ทางเลือกการปลูกพืชแซมยาง พืชร่วมยาง และกิจกรรมเสริมรายได้ของชาวสวนยาง
ทางเลือกการปลูกพืชแซมยาง พืชร่วมยาง และกิจกรรมเสริมรายได้ของชาวสวนยาง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีคำแนะนำพื้นฐานดังนี้
ในสถานการณ์ที่ยางพารามีราคาตกต่ำ ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก นอกเหนือจากมาตรการการช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนของรัฐบาลแล้ว การช่วยตนเองของชาวสวนยางในการปลูกพืชเสริมรายได้และทำอาชีพเสริมอื่นๆ จะช่วยให้เกษตรกรมี รายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ทั้งนี้หน่วยงานกรมวิชาการเกษตร ทั้งในส่วนกลางและศูนย์วิจัยใน ภูมิภาคจะให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการ ในรูปแบบเอกสาร การให้คำปรึกษาแนะนำ ตลอดจนจัด ให้มีศูนย์เรียนรู้สำหรับการศึกษาดูงานในพื้นที่จังหวัดต่างๆที่ศูนย์วิจัยตั้งอยู่ โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ ภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางสำคัญของประเทศไทย
หลักในการปลูกพืชแซมยาง พืชร่วมยาง และกิจกรรมเสริมรายได้ ของชาวสวนยาง เกษตรกรจะต้องพิจารณาความเหมาะสมของชนิดพืชโดยเฉพาะในประเด็นของการเจริญเติบโต ในสภาพร่มเงา ตลอดจนวิธีการปลูกพืชร่วมกับยางโดยไม่ให้มีผลกระทบที่จะสร้างความเสียหายกับ การเจริญเติบโตของยาง
ซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยพบว่ามีชนิดพืชที่เหมาะสมหลายชนิด โดยสรุปมีดังนี้
1.1 การปลูกพืชแซมยาง พืชแซมยางในระยะก่อนยางให้ผลผลิต คือ ในช่วง 3 ปี แรก สามารถปลูกพืชแซมยางได้หลาย ชนิด ได้แก่
1.1.1 พืชล้มลุกและเป็นพืชอายุสั้น เช่น สับปะรด ข้าวโพด ข้าวไร่ ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วหรั่ง ถั่วเหลือง แตงโม และ พืชผักต่างๆ เป็นต้น โดยพืชเหล่านี้ควรปลูกห่างแถวยางประมาณ 1 เมตร
1.1.2 กล้วย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง และมะละกอ ควรปลูกแถวเดียว บริเวณกึ่งกลางระหว่างแถวยาง
1.1.3 หญ้าอาหารสัตว์ เช่น หญ้ารูซี่ หญ้ากินนีสีม่วง หญ้าขน ควรปลูกห่างแถวยางประมาณ 1.5 – 2 เมตร หญ้าอาหารสัตว์ชนิดอื่นๆจะไม่แนะน าให้ปลูกแซมยางเพราะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ของต้นยาง
1.1.4 มันส าปะหลัง ควรปลูกในปีที่ 2 หรือปีที่ 3 โดยปลูกห่างแถวยางด้านละ 2 เมตร และ ไถตัด รากมันส าปะหลังปีละครั้ง ห่างจากแถวมันส าปะหลัง 50 เซนติเมตร เพื่อป้องกันระบบรากมัน สำปะหลังเข้ามาอยู่ในแถวของต้นยาง
1.1.5 อ้อยคั้นน้ำ ควรปลูกระหว่างแถวยาง ให้ห่างแถวยาง 2.2 เมตร ปลูกครั้งเดียวไว้ตอ 2 ครั้ง เก็บ เกี่ยว 3 ครั้ง ในเวลา 3 ปี ไม่แนะนำให้ปลูกอ้อยอุตสาหกรรมแซมยางในเขตแห้งแล้งและในพื้นที่ที่มี ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ซึ่งอาจจะทำให้มีปัญหาด้านไฟไหม้ตามมา
1.2 การปลูกพืชร่วมยาง พืชร่วมยาง คือพืชที่ปลูกเพื่อให้ผลผลิตพร้อมๆกับยาง ซึ่งจะเป็นพืชที่สามารถขึ้นได้ดีในสภาพ ร่มเงา มีดังนี้
