ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย 317 หมู่ที่ 3 บ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย



Previous slide
Next slide
Previous slide
Next slide

Edit Content

       ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย จังหวัดเชียงราย ได้ก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่างสถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กับโครงการพัฒนาที่สูง ไทย – เยอรมัน โดยสำนักงานเกษตรที่สูง   (นายดำเกิง ชาลีจันทร์  หัวหน้าสำนักงานการเกษตรที่สูงในขณะนั้น)  เพื่อค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับพันธุ์พืชและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่สูง  เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีการปลูกพืชแก่เกษตรกรบนพื้นที่สูง เพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาที่สูง ไทย – เยอรมัน ในการลดพื้นที่ การปลูกพืชเสพติดและการทำไร่เลื่อนลอย  ในเขตพื้นที่ตำบลวาวี  อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย  ทำการสำรวจพื้นที่เมื่อปลายปี  พ.ศ. 2527  เริ่มบุกเบิกพื้นที่เมื่อวันที่  2 มีนาคม พ.ศ. 2528  ณ บ้านดอยช้าง หมู่ที่ 3 ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย ใช้ชื่อว่า  “หน่วยทดลองเกษตรที่สูงวาวี” อยู่ภายใต้การบริหารงาน ของ สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง และต่อมาในปี  พ.ศ. 2529  จึงได้จัดตั้งเป็นทาง การใช้ชื่อว่า   “สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี”  อยู่ภายใต้การบริหารงานของ   สำนักงานการเกษตรที่สูง  ในขณะนั้นปัจจุบัน คือ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จนถึงปี  พ.ศ. 2543  ต่อมาได้ย้ายอยู่ภายใต้การบริหารงานของศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย  สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต่อมาตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม วันที่  4 ตุลาคม พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  พ.ศ. 2545 สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี ได้ปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย 2  จังหวัดเชียงราย  สังกัดสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1  ปี พ.ศ. 2552 กรมวิชาการเกษตรได้มีคำสั่งปรับปรุงหน่วยงานและระบบงานภายในกรมวิชาการเกษตร และให้ข้าราชการปฏิบัติงาน ได้ปรับ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย เป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย  สังกัด สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร  เขตที่ 1  จนถึงปัจจุบัน

Edit Content

  • จากอำเภอเมืองเชียงราย วิ่งไปตามทางหลวง หมายเลข 1211 ถนนเด่นห้า-ดงมะดะ ผ่านสี่แยกเด่นห้า ผ่านหน้าไร่บุญรอด จนถึงกิโลเมตร 21 หมู่บ้านห้วยส้านพลับพลา ถึงสามแยกทางเข้า เลี้ยวขวาตรง ไปตามถนนราดยางประมาณ 4 กิโลเมตร ผ่านอ่างเก็บน้ำบ้าน ห้วยส้าน ทางเริ่มขึ้นเขาลาดชันไปตามถนนคอนกรีตเสริมเหล็กอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ผ่านบ้านห้วยส้านลีซอ แล้วเข้าเขตศูนย์วิจัยและ พัฒนาเกษตรที่สูงเชียงราย รวมระยะทาง 37 กิโลเมตรใช้ เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง
  • จากอำเภอเมืองเชียงราย วิ่งมาบนทางหลวง หมายเลข 1 ประมาณ 22 กิโลเมตร ถึงสามแยกปากทางแม่สรวย เลี้ยวขวาทางไปอำเภอแม่สรวย ตามทางหลวงหมายเลข 118 ประมาณ 28 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านตีนดอยเลี้ยวขวาไปตามทางลาดชันประมาณ 5 กิโลเมตร ถึงทางแยกแล้วเลี้ยวขวาผ่านบ้านแสนเจริญ บ้านดอยล้านแล้ว ถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงเชียงราย รวมระยะทาง 74 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
  • จากอำเภอเมืองเชียงราย วิ่งมาบนทางหลวง หมายเลข 1 ประมาณ 22 กิโลเมตร ถึงสามแยกปากทางแม่สรวย เลี้ยวขวา ไปอำเภอแม่สรวย ตามทางหลวงหมายเลข 118 ประมาณ 28 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านตีนดอยเลี้ยวขวาตรงไปเส้นทางขึ้นดอยวาวี ประมาณ 23 กิโลเมตรถึงหมู่บ้านห้วยไคร้เลี้ยวขวาเข้าบ้านดอยช้าง ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรเป็นถนนคอนกรีตถึงภายในศูนย์ฯ รวมระยะทางเส้นทางนี้ประมาณ 83 กิโลเมตร

Edit Content

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย
ที่อยู่: 317 หมู่ที่ 3 บ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
โทร. 0-5316-0812, 0-5360-2751
โทรสาร. 0-5316-0813
โทรศัพท์มือถือ 093-2799361
Website: https://www.doa.go.th/hc/wawee/
Id line:kasetdoichang หรือเบอร์โทร 0932799361
E-mail : wawee.doa@doa.in.th

