ประวัติความเป็นมา

  ประวัติศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี

เริ่มก่อตั้งเมื่อปี  ๒๔๙๔  เดิมเป็นแปลงเพาะและขยายพันธุ์ยางโคกโพธิ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๒๖ หมู่ที่ ๗     ต.โคกโพธิ์  อ.โคกโพธิ์  จ.ปัตตานี  โดยอยู่ในความควบคุมของกรมกสิกรรม

–      ปี ๒๕๑๕ ได้มีการรวบรวมกรมกสิกรรมและกรมการข้าว  เข้าด้วยกันและสถาปนา “กรมวิชาการเกษตร” ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๕ จึงมีผลทำให้แปลงเพาะและขยายพันธุ์ยางโคกโพธิ์ อยู่ในความดูแลของกรมวิชาการเกษตร และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีทดลองยางโคกโพธิ์

  • เนื่องจากพื้นที่เดิมมีเพียง ๒๓ ไร่ ไม่เพียงพอกับการขยายงานวิจัย ในปี ๒๕๓๑ นายสมพร พันธุ์พณาสกุล หัวหน้าสถานีทดลองยางโคกโพธิ์ ในสมัยนั้น ได้ร่วมกับข้าราชการและลูกจ้าง ขอใช้พื้นที่ว่างบริเวณทุ่งเลี้ยงสัตว์ หมู่ที่ ๑ ต.ม่วงเตี้ย กิ่ง อ.แม่ลาน เพื่อใช้ในการทำงานวิจัย และได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทย ในการขอใช้ที่ดินดังกล่าว จำนวน ๓๗๘ ไร่ ๒ งาน ๗๕ ตารางวา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการเข้ามาใช้พื้นที่
  • ปี ๒๕๓๔ ได้รับงบประมาณบุกเบิกพื้นที่ครั้งแรก ๗๐ ไร่ เพื่อจัดทำแปลงทดสอบค้นคว้าวิจัยร่วมกับศูนย์วิจัยยางสงขลา
  • ปี ๒๕๓๗ เป็นชื่อจาก “สถานีทดลองยางโคกโพธิ์” เป็น “สถานีทดลองยางปัตตานี
  • ปี ๒๕๔๖ เปลี่ยนชื่อจาก “สถานีทดลองยางปัตตานี” เป็น “ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตปัตตานี
  • ปี ๒๕๕๒ เปลี่ยนชื่อจาก “ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตปัตตานี” เป็น “ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี

สถานที่ตั้งในปัจจุบัน

เลขที่ ๑๐๐   หมู่ที่ ๑   ตำบลม่วงเตี้ย   อำเภอแม่ลาน    จังหวัดปัตตานี ๙๔๑๘๐    โทรศัพท์/โทรสาร ๐-๗๓๓๕-๖๒๔๘