คำแนะนำในการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของกล้วยหิน

คำแนะนำในการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของกล้วยหิน

โรคเหี่ยวของกล้วยหินเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการของโรค ใบธง (ใบอ่อน) แสดงอาการเหี่ยว ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ต่อมาใบอื่นๆแสดงอาการเหี่ยวเปลี่ยนเป็นเหลือง เมื่อตัดดูลักษณะภายในลำต้นเทียมจะเห็นท่อน้ำท่ออาหารเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล ปลีกล้วยแคระแกร็นและหากติดผลเนื้อภายในจะเป็นสีดำ ถ้ารุนแรงมากยืนต้นตาย  ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ แบคทีเรียเข้าทำลายและอาศัยอยู่ในท่อน้ำท่ออาหารของกล้วย ทำให้ต้นกล้วยแสดงอาการของโรคเหี่ยว แบคทีเรียชนิดนี้เป็นเชื้อโรคทางดินสามารถอาศัยอยู่ในดินได้นาน 14 เดือน สามารถแพร่ระบาดได้โดยติดไปกับหน่อกล้วยหินที่มาจากที่เป็นโรค  ดินปลูกที่ติดไปกับหน่อกล้วยอุปกรณ์ทางการเกษตรหรือยานพาหนะ ที่สำคัญติดไปโดยการใช้มีดตัดเครือกล้วยหรือใบกล้วยของต้นที่เป็นโรคแล้วไปตัดต้นอื่นที่ไม่เป็นโรคทำให้เกิดการระบาด นอกจากนี้ต้นกล้วยที่เป็นโรคเหี่ยวและมีเครือกล้วยที่แสดงอาการรุนแรงจนเครือกล้วยเน่ามีแมลงมาตอมทำให้เชื้อแบคทีเรียติดไปกับขาของแมลง  เมื่อแมลงไปตอมเครือกล้วยของต้นปกติ ทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ หากเป็นโรคต้องทำลายให้หมดไปจากแปลง  โรคนี้ไม่มีสารเคมีในการป้องกันกำจัด

 

  1. การกำจัดโรคเหี่ยวในกล้วยหินที่เกิดจากแบคทีเรีย
    • ทำลายกอกล้วยหินที่เป็นโรค โดยการฉีดด้วยยากำจัดวัชพืช เช่น ไกลโฟเสท อัตรา 500ซีซี

น้ำ 20 ลิตร ฉีดเข้าต้นกล้วยทุกต้นในกอ จำนวน 3 ด้านต่อต้น ด้านละประมาณ 20 ซีซี ประมาณ10-15 วัน ต้นกล้วยจะตาย ห้ามเคลื่อนย้ายต้นกล้วยที่เป็นโรคออกนอกบริเวณ

  • จากนั้น โรยปูนขาวประมาณ 5 กิโลกรัมต่อกอ ตรงบริเวณโคนและรอบรากต้นกล้วยที่เป็น

โรคทำให้บริเวณโดยรอบรากและโคนต้นกล้วยมีความเป็นด่างเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดิน

  • ต้นกล้วยที่เป็นโรคหากมีปลีหรือเครือกล้วยให้ใช้ถุงพลาสติกคลุมเพื่อป้องกันแมลงที่จะมา

สัมผัสเชื้อและยับยั้งการแพร่กระจายโรคไปสู่ต้นอื่น

  • หลังจากฉีดด้วยยากำจัดวัชพืชแล้ว 15 วัน เพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น ให้สับต้นกล้วยที่จาย

เป็นท่อน ใช้จุลินทรีย์ พ.ด.1 ที่ผสมกากน้ำตาลอัตราแนะนำ รดลงบนต้นกล้วยที่สับไว้ ทิ้งให้ย่อยสลายเป็นเวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ห้ามนำต้นกล้วยย่อยสลายแล้วไปเป็นปุ๋ย

  • ทำการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในดินอีกครั้ง โดยสับกอกล้วยที่ย่อยสลายแล้วกับดินบริเวณรอบกอ

กล้วย ใช้ยูเรียอัตรา 0.5 กิโลกรัมผสมกับปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อกอ โดยส่วนผสมทั่วกอกล้วย กลบดินบริเวณกอกล้วยให้แน่น รดด้วยน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เพื่อให้ยูเรียและปูนขาวเมื่อได้ความชื้นแตกตัวเป็นแก๊สพิษฆ่าแบคทีเรีย เมื่อครบกำหนดใช้จอบสับดินให้แก๊สพิษที่อยู่ในดินฟุ้งออกมา ทำการปลูกพืชตามปกติ

**จากการถ่ายทอดคำแนะนำการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของกล้วยหิน กรมส่งเสริมการเกษตร

ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร โดยกองส่งเสริมการอารักขาพืชและการจัดการดินปุ๋ย ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดสงขลา ได้นำคำแนะนำไปดำเนินการป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวของกล้วยหินในแปลงเกษตรกร ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลาจากการดำเนินการฉีดสารกำจัดวัชพืชไกลโฟเสท อัตรา 500 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร ฉีดเข้าต้นกล้วย จำนวน 3 ด้านต่อต้น ด้านละ 10 ซีซี พบว่าต้นกล้วยหินไม่ตาย จึงแนะนำให้เพิ่มอัตราของสารกำจัดวัชพืชเป็น 1,000 ซีซี/ น้ำ 20 ลิตร ฉีดเข้าต้นกล้วย จำนวน 3 ด้านต่อต้น ด้านละ 20 ซีซี พบว่าภายใน 7-14 วัน ต้นกล้วยหินเริ่มตาย  จากนั้นใช้มีดฟันต้นให้ล้ม จากนั้นใช้ พ.ด.1 จำนวน 1 ซอง/น้ำ 20 ลิตร/ กล้วยหิน 1 กอ เพื่อเร่งการย่อย จากการสำรวจพื้นที่พบว่าพื้นที่เป็นเขามีหินเป็นจำนวนมากไม่สามารถย่อยดินเพื่อฆ่าเชื้อ ด้วยยูเรียผสมปูนขาวได้ จึงได้แนะนำให้ใช้เพียงปูนขาวอย่างเดียวเพื่อปรับ pH ดินให้เป็นด่างจัดสำหรับฆ่าเชื้อในดินแทน และได้มาขอรับชีวภัณฑ์บาซิลัสซับทีลิส สายพันธุ์ BS-DOA 24 เพื่อนำไปป้องกันกำจัดกล้วยหินในแปลงที่ยังมีต้นที่ไม่เป็นโรคเพื่อใช้ในการป้องกัน