ร้านค้าและผลิตภัณฑ์แปรรูป

















ปฏิทินท่องเที่ยวประจำปี

  • เดือนมกราคม – กุมภาพันธ์
    อากาศหนาวเย็น ไม้ดอกเมืองหนาวบานสะพรั่ง ซากุระบาน(นางพญาเสื่อโคร่ง) ท้อ บ๊วย สาลี่เริ่ม แทงช่อดอก มะคาเดเมียออกดอก เก็บผลผลิตและแปรรูปกาแฟอาราบิก้า
  • เดือนมีนาคม – เมษายน
    อากาศเย็นสบาย ดอกว่านสี่ทิศหลากสีสันเบ่งบาน เสี้ยวดอยออกดอกสีขาว ทองหลางป่าดอกแดง บานสะพรั่ง กาแฟอาราบิก้าออกดอก
  • เดือนพฤษภาคม
    เริ่มเข้าฤดูฝน สาลี่และลูกพลับกำลังติดผล สภาพพื้นที่มีความเขียวชะอุ่มร่มรื่น
  • เดือนมิถุนายน – ตุลาคม
    ฝนตกชุก เก็บผลผลิตพลับ และมะคาเดเมียนัททำการแปรรูปมะคาเดเมียนัท
  • เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม
    อากาศหนาวเย็นต้นซากุระและไม้ผลเมืองหนาวเริ่มฟอร์มช่อดอก ไม้ดอกเมืองหนาวเริ่มออกดอก เก็บผลผลิตและแปรรูปกาแฟอาราบิก้า

ที่พักและสิ่งอำนวยความสะดวก งานบริการ ห้องพัก

  • บ้านพักรับรอง บ้านเอเฟรม พักได้ 2 คน มีจำนวน 5 หลังๆละ 600 บาท/ คืน
  • บ้านพักรวม บ้านเอใหญ่ พักได้ 17 คน มีจำนวน 1 หลัง ค่าบริการ 150 บาท/คน/คืน
  • บ้านพักรวม บ้านศิลาหม่นพักได้ 20 คน มีจำนวน 1 หลัง ค่าบริการ 150 บาท/คน/คืน
  • บ้านพักรวม บ้านเสนาะวาริน พักได้ 30 คน มีจำนวน 1 หลัง ค่าบริการ 150 บาท/คน/คืน
  • บ้านพักรับรอง บ้านทัศนดารา พักได้ 7 คน มีจำนวน 1 หลัง ค่าบริการ 2,500 บาท/หลัง/คืน
  • ค่าบำรุงสถานที่กางเต็นท์หลังละ 200 บาท/หลัง/คืน (กรณีนำเต้นท์มากางเอง)

บ้านศิลาหม่น (บ้านหิน)

ลักษณะบ้านพัก
ชั้นบน
ห้องที่ 1
ห้องที่ 2,3
ห้องน้ำ
ห้องน้ำในตัว
  • พักได้ 20 คน
    ห้องที่ 1 ชั้นล่างเตียงเดี่ยวนอนได้ 2 ท่าน
    ชั้นบน นอนได้ 14 ท่าน
    ห้องที่ 2,3 ชั้นล่างเตียงคู่ นอนได้ 2 ท่าน
  • ห้องน้ำ มีในตัวบ้านทั้งหมด 4 ห้อง
    ชักโครก 2 ห้อง
    นั่งยอง 2 ห้อง

ค่าบริการ 150.- บาท/คน/คืน

บ้านเสนาะวาริน (บ้านริมห้วย)

79549_0
41447_0
ชั้นบน
ชั้นล่าง
ห้องที่ 1-6
ห้องน้ำ
  • พักได้ทั้งหมด 30 คน
    ชั้นบน นอนได้ 20 ท่าน
    ชั้นล่างมีทั้งหมด 5 ห้องๆละ 2 ท่าน
    ห้องที่ 1-5 ชั้นล่าง เตียงเดี่ยวนอนได้ห้องละ 2 ท่าน
  • ห้องน้ำในตัวบ้าน จำนวน 2 ห้อง
  • ห้องน้ำหลังบ้าน จำนวน 4 ห้อง

ค่าบริการ 150.- บาท/คน/คืน

บ้านทัศนดารา (บ้านสีฟ้า)

79553_0
ลักษณะในบ้านพักด้านหน้า
ลักษณะในบ้านพักด้านหน้า1
บ้านพักด้านหน้า
ห้องพักด้านหน้าห้องที่ 1
ห้องพักด้านหน้าห้องที่ 2
ห้องน้ำในตัวบ้าน
ห้องพักด้านหน้าห้องที่ 3
  • พักได้ทั้งหมด 7 คน
    บ้านพักด้านหน้า ห้องที่ 1,2,3 ห้องๆละ 2 ท่าน
  • ห้องน้ำในตัวบ้าน 1 ห้องนอกบ้าน 1 ห้อง

ค่าบริการ หลังละ 2,500.-บาท/คืน

บ้านทัศนดารา (บ้านสีฟ้า)
ด้านหลัง

Picture1
Picture2
Picture3
Picture4
Picture5
  • พักได้ทั้งหมด 6 คน
    ห้องพักด้านหลัง นอนได้ทั้งหมด 6 ท่าน
  • ห้องน้ำด้านหลัง จำนวน 1 ห้อง พร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น

