- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ เป็นหน่วยงานในสังกัด สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เริ่มก่อตั้งเป็นโครงการสถานีทดลองพืชสวนแพร่ ในวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๒ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
- เป็นแปลงทดลองและผลิตพันธุ์ไม้ผลพันธุ์ดี ตามโครงการเร่งรัดการปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น
- เป็นการกระจายรายได้สู่ราษฎรในเขตภาคเหนือ
- เป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้เกษตรกร เพื่อป้องกันการบุกรุกทำลายป่า
- เป็นแหล่งผลิตพันธุ์ไม้ผล พันธุ์ดี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการทำสวน ผลไม้ พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ แก่เกษตรกรจังหวัดแพร่ และจังหวัดใกล้เคียง
วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๖
โครงการสถานีทดลองพืชสวนแพร่ ได้รับความเห็นชอบจาก กรมวิชาการเกษตรให้จัดตั้งเป็นสถานีทดลองพืชสวนแพร่
วันที่ ๑๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๒
กรมวิชาการเกษตรยกฐานะจากสถานีทดลองพืชสวนแพร่ เป็นศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่
วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒
กรมวิชาการเกษตรได้ปรับเปลี่ยนชื่อหน่วยงานจากศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่ เป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ตามคำสั่งกรมวิชาการเกษตร ที่ 360/2552
สถานที่ตั้ง :
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๐๕ หมู่ที่ ๕ ตำบลวังหงส์ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
สภาพพื้นที่ :
อยู่ในบริเวณป่าสงวนแห่งชาติห้วยเบี้ย อยู่ห่างจากตัวกลางจังหวัดแพร่ ไปทางทิศเหนือตามคันคลองส่งน้ำชลประทานฝั่งขวา ประมาณ 30 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศา 13 ลิปดา 58 ฟิลิปดา ถึง 18 องศา 14 ลิปดา 32 ฟิลิปดา เหนือ ระหว่างเส้นแวงที่ 100 องศา 07 ลิปดา 52 ฟิลิปดา ถึง 100 องศา 08 ลิปดา 45 ฟิลิปดา ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๗๖-๒๑๘ เมตร ความลาดชันของพื้นที่อยู่ระหว่าง ๓-๑๖ เปอร์เซ็นต์
พื้นที่ :
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 729 ไร่ 2 งาน 24 ตารางวา
แหล่งน้ำ
ในฤดูฝน เฉลี่ยใช้น้ำฝน 80 % และน้ำชลประทาน 20 %
ในฤดูแล้ง เฉลี่ยใช้น้ำชลประทาน 30 % และอ่างเก็บน้ำ 70 %
ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยโดยเฉลี่ยประมาณ 140.4 มิลลิเมตรต่อปี
อุณหภูมิ
อุณหภูมิสูงสุด เฉลี่ย 36.5๐ ซ.
อุณหภูมิต่ำสุด เฉลี่ย 25.5๐ ซ.
