สำนักงบประมาณตรวจเยี่ยมและติดตามโครงการตามภารกิจของหน่วยงาน ในสังกัดกรมวิชาการเกษตร

ตรวจเยี่ยมและติดตามงาน

สำนักงบประมาณเข้าร่วมการตรวจเยี่ยมและติดตามงาน โครงการ ตามภารกิจของหน่วยงานในสังกัดกรมวิชาการเกษตร
วันที่ 11 มิถุนายน 2567 นางสาวนันทิการ์ เสนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี มอบหมายให้ นางสาววนิดา เล่าสกุลชัย เจ้าพนักงานการเกษตรชำนาญงาน และเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี ร่วมต้อนรับเจ้าหน้าที่จากสำนักงบประมาณ เข้าติดตามงานโครงการพัฒนาศักยภาพพื้นที่ภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และติดตามการนำเทคโนโลยี ของกรมวิชาการเกษตรไปขยายผลสู่แปลงเกษตรกรภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์การเกษตรสร้างมูลค่า ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และรับฟังปัญหาของเกษตรกร รวมถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ของศูนย์ฯ

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ปิดความเห็น บน สำนักงบประมาณตรวจเยี่ยมและติดตามโครงการตามภารกิจของหน่วยงาน ในสังกัดกรมวิชาการเกษตร

กิจกรรม Big Cleaning Day

กิจกรรม Big Cleaning Day

กิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 2/2567
วันพฤหัสบดี ที่ 30 พฤษภาคม 2567 นางสาวนันทิการ์ เสนแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี พร้อมด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ร่วมทำ กิจกรรม Big Cleaning Day ครั้งที่ 2/2567 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฏาคม 2567
โดยร่วมกันปรับปรุงภูมิทัศน์ ทำความสะอาดสถานที่ทำงาน เก็บกวาด พัฒนาพื้นที่บริเวณโดยรอบ ให้มีความสวยงามและถูกหลักสุขอนามัย รวมถึงสอดคล้องกับแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต/เสริมสร้างความผาสุก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี ต.ม่วงเตี้ย อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี

โพสท์ใน ไม่มีหมวดหมู่ | ปิดความเห็น บน กิจกรรม Big Cleaning Day

ในโครงการ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประจำปีงบประมาณ 2566

โพสท์ใน ประชาสัมพันธ์ 66 | ปิดความเห็น บน ในโครงการ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ประจำปีงบประมาณ 2566

โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.)

โพสท์ใน ประชาสัมพันธ์ 66 | ปิดความเห็น บน โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร(ศพก.)

test

kjdjvksdvjdkvjdk

โพสท์ใน คลังความรู้ | ปิดความเห็น บน test

ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ 3 สาร

โพสท์ใน คลังความรู้ | ปิดความเห็น บน ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ 3 สาร

จัดฝึกอบรมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชทุเรียน ณ อาคารอเนกประสงค์ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

วันที่ 27 มีนาคม 2562 นายภิรมย์ จอมจันทร์ เจ้าพนักงานการเกษตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี ได้จัดฝึกอบรมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชทุเรียน ณ อาคารอเนกประสงค์ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

55458183_420868868481555_5153920378212450304_n
55576260_420868921814883_5832412674247360512_n
55764328_420868898481552_4605427005536600064_n
55776427_420868818481560_5372799685507416064_n
previous arrow
next arrow
โพสท์ใน ประชาสัมพันธ์ 62 | ปิดความเห็น บน จัดฝึกอบรมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชทุเรียน ณ อาคารอเนกประสงค์ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ฝึกอบรมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชทุเรียน

วันที่ 27 มีนาคม 2562 นายภิรมย์ จอมจันทร์ เจ้าพนักงานการเกษตร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปัตตานี ได้จัดฝึกอบรมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชทุเรียน ณ อาคารอเนกประสงค์ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

55458183_420868868481555_5153920378212450304_n
55576260_420868921814883_5832412674247360512_n
55764328_420868898481552_4605427005536600064_n
55776427_420868818481560_5372799685507416064_n
previous arrow
next arrow
โพสท์ใน ประชาสัมพันธ์ 62 | ติดป้ายกำกับ | ปิดความเห็น บน ฝึกอบรมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชทุเรียน

