ประเด็น ถาม – ตอบ (Q & A) เกี่ยวกับการให้บริการรับตัวอย่างปุ๋ยเพื่อวิเคราะห์ของกลุ่มวิจัยเกษตรเคมี

 

  1. Q :    ขั้นตอนและวิธีการกรอกแบบฟอร์มใบนำส่งตัวอย่างปุ๋ยวิเคราะห์เพื่อการขึ้นทะเบียน (ออนไลน์)
    A :    สามารถกรอกใบนำส่งตัวอย่างปุ๋ยวิเคราะห์เพื่อการขึ้นทะเบียน ได้ที่ลิงค์ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfUfjV8r6U-Lg4i9hs_JTpNwwdzgqguQQdkFZS02i-hVo9cfA/viewform

  2. Q:    ปริมาณตัวอย่าง และลักษณะตัวอย่างที่นำมาส่งเพื่อการวิเคราะห์
    A:    1.) ปริมาณตัวอย่างที่รับวิเคราะห์ กรณีของแข็ง ไม่น้อยกว่า 700 กรัม และของเหลว ไม่น้อยกว่า 700 มล. หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการนำปุ๋ยหรือวัตถุที่สงสัยว่าเป็นปุ๋ยในปริมาณพอสมควรไปเป็นตัวอย่างเพื่อตรวจสอบหรือวิเคราะห์ ตามพระราชบัญญัติปุ๋ย พ.ศ. 2518 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 พ.ศ. 2554
            2.) ลักษณะตัวอย่างที่รับ ต้องไม่มีความผิดปกติ โดยบรรจุภายในถุงหรือขวดที่สามารถปิดสนิท ภาชนะไม่รั่ว ซึม หรือฉีกขาด ตัวอย่างมีลักษระเป็นเม็ด เกล็ด ผง ไม่ชื้น หรือจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง

  3. Q:   ช่องทางการส่งตัวอย่าง (ส่งทางไปรษณีย์ หรือมาส่งด้วยตนเอง)
    A:    ส่งตัวอย่างด้วยตนเอง ได้ที่งานบริการรับตัวอย่าง กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร เลขที่ 50 ถ. พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-5798600 ต่อ 102 หรือ 103

  4. Q:    รายการทดสอบ ควรเลือกรายการใด
    A:    1.) กรณีของแข็ง ควรเลือกรายการ pH MC และรายการตามสูตรปุ๋ย หรือตามความประสงค์ของลูกค้า
           2.) กรณีของเหลว ควรเลือกรายการ pH Sp.Gr. และรายการตามสูตรปุ๋ย หรือตามความประสงค์ของลูกค้า

  5. Q:    วัตถุส่วนประกอบปุ๋ย ควรกรอกอย่างไร
    A:    ควรกรอกรายละเอียด เช่น Urea, Ammonium sulfate, Monoammonium phosphate, Diammonium phosphate, Phosphoric acid เป็นต้น

  6. Q:    อัตราค่าวิเคราะห์
    A:    อัตราค่าวิเคราะห์ ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง อัตราค่าวิเคราะห์และทดสอบวัตถุตัวอย่าง พ.ศ. 2564

  7. Q:    วิธีการชำระเงินค่าวิเคราะห์ หรือช่องทางการชำระเงิน
    A:    ชำระเงินออนไลน์ ซึ่งสามารถโอนผ่าน Application ได้ทุกธนาคาร หรือสอบถามรายละเอียดด้วยตนเอง หรือที่เบอร์โทรศัพท์ 02-5798600 ต่อ 102 หรือ 103

  8. Q:    ระยะเวลาในการวิเคราะห์
    A:    การทดสอบในห้องปฏิบัติการจะใช้เวลาประมาณ 21-30 วันทำการ ทั้งนี้ขึ้นกับลักษณะของตัวอย่าง ไม่รวมในกรณี
           1. รายการทดสอบเกิน 7 รายการ/ตัวอย่าง
           2. วิเคราะห์ธาตุอาหารรอง-เสริม และ Fraction nitrogen
           3. เครื่องมือชำรุด
           4. มีปัญหาต้องตรวจสอบซ้ำ
           หากพ้นระยะเวลาดังกล่าวสามารถสอบถามถึงสาเหตุ และระยะเวลาแล้วเสร็จโดยประมาณ ได้ที่กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี

  9. Q:    ช่องทางสำหรับสอบถาม หรือติดตามผลวิเคราะห์
    A:    ตรวจสอบผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน ได้ที่ลิงค์ https://script.google.com/macros/s/AKfycbzXzdLRsIu2Svo8o6exgwBmFuQJQQCziRAMidut_A/exec
    หรือสอบถามด้วยตนเองได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-5798600 ต่อ 102 หรือ 103

  10. Q:  สามารถใช้บริการห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปุ๋ยอื่นได้หรือไม่
    A:  กรมวิชาการเกษตรได้กำหนดห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ปุ๋ยภาคเอกชนที่สามารถให้บริการวิเคราะห์เพื่อขึ้นทะเบียนหรือเพื่อรู้เพื่อทราบ ได้ที่ลิงค์ https://drive.google.com/drive/folders/1WfCMzudXOQeNF6c54j7wFaggn-Q5kBwg

  1.  

  1.  

  1.  

  1.  

  1.  

  1.  

  1.  

  1.  

  1.