม พ.ศ.2544 และ พ.ศ.2558 ผู้ใดประสงค์ให้กรมวิชาการเกษตรรับรองว่าพืชหรือสินค้าพืชนั้นมิใช่พืชที่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ให้ยื่นคำขอตามแบบ สทช.1-1/1 ในกรณีที่พืชนั้นไม่ได้อยู่ในรายชื่อ 157 ชนิด ซึ่งไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย หรือเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากพืช โดยการออกหนังสือรับรองต้องมีการตรวจวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 ซึ่งใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์ไม่เกิน 7-10 วันทำการ นับจากวันที่ห้องปฏิบัติการได้รับตัวอย่างพืชหรือสินค้าพืช
3. การออกหนังสือรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (Certificate for non-genetically modified organism)
ภายหลังจากการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม และทราบผลว่า “พืชหรือสินค้าพืชนั้นไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมแล้ว” ผู้ใดประสงค์ให้กรมวิชาการเกษตรรับรองว่าเป็นพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ให้ยื่นคำขอตามแบบ สทช.1-1/2 เพื่อออกหนังสือรับรองฯ
4. การออกหนังสือรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม สำหรับการส่งออกพืชและสินค้าพืชไปยังประเทศอินเดีย (Certificate for Non-GM Origin and GM-Free Status)
ภายหลังจากการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการเพื่อรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม และทราบผลว่า “พืชหรือสินค้าพืชนั้นไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมแล้ว” หรือ “ได้รับการออกหนังสือรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรมแล้ว” ผู้ใดประสงค์ให้กรมวิชาการเกษตรรับรองว่าพืชหรือสินค้าพืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม สำหรับการส่งออกพืชและสินค้าพืชไปยังประเทศอินเดีย ให้ยื่นคำขอตามแบบ สทช.1-1/3 เพื่อออกหนังสือรับรองฯ
การเตรียมการส่งตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์พืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ขั้นตอนการขอใบรับรองสินค้าพืช Non-GMOs
1. การยื่นขอใบรับรองการตรวจวิเคราะห์และออกใบรับรองสินค้าพืช Non-GMOs
ยื่นแบบ สทช. 1-1/1 และเอกสารอื่นถ้ามี พร้อมตัวอย่างสินค้า และชำระค่าธรรมเนียม
ตามอัตราที่กำหนด
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของตัวอย่าง และออกเลขที่รหัสตัวอย่าง
3. ชำระค่าธรรมเนียม (เงินสด) เจ้าหน้าที่สำเนาเอกสารคำขอ สทช 1-1/1 ให้ลูกค้า
4. เวลาในการตรวจวิเคราะห์ 7 วันทำการ ( Screening Test)
5. การรับเอกสารใบรับรองให้นำสำเนาเอกสารคำขอ สทช 1-1/1 /สำเนาใบเสร็จรับเงิน /
หรือแจ้งชื่อบริษัท หรือ รหัสตัวอย่าง
หมายเหตุ ผู้ประกอบการที่ไม่เคยยื่นคำขอ ต้องมีเอกสารแบบดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาใบสำคัญต่างด้าวของผู้ได้รับมอบอำนาจ
2. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่ผู้ยื่นคำขอหนังสือรับรองได้รับมอบอำนาจให้ยื่นคำขอหนังสือ
รับรอง
การตรวจวิเคราะห์พืชที่มิได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ให้กรอกรายละเอียด
หรือพิมพ์ใหม่ ตามแบบฟอร์มที่ส่งมานี้
(กรุณาพิมพ์ในแบบฟอร์ม สทช.1-1/1 และ สทช.1-1/2 ด้วยค่ะ)
หมายเหตุ ถ้าไม่สามารถโหลดแบบฟอร์มได้ สามารถพิมพ์ใหม่
ตามแบบฟอร์มที่แนบมานี้ได้เลยค่ะ หรือส่งเมล์ขอแบบฟอร์ม มาที่
Klangna_GMO@hotmail.com
gmolab@doa.in.th
การเตรียมการขอหนังสือรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยที่เป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
ขั้นตอนการขอใบรับรองสินค้าพืช Non-GMOs
การยื่นขอใบรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยที่เป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