การจัดการพืชเมื่อประสบปัญหาน้ำท่วม

ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ต้นเดือนมกราคม ของทุกปีจะเป็นช่วงฤดูมรสุม มีฝนตกชุกในพื้นที่ภาคใต้ โดยสภาพฝนตกหนักจะไล่ช่วงเวลาเริ่มมาจากจังหวัดชุมพรจนไปสิ้นสุดที่จังหวัดนราธิวาส

ลักษณะการเกิดน้ำท่วมจะมี 3 แบบ คือท่วมแบบน้ำป่าไหลหลาก จะเกิดในบริเวณพื้นที่ริมเชิงเขา จะมีน้ำหลากท่วมอย่างรวดเร็ว 1-2 วัน และหมดไป พืชมักจะเสียหายจากแรงปะทะของกระแสน้ำ แบบที่สองเป็นน้ำท่วมขังในที่ลุ่ม มักจะเป็นพื้นที่บริเวณตอนกลางของภาคใต้จะเกิดจากปริมาณน้ำสะสมทั้งจากน้ำฝน และน้ำป่า ความเสียหายจะเกิดจากระดับน้ำและระยะเวลาของการท่วมขัง แบบที่สามเป็นน้ำท่วมขังของพื้นที่ริมฝั่งทะเลหรือชายฝั่งแม่น้ำซึ่งจะมีน้ำจากแบบที่สองมาสมทบกับระดับน้ำทะเลหนุนทั้งบริเวณทะเลอ่าวไทย ทะสาบ หรือบริเวณแม่น้ำสายต่างๆ ความเสียหายมากมีมากเนื่องจากน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลานาน และระดับน้ำค่อนข้างสูง
คำแนะนำในการจัดการพืชเพื่อป้องกัน บรรเทา และฟื้นฟู มีดังนี้
1. ความเข้าใจเรื่องสรีระวิทยาพืชกับสภาพน้ำท่วมขัง
1.1 สภาพน้ำขัง เป็นสภาพที่น้ำได้เข้ามาปกคลุมบริเวณพื้นที่ผิวดินโดยแทนที่อากาศไม่ให้ลงไปสู่ผิวดิน และน้ำได้ซึมลงสู่เนื้อดินโดยแทนที่อากาศตามช่องว่างต่างๆของเนื้อดิน มีผลทาให้รากของพืชส่วนใหญ่ไม่สามารถนาอากาศมาใช้หายใจได้
1.2 กลไกของพืชที่ตอบสนองต่อน้ำท่วมขัง ในสภาพปกติส่วนของระบบรากและกิ่งใบของต้นไม้จะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยรากจะหายใจเอาออกซิเจนมาเป็นพลังงานเพื่อดูดน้ำและแร่ธาตุส่งไปให้ใบเพื่อทำหน้ำที่ผลิตอาหารส่งมาเลี้ยงรากและลาตันใบให้เจริญเติบโต หากรากเสียหายจากการตัดทาลายหรือน้ำท่วมจนไม่มีอากาศในดิน จะทำให้รากไม่สามารถหายใจและดูดน้ำแร่ธาตุขึ้นไปได้ และก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์อาจเกิดความเข้มข้นจนเป็นพิษต่อพืชได้ ส่งผลทาให้ใบไม่สามารถปรุงอาหารได้ ใบดอกผลลาต้นก็จะเหี่ยว หรือ เมื่อทาการตัดกิ่งตัดใบออกไปจานวนหนึ่งก็จะลดการสร้างอาหารและไม่พอส่งไปเลี้ยงระบบรากทาให้รากส่วนหนึ่งตายไปหรือการเจริญเติบโตลดลง ในสภาพน้ำแช่ขังโดยทั่วไป ออกซิเจนจะหมดไปจากดินในเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ซึ่งส่งผลต่อการอยู่รอดของพืช
1.2 ความทนทานของต้นไม้ต่อน้ำท่วมขัง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น
1.2.1 ความสามารถในการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic aspiration) การสร้างรูเปิด (lenticel formation) สำหรับในการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างภายในและภายนอกลำต้น รูเปิดนี้มักอยู่ ณ ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือผิวน้ำที่ท่วมขังขึ้นมาเพียงเล็กน้อย หากต้นไม้สามารถที่จะสร้างรูเปิดนี้ได้เร็วก็จะมีโอกาสอยู่รอดได้สูง
1.2.2 สภาพน้ำที่ท่วมขัง หากเป็นน้ำไหล ต้นไม้มีโอกาสได้รับออกซิเจนที่ละลายมากับน้ำ ทำให้ระบบรากสามารถนาไปใช้ได้จะช่วยลดความเสียหายลงได้ แต่ถ้าเป็นน้ำที่ท่วมขังที่เป็นน้ำนิ่งและเน่า ระดับความสูงของน้ำที่ท่วมขังสูง ท่วมระยะเวลานาน ท่วมขังหลายรอบ และสภาพดินเหนียวจัด จะทำให้เกิดความเสียหายแก่พืชรุนแรงขึ้น
1.2.3 สภาพความสมบูรณ์ของพืช ต้นไม้ที่สะสมอาหารไว้มาก เช่น ไม่มีการติดผลหรือได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี จะทนสภาพน้ำท่วมได้นานกว่าต้นไม้ที่กำลังให้ผลหรือเคยให้ผลผลิตที่สูงมากมาก่อน หรือต้นที่ทรุดโทรม อ่อนแอ ต้นไม้ที่มีขนาดเล็กกว่าย่อมมีระบบรากที่เล็กกว่า ความทนทานจึงสู้ต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่กว่าหรืออายุมากกว่าไม่ได้
1.2.4 สภาพอากาศ ที่ทำให้ต้นไม้เสียหายมากขึ้นในช่วงน้ำท่วม คืออากาศร้อนจัด และลมแรง
1.3 ชนิดของไม้ผลที่ทนน้ำท่วม แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มที่อ่อนแอมาก อาจตายภายหลังจากน้ำท่วมขังเพียง 24 ชั่วโมง ได้แก่ มะละกอ จาปาดะ กลุ่มอ่อนแอปานกลาง อาจทนอยู่ได้ระหว่าง 3-5 วัน เช่น กล้วย ส้มเขียวหวาน ทุเรียน มะม่วงกะล่อน มะนาว ขนุน และกลุ่มที่ทนทานได้เล็กน้อย อาจสามารถอยู่ได้ระหว่าง 7-15 วัน เช่น ชมพู่ พุทรา ละมุด มะขาม และมะพร้าว
1.4 อาการของพืชเมื่อประสบกับสภาพน้ำท่วมขัง
อาการใบเหลือง ซึ่งมากจาการขาดอาหาร ใบลู่หรือห้อยลง ทิ้งใบ ดอก และผล ซึ่งมาจากการสร้างฮอร์โมนเอทธิลีน (ethylene) ในปริมาณที่สูง การทิ้งใบจะเกิดในใบที่มีอายุมากกว่าก่อนใบอ่อน อย่างไรก็ตาม ไม้ผลบางอย่างอาจไม่แสดงอาการทิ้งใบแต่จะยืนต้นตายทั้งที่มีใบอยู่เต็มต้น เช่น มะม่วง