  • ทำความสะอาดเตร่องมือ และอุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น มีดตัดผลกล้วย จอบ เสียม

รองเท้า เป็นต้น โดยใช้น้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ อัตรา 250 มิลลิลิตรผสมน้ำ 3 ลิตร หรือ ปูนคลอรีน 100 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ใส่ในขวดสเปรย์ (ขวดฟอกกี่) ฉีดล้างอุปกรณ์ทางการเกษตร

  • ห้ามเกษตรกรเดินจากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นที่ไม่เป็นโรคหากต้องเดินไปที่ต้นเป็นโรคควร

เปลี่ยนรองเท้าเนื่องจากดินที่มีเชื้อแบคทีเรียอาจติดไปกับรองเท้าไปยังต้นที่ไม่เป็นโรคทำให้เกิดการระบาดและต้องทำความสะอาดรองเท้า ตามข้อที่ 1.6 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากดินที่ติดรองเท้า

  1. การดูแลป้องกันต้นกล้วยที่ยังไม่เป็นโรคแต่อยู่ในแปลงที่มีต้นกล้วยเป็นโรค

แปลงที่มีต้นกล้วยที่เป็นโรคเหี่ยวอยู่นั้น จะมีเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคอยู่ในดิน การที่พบต้นกล้วยที่ยังไม่แสดงอาการของโรคไม่ได้หมายถึงต้นนั้นไม่เป็นโรค แต่อาจจะมีปริมาณเชื้อในต้นยังไม่มากพอที่จะแสดงอาการเมื่อถึงระยะออกผล ต้นกล้วยจะแสดงอาการของโรคออกมาเนื่องจากต้นกล้วยอ่อนแอลง ทำให้การป้องกันกำจัดไม่ได้ผล จะได้ผลต่อเมื่อต้นกล้วยนั้นยังไม่ถูกแบคทีเรียเข้าทำลาย โดย

2.1  ใช้ชีวภัณฑ์บาซิลัสซับทีลิส สายพันธุ์ BS-DOA 24 ของกรมวิชาการเกษตรที่มีการพัฒนา

มาเพื่อป้องกันกำจัดโรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อัตรา 25 กรัม ผสมน้ำ 10 ลิตรต่อกอ รดให้ทั่วรอบต้นทุก 30 วัน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหี่ยว

2.2 ทำความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น มีดตัดผลกล้วย จอบ เสียม

รองเท้า เป็นต้น โดยใช้น้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ อัตรา 250 มิลลิลิตรผสมน้ำ 3 ลิตร หรือ ปูนคลอรีน 100 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ใส่ในขวดสเปรย์ (ขวดฟอกกี่) ฉีดล้างอุปกรณ์ทางการเกษตร

2.3 ห้ามเกษตรกรเดินจากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นที่ไม่เป็นโรคหากต้องเดินไปที่ต้นเป็นโรคควร

เปลี่ยนรองเท้าเนื่องจากดินที่มีเชื้อแบคทีเรียอาจติดไปกับรองเท้าไปยังต้นที่ไม่เป็นโรคทำให้เกิดการระบาดและต้องทำความสะอาดรองเท้า ตามข้อที่ 2.2 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากดินที่ติดรองเท้า

2.4 ห้ามใช้หน่อกล้วยจากแปลงเป็นโรคเป็นหน่อพันธุ์

  1. การปลูกต้นกล้วยใหม่

3.1 ใช้หน่อกล้วยสะอาดที่ผ่านการตรวจเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคเหี่ยว

3.2 หลังปลูกหน่อกล้วย รดด้วยชีวภัณฑ์บาซิลัสซับทีลิส สายพันธุ์ BS-DOA 24 อัตรา 50 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วรอบต้นและรดซ้ำทุก 30 วัน

3.3 สำรวจแปลงปลูกเพื่อตรวจโรคอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรคให้รีบกำจัดออกจากแปลงทันทีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

3.4 ทำความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น มีดตัดผลกล้วย จอบ เสียม รองเท้า เป็นต้น โดยใช้น้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ อัตรา 250 มิลลิลิตรผสมน้ำ 3 ลิตร หรือ ปูนคลอรีน 100 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ใส่ในขวดสเปรย์ (ขวดฟอกกี่) ฉีดล้างอุปกรณ์ทางการเกษตร

3.5 ห้ามเกษตรกรเดินจากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นที่ไม่เป็นโรคหากต้องเดินไปที่ต้นเป็นโรคควรเปลี่ยนรองเท้าเนื่องจากดินที่มีเชื้อแบคทีเรียอาจติดไปกับรองเท้าไปยังต้นที่ไม่เป็นโรคทำให้เกิดการระบาดและต้องทำความสะอาดรองเท้า ตามข้อที่ 3.4 เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากดินที่ติดรองเท้า