- กรณีผู้ขอรับบริการใหม่ ดาวน์โหลด แบบฟอร์มขอลงทะเบียนออนไลน์ และ สทช. 1-2/1 และ สทช. 1-2/2 ส่งอีเมลล์มาที่ klangna_gmo@hotmail.com แล้วใช้รหัสที่ยื่นขอ login ผ่านระบบNSW (เข้าเว็บไซด์กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th ) กรอกข้อมูลพืชที่ต้องการขอใบรับรอง (ภาพประกอบ) นัดหมายรับใบรับรอง โทร 02-579-1534
- กรณีผู้ขอรับบริการที่มี login ระบบ NSW แล้ว ให้ยื่นคำขอ สทช. 1-2/1 และ สทช. 1-2/2 ส่งอีเมลล์มาที่ klangna_gmo@hotmail.com แล้ว login ผ่านระบบNSW (เข้าเว็บไซด์กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th ) กรอกข้อมูลพืชที่ต้องการขอใบรับรอง (ภาพประกอบ) นัดหมายรับใบรับรอง โทร 02-579-1534
- มารับเอกสารและชำระค่าธรรมเนียม (เงินสด) รายละเอียดตามเอกสารแนบ
หมายเหตุ ผู้ประกอบการที่ไม่เคยยื่นคำขอ ต้องมีเอกสารแบบดังนี้
1 สำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่รับมอบอำนาจและผู้มอบอำนาจ (กรณีไม่ได้มารับเอกสารด้วยตนเอง)
2 หนังสือมอบอำนาจ
3 บัตรประชาชนตัวจริง (กรณีที่มารับเอกสารด้วยตนเอง)
วิธีการชำระค่าบริการ
ให้ผู้ประกอบการ บริษัท ห้างร้าน และองค์กรต่างๆ เตรียมชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจวิเคราะห์/ ค่าหนังสือรับรองฯตามอัตราที่กรมวิชาการเกษตรกำหนด โดยมีช่องทางการชำระเงินดังนี้
1. ชำระเป็นเงินสด โดยสามารถมาชำระในวันที่นำส่งตัวอย่าง ณ ฝ่ายการเงินของกลุ่มวิจัยพัฒนาการตรวจสอบพืชและจุลินทรีย์ดัดแปรพันธุกรรม สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ กรมวิชาการเกษตร 50 พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
2. การชำระเงินผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Banking) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
2.1. ผู้รับบริการนำตัวอย่างเพื่อมาส่งทดสอบ พร้อมแบบฟอร์ม สทช.1-1/1 เมื่อรับตัวอย่างเสร็จสิ้นแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งค่าธรรมเนียมการชำระเงิน โดยส่ง QR Code ให้ทาง Email หรือทาง Application Line ของผู้รับบริการ
2.2. ผู้รับบริการสแกน QR Code และยืนยันการชำระเงิน จากนั้นให้ส่งหลักฐานการชำระเงินให้เจ้าหน้าที่ผ่านทาง Email หรือทาง Application Line
2.3. เจ้าหน้าที่ทำการออกใบเสร็จรับเงินให้ผู้รับบริการ
– ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง อัตราค่าตรวจ สอบวิเคราะห์พืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม
– ตัวอย่างหนังสือรับรองพืชหรือสินค้าพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (Non-GM)
– ตัวอย่างใบรายงานผลการทดสอบ (Test report)
– ตัวอย่างหนังสือรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (Certificate of non-GM plant in Thailand)
– ขั้นตอนการขอใบรับรองสินค้าพืช Certificate of Non-GMO (แสดงขั้นตอนอย่างง่าย)
– แบบฟอร์ม สทช. 1-1/1
– ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์ม สทช. 1-1/1 สำหรับ สวพ.1-8
– ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์ม สทช. 1-1/1 สำหรับ เอกชน
– แบบฟอร์ม สทช. 1-1/2
– ตัวอย่างการกรอกแบบฟอร์ม สทช. 1-1/2
– ขั้นตอนการขอใบรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (Non-GMO)
– แบบฟอร์มขอลงทะเบียนออนไลน์
– แบบฟอร์ม สทช. 1-2/1
– แบบฟอร์ม สทช. 1-2/2
– แบบฟอร์ม สทช. 1-1/3
– ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องรายชื่อพืชที่ปลูกในประเทศไทยที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม 2543
– ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่องการรับรองพืชที่ปลูกในประเทศไทยที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555