ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน (ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580) มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ ประเด็นที่ 3 สร้างความ หลากหลายด้านการท่องเที่ยว โดยการรักษาการเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของการท่องเที่ยวระดับโลกที่ ดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับและเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง (สำนักงานเลขานุการของ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, ไม่ระบุปี) ซึ่งมีแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นการท่องเที่ยว ที่ให้ ความสำคัญกับการรักษาการเป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวระดับโลก จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง

          คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 อนุมัติให้มีการดำเนินโครงการไทยเที่ยวไทยและ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้มาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของ ระบบเศรษฐกิจและส่งเสริมการสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศระยะยาว ซึ่งกรมวิชาการเกษตรเป็น หน่วยงานหนึ่งที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยมีการคัดเลือกพื้นที่ของหน่วยงานในส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นสถานที่สวยงาม มีกิจกรรมทางการเกษตรที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับการท่องเที่ยว จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง ศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ศูนย์วิจัยพืชสวนหนองคาย และสถานีทดลองพืชสวนเพชรบุรี กรมวิชาการเกษตร ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่ง ประเทศไทยในการปรับปรุงสถานที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว จัดสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น สถานที่จอดรถ ถนน ห้องน้ำ ห้องอาหาร ศาลาชมวิว หรือศาลาพักผ่อน เป็นต้น (กรมวิชาการเกษตร, 2544)
          ภายหลัง กรมวิชาการเกษตรได้มีการอนุมัติเพิ่มเติม หน่วยงานที่ดำเนินโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตร อีกจำนวน 13 แห่ง โดยในปีงบประมาณ 2562-2567 มีหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการฯ รวม 25 แห่ง ได้แก่
1) ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย 2) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย 3) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ 4) ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) 5) ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่(แม่จอนหลวง)  6) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน  7) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ 8) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก 9) ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย 10) สถานีทดลองพืชสวนร่มเกล้า 11) ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ 12) ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย 13) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรหนองคาย 14) ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ 15) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจันทบุรี 16) ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี 17) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี 18) ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร 19) ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี 20) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ 21) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรภูเก็ต 22) ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง 23) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุดรธานี 24) ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา 25) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุโขทัย การดำเนินการโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เป็นโครงการ ที่สามารถช่วย ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้แก่เกษตรกร นักท่องเที่ยว และผู้สนใจทั่วไป ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านการเกษตรได้ง่ายขึ้น และเป็น การประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรเป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น

          สถาบันวิจัยพืชสวน เป็นหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตรมีบทบาทและภารกิจ ในการวางแผน ควบคุม ศึกษา ค้นคว้า วิจัย สำรวจและรวบรวมด้านพืชสวน ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย และเป็นหน่วยงานหลักของกรมวิชาการเกษตรที่กำกับดูแลโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตร จำนวน 25 ศูนย์ฯ