2. การจัดการพืชเพื่อรับมือกับสภาพน้ำท่วมขัง
2.1 ก่อนน้ำท่วมขัง
2.1.1 ป้องกันน้ำท่วมสวนโดยเสริมคันดินรอบนอกให้แข็งแรงและเตรียมการสูบน้ำออก
2.1.2 เก็บเกี่ยวต้นไม้อย่าให้มีผลอยู่ติดกับต้น และตัดแต่งกิ่งให้เหลือใบน้อยลง
2.1.3 ให้ปุ๋ยทางใบที่มีโพแทสเซียมสูง ประมาณ 1-2 ครั้ง
2.2 ขณะที่ถูกน้ำท่วมขังอยู่
2.2.1 หากต้นไม้ยังไม่แสดงอาการทิ้งใบ ให้ทาการเสริมคันดินให้แข็งแรงและเร่งรีบสูบน้ำออกจากพื้นที่สวนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
2.2.2 หาวิธีเติมอากาศโดยทำให้น้ำที่ท่วมขังมีการเคลื่อนไหว ถ่ายเทหรือหมุนเวียน เช่นใช้เครื่องอัดอากาศให้ออกซิเจนละลายในน้ำเพิ่มขึ้น ใช้เครื่องพ่นอากาศลงในน้ำ ใช้กังหันตีน้ำ หรือใช้ท่อไม้ไผ่ปักลงไปในดิน
2.3 หลังน้ำลด
2.3.1 เมื่อระดับน้ำลดแล้วแต่ดินยังเปียกหรือหมาดอยู่ ห้ามเดินย่ำผิวดินโดยเด็ดขาด เนื่องจากดินรอบระบบรากยังอิ่มตัวด้วยน้ำ ระบบรากของต้นไม้ซึ่งได้รับความบอบช้ามาก่อนแล้วจะได้รับความกระทบ กระเทือนมากขึ้นและต้นตายได้โดยง่าย ควรปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 2 วันให้หน้ำดินแห้งก่อน
2.3.2 ในระยะนี้อาจหาวิธีเติมอากาศลงสู่ดินก็จะช่วยเร่งให้ต้นไม้ผลพื้นตัวเร็วขึ้น และยังเป็น การช่วยไล่น้ำที่ยังคงค้างอยู่ในดินให้ระบายออกไปเร็วมากขึ้น
2.3.3 ธาตุไนโตรเจน โพแตสเซียม และโบรอน จะสูญเสียไปมากช่วงน้ำท่วม จึงควรใส่เพิ่มประมาณ 20% ของอัตราปกติ และต้องใส่ปุ๋ยเร่งการสร้างรากใหม่แทนรากเดิมที่เสียหาย โดยให้ใช้ปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 15-10-10, 25-20-20, 21 – 21 – 21 หรือจะผสมปุ๋ยกับน้ำตาลทรายขาว 200 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และสารป้องกันกาจัดเชื้อรา ฉีดพ่นให้กับต้นไม้ 2-3 ครั้ง ห่างกันประมาณ 3 วัน/ ครั้ง หรือเตรียมปุ๋ยทางใบที่มีส่วนผสมของ น้ำตาลเด็กซ์โตรส 600 กรัม ฮิวมิคแอซิด 20 ซีซี ปุ๋ยเกล็ดสูตร 15 – 30 – 15 จานวน 20 กรัม (1 ช้อนแกง=15 กรัม) น้ำ 20 ลิตร ควรเติมสารจับใบลงไปเล็กน้อย และใส่สารป้องกันกำจัดโรคและแมลง ตามความจำเป็น พ่นสัก 2 – 3 ครั้ง
2.3.4 เมื่อดินแห้ง เอาดินหรือทรายออกจากโคนต้นพืช ตัดแต่งกิ่งปลิดผล เพื่อลดการคายน้ำของพืชและเร่งให้พืชแตกใบใหม่เร็วขึ้น พรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ทำให้รากพืชแตกใหม่ได้ดีขึ้น หากพบว่ามีการผลิใบอ่อนขึ้นมาใหม่และสามารถอยู่จนกระทั่งใบเพสลาด แสดงผลว่า ระบบรากสามารถทางานได้ตามปกติแล้ว
2.3.5 ในพืชที่ที่มีปัญหาของโรครากเน่า และโคนเน่า ที่เกิดจากเชื้อรา หลังจากน้ำลดแล้วหากพืชยังมีชีวิตอยู่ ให้ราดโคนต้นพืช หรือทาด้วยสารเคมีกันรา เช่น เมตาแลคซิล หรือ ฟอสเอทิล- อลูมินั่ม (อาลิเอท) (กรณีเกิดแผลที่โคนต้นพืชจะถากเนื้อเยื่อพืชที่เสียออกแล้วทาด้วยสารเคมี) โดยสารเคมีดังกล่าวจะใช้กับอาการรากเน่า และโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราพิเที่ยม (Pythium spp.) หรือไฟทอปธอรา (Phytophthora spp.)สาหรับโรครากเน่าและโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อราชนิดอื่นๆ เช่น เชื้อราฟูซาเรี่ยม (Fusarium spp.) ไรซ็อกโทเนีย (Rhizoctonia spp.) หรือสเคลอโรเที่ยม(Sclerotium spp.) ให้ราดโคนต้นด้วยสารเคมีพีซีเอ็นบี หรือ เทอร์ราคลอร์ นอกจากนี้อาจมีการปรับปรุงสภาพของดินไม่ให้เหมาะสมต่อการเกิดโรค โดยการโรยปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อให้ดินมีสภาพเป็นด่างเพียงเล็กน้อย