ความชื้นสัมพัทธ์ สูงสุด เฉลี่ย 88%
ความชื้นสัมพัทธ์ ต่ำสุด เฉลี่ย 51 %
อัตรากำลัง : ข้าราชการ 10 อัตรา
ลูกจ้างประจำ 4 อัตรา
พนักงานราชการ 68 อัตรา
พนักงานจ้างเหมาบริการ 5 อัตรา
รวมทั้งสิ้น จำนวน 87 อัตรา
การแบ่งส่วนราชการ
- งานบริหาร
- งานวิชาการ
- งานผลิตพันธุ์หลัก
- งานบริการวิชาการ
- งานโครงการพิเศษฯ
- งานนโยบาย
- ปฏิบัติงานอื่นๆตามที่ได้รับมอบหมายโดยกรมวิชาการเกษตร และจังหวัดแพร่ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และพัฒนาวิชาการเกษตรด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับพืช จำนวน 4 โครงการ 8 การทดลอง รายละเอียด ดังนี้
- โครงการวิจัยการพัฒนาและใช้ประโยชน์สีย้อมธรรมชาติจากห้อม จำนวน 2 การทดลอง
- จำนวนการย้อมสีห้อมต่อความคงทนของแสงและการซักของผ้าฝ้ายและผ้าไหม
-
- การใช้สารช่วยติดสีในผ้าฝ้ายและผ้าไหมก่อนการย้อมด้วยห้อม
- โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ฝ้ายจำนวน 2 การทดลอง
- การเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร : พันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีที่ทนทานต่อศัตรูฝ้ายที่สำคัญ
- การเปรียบเทียบในท้องถิ่น : พันธุ์ฝ้ายเส้นใยสีเขียวที่ทนทานต่อศัตรูฝ้ายที่สำคัญ
- โครงการวิจัยการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ส้มเปลือกล่อน จำนวน 3 การทดลอง
- ศึกษาและอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมส้มในสภาพแปลง
- การศึกษาเปรียบเทียบสายต้น/พันธุ์ส้มไม่มีเมล็ดหรือมีเมล็ดน้อยที่ได้จากการฉายรังสีในจังหวัดแพร่ และเชียงใหม่
- การทดสอบสายต้น/พันธุ์ส้มไม่มีเมล็ดหรือมีเมล็ดน้อยที่ได้จากการฉายรังสีในแหล่งผลิตสำคัญที่จังหวัดแพร่ เชียงใหม่ และจันทบุรี
- โครงการวิจัยและศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองสมุนไพรใช้ใบจำนวน 1 การทดลอง
- ศึกษาเทคนิคทางสถิติเพื่อใช้เป็นมาตรฐานสำหรับแปลงทดลองบัวบก
- ผลิตพันธุ์พืชตามนโยบายของกรมวิชาการเกษตรเพื่อกระจายพันธุ์ให้แก่เกษตรกร
- พืชสวน ได้แก่ มะขามเปรี้ยว มะม่วง ส้มเขียวหวาน ลำไย มะนาว ถั่วฝักยาว ผักกาดกวางตุ้ง คะน้า ผักบุ้ง ปทุมมา หงส์เหิน มะขามป้อม ห้อม
- พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดเทียน
- ให้บริการวิชาการ การจดทะเบียนตรวจสอบรับรองแหล่งผลิตพืช การตรวจปัจจัยการผลิต/ศัตรูพืช/ออกใบรับรอง และควบคุมกำกับดูแลตาม พรบ. 3 ฉบับ การถ่ายทอดวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืช และปุ๋ยชีวภาพ ให้กับเกษตรกร เจ้าหน้าที่เอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
- โครงการพระราชดำริ จำนวน 3 โครงการ
- โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดแพร่
ผลการดำเนินงาน
มีการนำผักพื้นเมืองไปใช้ประโยชน์ในชุมชน จากการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ผลิตกล้าแล้วแจกจ่ายให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจนำไปปลูก ใช้เป็นอาหารในชีวิตประจำวัน ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน บางรายปลูกเป็นอาชีพเสริม แล้วจำหน่ายผลผลิตในหมู่บ้านและพื้นที่ใกล้เคียง ช่วยเพิ่มรายได้และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจชุมชน
- โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ บ้านหนองห้า ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่กรมวิชาการเกษตร
ผลการดำเนินงาน
– จัดฝึกอบรมเกษตรกร 2 หลักสูตร จำนวน 40 ราย ดังนี้
1) หลักสูตร การปลูกและการจัดการกาแฟ
2) หลักสูตร การจัดการไม้ผลอย่างถูกต้องและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
– แปลงต้นแบบการผลิตกาแฟ เก็บเกี่ยวผลผลิตกาแฟ แปรรูปเป็นกาแฟกะลา ให้ความรู้ด้านการฟื้นฟูต้นกาแฟหลังการเก็บเกี่ยว และการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนในการผลิต กาแฟกะลาราคา100 – 110 บาท/กก.