ค่าบริการ 150.- บาท/คน/คืน

บ้านวิมานเมฆ (บ้านเอใหญ่)

messageImage_1694504368921
บ้านพักชั้นบน
บ้านพักชั้นล่าง
ห้องน้ำนอกตัวบ้าน
ห้องน้ำในบ้านพัก
  • พักได้ทั้งหมด 17 คน
    บ้านพักชั้นล่าง พักได้จำนวน 5 ท่าน
    บ้านพักชั้นบน พักได้จำนวน 12 ท่าน
  • ห้องน้ำในบ้านพัก จำนวน 1 ห้อง
    ห้องน้ำนอกตัวบ้าน จำนวน 3 ห้อง

ค่าบริการ 150.- บาท/คน/คืน

บ้านเอเฟรม (A1-A5)

79547_0
79546_0
บ้านหลังที่ 1 2 3
บ้านหลังที่ 4 5
79653_0
79652_0
79647_0
79648_0
79649_0
79650_0
79651_0
79646_0
79541_0
79540_0
79542_0
ของใช้ในบ้าน
ห้องน้ำในตัวบ้าน
79545_0
79543_0
79544_0
79548_0
  • พักได้หลังละ 2 คน
  • มี 5 หลัง
  • ประเภทเตียง
    บ้านหลังที่ 1,2,3 เตียงคู่
    บ้านหลังที่ 4,5 เตียงเดี่ยว
  • ของใช้ในบ้านมีกระติกน้ำร้อน น้ำดื่ม 2 ขวด/ห้อง ชาจีน ผ้าเช็ดตัว 2 ผืน/ห้อง ห้องน้ำมีในตัวบ้าน

ค่าบริการ หลังละ 600.- บาท/คืน

ห้องประชุม

Picture6
Picture7
Picture8
Picture9

1.ห้องประชุมบรรจุคนได้ไม่เกิน 20 คน
(เครื่องเสียงพร้อมไมโครโฟน ตั้งโต๊ะและไมโครโฟนไร้สาย โทรทัศน์ขนาด 50 นิ้ว น้ำดื่มท่านละ 1 ขวด) ห้องประชุมเล็ก อาคารอเนกประสงค์ ราคา 2,000 บาท/วัน

2. ห้องประชุมบรรจุคนได้ 20 – 100 คน
(เครื่องเสียงพร้อม ไมโครโฟนตั้งโต๊ะและไมโครโฟนไร้สาย จอโปรเจคเตอร์ ขนาด 70×70 นิ้ว น้ำดื่มท่านละ 1 ขวด) ราคา 2,500 บาท/วัน

ติดต่อสอบถาม

ติดต่อสอบถาม
โทร.053-160812 / 053-602751 (จันทร์-ศุกร์)
โทรศัพท์มือถือ 093-2799361
(วันหยุดเสาร์-อาทิตย์-วันหยุดนักขัตฤกษ์)
โทรสาร.053-160813
Line id: kasetdoichang หรือ 0932799361
Email ศูนย์ฯ wawee.doa@doa.in.th

สถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง ดอยช้าง 2566 อัพเดท 15 ที่เที่ยว จุดเช็คอินเด็ด

  • Akha FarmVille อาข่า ฟาร์มวิลล์ ฟาร์มแกะที่วิวสวยสุดๆ
  • จุดชมวิว กม. 5 + 475 เป็นอีกหนึ่งจุดชมวิวยอดฮิตบนดอยช้าง
  • Miyo coffee & bar คาเฟ่สุดฮอตบนดอยช้าง
  • The BC2 คาเฟ่วิวขุนเขาในบ้านไม้แสนอบอุ่นใหญ่โต
  • Abonzo paradis อะบอนโซ พาราไดซ์ คาเฟ่สไตล์ญี่ปุ่นที่ผสมผสานกับความเป็นมินิมอล
  • Triple a coffee คาเฟ่สีขาวบนเนินเขา ที่สามารถมองเห็นวิวของหมู่บ้านดอยช้าง
  • Mr black กาแฟหลักสิบ ได้ชมวิวหลักร้อย
  • Abu Farm Coffee สายชอบกาแฟดริป
  • The Cloud คาเฟ่ดอยช้าง
  • U Garden คาเฟ่โทนสีขาวครีมแบบมินิมอล
  • JADAE House -IRONDark Cafe จาแดเฮ้าส์ เป็นทั้งที่พักและมี คาเฟ่ดอยช้าง
  • ยาโยฟาร์ม คาเฟ่วิววิวสวย กาแฟดี อาหารและเบอเกอรี่อร่อย ร้านตกแต่งในโทนสีดำเรียบหรู
  • My storyที่พักดอยช้างและคาเฟ่ดอยช้างสวยจริงวิวเต็มร้อย
  • Tramont ที่พักในสไตล์มินิมอลถูกใจสายชิค สายชิล

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุดวันที่ 1 ธันวาคม 2566