2.4 การปลูกพืชหลังประสบอุทกภัย
ควรทาหลังจากที่ดินเริ่มแห้ง ควรใช้เครื่องมือขนาดเล็กกันดินอัดแน่น ก่อนปลูกพืช หากดินแห้งพอที่จะไถได้ ควรไถดินตากแดดสัก 2-3 วันก่อน หากไถไม่ได้ ก็ใช้วิธีขุดหลุมปลูกให้ได้ขนาดพอเหมาะตามชนิดของพืช แล้วผสมปุ๋ยคอก และปูนขาวเล็กน้อยรองก้นหลุมเพื่อปรับปรุงดิน หากเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาเรื่องโรครากเน่า และโคนเน่า ควรราดหรือโรยก้นหลุมด้วยสารเคมีป้องกันกาจัดเชื้อราในดิน เช่น เมตาแลคซิลฟอสเอทิล – อลูมินั่ม หรือ พีซีเอ็นบีเทอร์ราคลอร์ แล้วแต่ชนิดของเชื้อสาเหตุ หรือจะใช้วิธีจุ่มรากของกล้าพืชในสารเคมีดังกล่าวก่อนจะปลูกก็ได้ หลังปลูกพืช ควรมีการใส่ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยคอกเป็นระยะๆ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชมีการปฏิบัติดูแลรักษาต้นพืช และการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ตามคำแนะนำสำหรับพืชแต่ละชนิด