– แปลงต้นแบบการผลิตมะขามป้อม ทำการตัดแต่งกิ่งจัดโครงสร้างทรงพุ่มบางต้นเริ่มติดผลที่อายุ 2 ปี นำเศษวัชพืชคลุมโคนต้นรักษาความชื้นในฤดูแล้ง ให้เกษตรกรฝึกการเปลี่ยนยอดมะขามป้อมให้มีความชำนาญ เพื่อให้สามารถขยายต้นพันธุ์ดีไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง
– สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี 15-15-15 และ 13-13-21 สำหรับใช้ในแปลงต้นแบบการผลิตกาแฟ และแปลงต้นแบบการผลิตมะขามป้อม
– ให้คำแนะนำในการเลือกซื้อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่เกษตรกร เพื่อให้ได้วัสดุการเกษตรที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ได้แก่ ปุ๋ย และสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง
– สนับสนุนต้นมะขามป้อม (พย.02) จำนวน 50 ต้น ปลูกในพื้นที่โครงการ
– ให้คำแนะนำในการป้องกันกำจัดมอดกาแฟ ซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญ ที่เริ่มพบเข้าทำลายสวนกาแฟ
– มอบกล้าพันธุ์ฟ้าทะลายโจรให้เกษตรกร จำนวน 500 ต้น เพื่อใช้เป็นสมุนไพรรักษาอาการโรคโควิด-19
- โครงการศูนย์เรียนรู้พัฒนาการเกษตรอ่างเก็บน้ำห้วยไฟ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
ผลการดำเนินงาน
– ฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร การปลูกพืชระบบเกษตรผสมผสานตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 20 ราย
– ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปลูกพืชผักโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี และการใช้ประโยชน์จากปุ๋ยชีวภาพแหนแดง เตรียมวัสดุเลี้ยงแหนแดง ได้แก่ ดิน และปุ๋ยคอกมูลวัว
– ซ่อมแซมค้างฟักข้าว ปักชำผักเซียงดา และชะอม แจกจ่ายแก่เกษตรกรผู้ร่วมโครงการ
– ให้คำแนะนำเกษตรกรในการแปรรูปกระเทียม เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต
– สนับสนุนปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 6 กระสอบ และปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 2 กระสอบ สำหรับใช้ในแปลงต้นแบบการผลิตผักพื้นบ้าน
– สนับสนุนอุปกรณ์การเลี้ยงแหนแดง และเชื้อพันธุ์แหนแดง จำนวน 5 กก. เพื่อใช้เป็นแม่พันธุ์ขยาย ใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ และให้คำแนะนำในการดูแลรักษา ป้องกันการทำลายจากหนอนผีเสื้อ โดยใช้ตาข่ายสีน้ำเงินคลุมที่ภาชนะหรืออ่างเลี้ยงแหนแดง
- งานตามนโยบายหลักของกรมวิชาการเกษตร
- โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร
- จัดฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร การจัดการธาตุอาหารให้เหมาะสมกับการผลิตพืชเกษตรกร จำนวน 8 รุ่นๆ ละ 30 ราย รวม 240 ราย
- จัดทำแปลงต้นแบบเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืช จำนวน 3 แปลง พื้นที่ 7 ไร่ ได้แก่
- แปลงต้นแบบลองกอง พื้นที่ 3 ไร่ใช้เทคโนโลยีการใส่ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ
- แปลงต้นแบบส้มเขียวหวาน พื้นที่ 3 ไร่ ใช้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
- แปลงต้นแบบพริก พื้นที่ 1 ไร่ ใช้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