1.2.1 พืชร่วมยางที่สามารถเจริญเติบโตได้ภายใต้ร่มเงาของยาง เมื่อต้นยางมีอายุ 3 ปีขึ้นไป เช่น ขิง ข่า ขมิ้น ผักพื้นบ้าน และพืชสมุนไพรบางชนิด โดยปลูกระหว่างแถว ห่างแถวยาง 1.5 เมตร
1.2.2 พืชร่วมยางที่ทนต่อสภาพร่มเงาของต้นยาง เมื่อต้นยางมีอายุประมาณ 10 ปี ซึ่งมีแสงร าไร เพียงพอและมีฝนตกชุก จะเหมาะสมต่อการปลูกไม้ดอกสกุลหน้าวัว ไม้ดอกวงศ์ขิง เช่น ขิงแดง ดาหลา หงส์เหิน กระเจียวพังงา กระเจียวส้ม และบัว ไม้ดอกสกุลเฮลิโกเนีย และไม้ประดับบางชนิด โดยปลูกระหว่างแถวยาง ห่างแถวยาง 1.5-1.7 เมตร
1.2.3 พืชร่วมยางที่ทนต่อสภาพร่มเงาของต้นยางที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ได้แก่ พืชสกุลระกำ เช่น ระกำ หวาน สละเนินวง สละหม้อ สละอินโด หวายตะค้าทอง กระวาน โดยปลูกกึ่งกลางแถวยาง สำหรับหวายตะค้า ทองอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในสวนยาง แนะนำให้ปลูกเป็นพืชเสริมรายได้ก่อนการโค่นยาง
1.2.4 การปลูกไม้ป่าในสวนยาง มีไม้ป่าบางชนิดที่ทนต่อสภาพร่มเงาของต้นยางขนาดใหญ่ โดยปลูก ผสมผสานกึ่งกลางระหว่างแถวยางและทดแทนการปลูกซ่อมต้นยาง เช่น ในสวนยางทางภาคใต้ ได้แก่ กระถินเทพา กระถินณรงค์ สะเดาเทียม ทัง พะยอม มะฮอกกานี เคี่ยม ตะเคียนทอง ยางนา ยมหิน และต าเสา ในสวนยางทางภาคตะวันออก ได้แก่ กระถินเทพา กระถินณรงค์ สะเดาไทย ยมหอม ตะเคียนทอง ยมหิน ยางน าแดง และประดู่ป่า และในสวนยางทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ กระถินเทพา กระถินณรงค์ สะเดาไทย ยางนา ตะเคียนทอง ยมหิน พะยูง สาธร และประดู่ป่า
1.3 การประกอบอาชีพเสริมรายได้อื่นๆของชาวสวนยาง อาชีพเสริมอื่นๆที่เหมาะกับชาวสวนยาง เช่น การเพาะเห็ดฟางทะลายปาล์มในสวนยาง การ เลี้ยงผึ้ง
ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพื้นที่ยางบางส่วนเพื่อปลูกพืชอื่นๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน กล้วย กาแฟ และพืชอื่นๆ
ทั้งนี้การเลือกปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งจะต้องคำนึงถึง การตลาดในพื้นที่ สภาพพื้นที่ รอบ ระยะเวลาการให้ผลตอบแทน เช่น มีรายได้เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี
และในแต่ละชุมชนควรมีการรวมกลุ่มผลิตพืชที่มีคุณภาพดี มีเอกลักษณ์ และกำลังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค
อย่างไรก็ตามในระยะยาวเกษตรกรชาวสวนยางไม่ควรพึ่งพารายได้จากยางเพียงอย่างเดียว ซึ่ง จากบทเรียนด้านราคายางที่ตกต่ำหลายๆครั้งที่ผ่านมา ทำให้เกษตรกรควรมีการทบทวนการวาง แผนการการปลูกพืชเพื่อสร้างรายได้รวมของครัวเรือนใหม่ โดยให้มีการกระจายรายได้ไปยังกิจกรรม ต่างๆ เช่น การทำการเกษตรแบบผสมผสาน ที่มีการพึ่งพารายได้จาก ยาง พืชแซมพืชร่วมยาง ไม้ ผลไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ ปศุสัตว์และประมง เป็นต้น
ทั้งนี้โดยน้อมนำพระราชด าริหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้เกิดความพอเพียงและสร้างภูมิคุ้มกันเมื่อต้องพบกับปัญหาราคายางตกต่ำ
บทความโดย ธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่(ภาคใต้ตอนล่าง)