เรียบเรียงโดย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8 จังหวัดสงขลา

โพสท์ใน คลังความรู้ | ปิดความเห็น บน การจัดการพืชเมื่อประสบปัญหาน้ำท่วม

การจัดการปาล์มน้ำมมันเมื่อประสบปัญหาน้ำท่วม

ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร

1. ระดับความเสียหายของต้นปาล์มน้ำมัน อายุ 1 – 3 ปี เมื่อถูกน้ำท่วมขัง

ระยะเวลาที่น้ำท่วมขัง 1-15 วัน
น้ำที่ท่วมขังไม่มีตะกอนดิน (น้ำค่อนข้างใส-น้ำใส)
น้ำท่วมขังเฉพาะโคนต้น ต้นปาล์มฟื้นฟูตัวเองได้หลังน้ำลด
น้ำท่วมขังถึงยอด ต้นปาล์มฟื้นฟูตัวเองได้หลังน้ำลด
น้ำที่ท่วมขังมีตะกอนดินหรือเน่าเสีย
น้ำท่วมขังเฉพาะโคนต้น ต้นปาล์มฟื้นฟูตัวเองได้หลังน้ำลด
น้ำท่วมขังถึงยอด ยอดต้นปาล์มน้ำมันอาจเน่าเสียหาย เนื่องจากตะกอนดินหรือน้ำที่เน่าเสีย

ระยะเวลาที่น้ำท่วมขัง 15-30 วัน
น้ำที่ท่วมขังไม่มีตะกอนดิน (น้ำค่อนข้างใส-น้ำใส)
น้ำท่วมขังเฉพาะโคนต้น ต้นปาล์มน้ำมันจะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้หลังน้ำลดแล้ว 30 วัน ทะลายที่ออกในช่วงนั้นเน่าเสียหายทั้งหมด
น้ำท่วมขังถึงยอด ต้นปาล์มน้ำมันบางส่วนอาจตายได้หรือทรุดโทรมอย่างมาก
น้ำที่ท่วมขังมีตะกอนดินหรือเน่าเสีย
น้ำท่วมขังเฉพาะโคนต้น ต้นปาล์มน้ำมันจะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้หลังน้ำลดแล้ว 30 วัน ทะลายที่ออกในช่วงนั้นเน่าเสียหายทั้งหมด
น้ำท่วมขังถึงยอด ต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ตาย หรือทรุดโทรมอย่างมาก