- โครงการแปลงใหญ่
- จัดฝึกอบรม หลักสูตร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวเกษตรกร จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 20 ราย รวม 40 ราย
- จัดทำแปลงต้นแบบข้าว พื้นที่ 10 ไร่ ใช้เทคโนโลยีการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
- โครงการส่งเสริมแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่
ผลการดำเนินงาน
มีเกษตรกรทั้งหมด 12 ราย เกษตรกรรายเดิม 3 รายและเกษตรกรรายใหม่ 9 ราย
- แจกจ่ายต้นกล้ามะม่วงมหาชนก จำนวน 120 ต้นมะนาว จำนวน 120 ต้นลำไย จำนวน 120 ต้นและขนุนจำนวน 45 ต้นรวม 405 ต้น
- แจกจ่าย เมล็ดข้าวโพดเทียน รายเดิมและรายใหม่ รายละ1 กิโลกรัม รวม 12 กิโลกรัมเมล็ดผักบุ้ง เกษตรกรรายใหม่ รายละ 250 กรัม รวม 2.250 กิโลกรัม เมล็ดถั่วฝักยาว เกษตรกรรายใหม่ รายละ 100 กรัม รวม 900 กรัม
- แจกจ่ายปุ๋ยอินทรีย์ รายใหม่ 9 ราย รายละ200 กิโลกรัม (4 กระสอบ)
- ตรวจติดตามให้คำแนะนำด้านวิชาการเกษตร เรื่อง การปลูกดูแลรักษา อ.ร้องกวาง อ.หนองม่วงไข่ จำนวน 12 รายจำนวน 6 ครั้ง
- สนับสนุนพันธุ์ปลา จำนวน 12 ราย รายละ 1,600 ตัวรวม 19,200 ตัว
ผลงานเด่นของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่
- กิจกรรมการนำผลงานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตร ปีงบประมาณ 2564 โครงการเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมะขามป้อม
- ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตห้อมแบบครบวงจรสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านพันธุ์ และเทคโนโลยีการผลิตห้อม รวมถึงกระบวนการย้อมห้อมสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งในพื้นที่จังหวัดแพร่ และจังหวัดใกล้เคียง
ทำเนียบผู้บริหาร
หัวหน้าโครงการวิจัยพันธุ์รับรองพันธุ์และกระจายพันธุ์พืชสวน
นายเสรี ทรงศักดิ์ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2532 – 21 ม.ค. 2536
หัวหน้าสถานีทดลองพืชสวนแพร่
นายเสรี ทรงศักดิ์ ตั้งแต่ 19 ก.พ. 2536 – 25 ก.ย. 2538
ผู้อำนวยการสถานีทดลองพืชสวนแพร่
นายเสรี ทรงศักดิ์ ตั้งแต่ 26 ก.ย. 2538 – 11 มี.ค. 2546
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนแพร่
นายเสรี ทรงศักดิ์ ตั้งแต่ 12 มี.ค. 2546 – 26 มี.ค. 2552
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่
นายเสรี ทรงศักดิ์ ตั้งแต่ 27 มี.ค. 2552 – 8 ส.ค. 2552
นางสาววิภาดา แสงสร้อย รษก. ผอ.ศวพ.พร. ตั้งแต่ 9 ส.ค. 2552 – 17 พ.ย. 2552
นายสากล มีสุข ตั้งแต่ 18 พ.ย. 2552 – 24 พ.ย. 2558
นายปิติคมน์ พัชรดำรงกุล ตั้งแต่ 25 พ.ย. 2558 – 30 ก.ย. 2560
นางสาวประนอม ใจอ้าย รษก. ผอ.ศวพ.พร. ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2560 – 8 พ.ย. 2560
นายกัมปนาท บุญสิงห์ ตั้งแต่ 9 พ.ย. 2560 – 30 ก.ย. 2564
นางสาววิภาดา แสงสร้อย รษก. ผอ.ศวพ.แพร่ ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2564 – 12 ธ.ค. 2564
นางสาวฉัตต์นภา ข่มอาวุธ ตั้งแต่ 13 ธ.ค. 2564 – ปัจจุบัน
อับเดตข้อมูล ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565