ระยะเวลาที่น้ำท่วมขังมากกว่า 30 วัน
น้ำที่ท่วมขังไม่มีตะกอนดิน (น้ำค่อนข้างใส-น้ำใส)
น้ำท่วมขังเฉพาะโคนต้น ต้นปาล์มน้ำมันจะชะงักการเจริญเติบโต ทะลายที่ออกในช่วงนั้นเน่าเสียหายทั้งหมด จำเป็นต้องช่วย ฟื้นฟูต้นปาล์มน้ำมันหลังน้ำลด
น้ำท่วมขังถึงยอด ต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ตาย ต้นที่เหลือต้องช่วยฟื้นฟูหลังน้ำลด
น้ำที่ท่วมขังมีตะกอนดินหรือเน่าเสีย
น้ำท่วมขังเฉพาะโคนต้น ต้นปาล์มน้ำมันจะชะงักการเจริญเติบโต ทะลายที่ออกในช่วงนั้นเน่าเสียหายทั้งหมดเป็นต้องช่วยฟื้นฟูต้นปาล์มน้ำมันหลังน้ำลด
น้ำท่วมขังถึงยอด ต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ตาย หรือทรุดโทรมอย่างมาก

ระยะเวลาที่น้ำท่วมขังมากกว่า 60 วัน
น้ำที่ท่วมขังไม่มีตะกอนดิน (น้ำค่อนข้างใส-น้ำใส)
น้ำท่วมขังเฉพาะโคนต้น >> ต้นปาล์มน้ำมันจะทรุดโทรมอย่างมาก ระบบรากของปาล์มน้ำมันจะเสียหายมากกว่า 50% ปริมาณธาตุอาหารในต้นและใบลดลงอย่างมาก จำเป็นต้องช่วยฟื้นฟูทั้งในระยะสั้น หลังน้ำลด และระยะยาวต่อไป
น้ำท่วมขังถึงยอด ต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ตาย หรือทรุดโทรมอย่างมาก
น้ำที่ท่วมขังมีตะกอนดินหรือเน่าเสีย
น้ำท่วมขังเฉพาะโคนต้น ต้นปาล์มน้ำมันจะทรุดโทรมอย่างมาก ระบบรากของปาล์มน้ำมันจะเสียหายมากกว่า 50% ปริมาณธาตุอาหารในต้นและใบลดลงอย่างมาก จำเป็นต้องช่วยฟื้นฟูทั้งในระยะสั้นหลังน้ำลด และระยะยาวต่อไป
น้ำท่วมขังถึงยอด >> ต้นปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ตาย หรือทรุดโทรมอย่างมาก

2. ระดับความเสียหายของต้นปาล์มน้ำมันอายุมากกว่า 3 ปี ขึ้นไปที่ถูกน้ำท่วมขัง
ปกติปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 3 ปี ระดับน้ำที่ท่วมขังส่วนใหญ่จะไม่ท่วมถึงระดับยอดปาล์มน้ำมัน หรือท่วมถึงยอดปาล์มน้ำมันในระยะเวลาไม่นานนัก จากนั้นจะท่วมขังในระดับผิวดิน หรือโคนต้นปาล์มน้ำมัน ผลกระทบที่เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้นปาล์มน้ำมันถูกน้ำท่วมขัง
น้ำท่วมขัง 0 – 15 วัน ต้นปาล์มน้ำมันสามารถฟื้นฟูตัวเองได้
น้ำท่วมขัง 15 – 30 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะสามารถฟื้นฟูตัวเองได้หลังจากน้ำลดแล้ว 30 วัน ทะลายที่ถูกน้ำท่วม จะเน่าเสียหายทั้งหมด ทะลายที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำสามารถเก็บเกี่ยวได้ในระยะต่อไป
น้ำท่วมขัง 30 – 60 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะเริ่มแสดงอาการใบเหลือง เนื่องจากการขาดธาตุอาหาร รากปาล์มน้ำมันบางส่วนเสียหาย ทะลายที่ถูกน้ำท่วมจะเน่าเสียหายทั้งหมด ทะลายที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำจะเริ่มฝ่อ และเน่าก่อนที่จะสุกเก็บเกี่ยวได้ ต้นปาล์มน้ำมันต้องได้รับการฟื้นฟูในระยะสั้นหลังน้ำลดแล้ว และในระยะยาว เพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไป
น้ำท่วมขังมากกว่า 60 วัน ต้นปาล์มน้ำมันจะทรุดโทรมอย่างมาก ต้นปาล์มน้ำมันผลิใบใหม่ได้น้อยมาก หรือไม่ผลิใบเพิ่ม ใบปาล์มน้ำ มันจะเหลือง ใบล่างจะแห้ง ยอดเรียวลง เนื่องจากระบบรากถูกทำลายต้นปาล์มน้ำมันไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารที่จำเป็นได้ ผลผลิตทะลายจะเสียหายเกือบทั้งหมด ต้องระบายน้ำที่ท่วมขังออกก่อน แล้วจึงฟื้นฟูต้นปาล์มน้ำมันในระยะสั้นหลังน้ำลดแล้ว และในระยะยาวเพื่อให้ต้นปาล์มน้ำมันแข็งแรง และให้ผลผลิตต่อไป

3. วิธีการฟื้นฟูสวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม
3.1 เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเร็ว โดยรักษาระดับน้ำให้ต่ำกว่าบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมัน 30 เซนติเมตร

3.2 ในขณะดินยังมีความชื้นอยู่ ไม่ควรเหยียบย่ำบริเวณโคนต้นปาล์มน้ำมันโดยเด็ดขาด ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง หรือนำเครื่องจักรกลเข้าในแปลงปลูก เพราะหน้าดินที่ถูกน้ำขังจะมีโครงสร้างที่ง่ายต่อการถูกทำลาย และเกิดการอัดแน่นของดิน จึงเป็นผลเสียต่อการไหลซึมของน้ำ และระบายอากาศ รวมทั้งจะกระทบกระเทือนต่อระบบรากพืช อาจทำให้ต้นปาล์มน้ำมันโทรม หรือตายได้

3.3 ในสภาพน้ำท่วมที่มีการชะล้างนำเอาหน้าดิน หรือทรายมาทับถมบริเวณโคนต้น หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรปรับแต่งดินเหล่านั้นออกจากโคนต้นปาล์มน้ำมัน นอกจากนี้หากพบต้นปาล์มน้ำมันที่ล้มหรือเอนเอียงเกษตรกรควรจัดการให้ต้นตั้งตรงเช่นเดิมโดยใช้ไม้ค้ำยัน

3.4 หากตรวจพบต้นปาล์มน้ำมันตาย เกษตรกรควรขุดต้นที่ตายและทำลายทิ้ง ใช้ปูนขาวโรยในหลุมปลูกเพื่อฆ่าเชื้อโรคทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ รองก้นหลุมด้วยร็อกฟอสเฟส 0-3-0 ครึ่งกิโลกรัม แล้วปลูกซ่อมทันที

3.5 หลังน้ำลดและดินแห้งแล้วเกษตรกรควรใช้ปูนขาวโรยบริเวณรอบโคนรัศมีทางใบปาล์มน้ำมัน เพื่อปรับสภาพดินและฆ่าเชื้อโรคที่มาจากน้ำท่วม และควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเพื่อปรับโครงสร้างดินให้ดีขึ้น และใส่ปุ๋ยสูตร 0-3-0 เพื่อเร่งการเจริญของระบบราก ปาล์มเล็กใช้ปริมาณ 500 กรัม ปาล์มใหญ่ใช้ปริมาณ 1.5 กิโลกรัม

3.6 เพื่อช่วยให้ปาล์มน้ำมันฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เกษตรกรควรฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ เพราะระบบรากพืชยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยใช้ปุ๋ยเกร็ดสูตร 21-21-21

3.7 ในปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว หากน้ำท่วมทะลายเป็นเวลานานจะทำให้ทะลายเน่า เกษตรกรควรตัดทะลายเน่าทิ้ง เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดเชื้อรา และแพร่กระจายไปยังทะลายอื่น หรือส่วน อื่นๆได้

3.8 ภายหลังจากน้ำท่วม มักเกิดปัญหาโรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ยอดเน่า ทะลายเน่า รากเน่า เกษตรกรควรใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น เมตาเลคซิล (ริโดมิล) หรือ ไฟโซล-อลูมินั่ม (อาลีเอท) ผสมน้ำ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร เกษตรกรควรตัดยอดปาล์มน้ำมัน หรือส่วนที่เน่าออกก่อน แล้วฉีดพ่นสารเคมีตาม

 

 

 

 

 

 

 

โพสท์ใน คลังความรู้ | ปิดความเห็น บน การจัดการปาล์มน้ำมมันเมื่อประสบปัญหาน้ำท่วม