ประวัติความเป็นมา

เดิมชื่อ สถานีทดลองพืชสวนน่าน ตั้งขึ้นเมื่อปีงบประมาณ พ.ศ.2506 ในปี 2545 เปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตน่าน ในปี 2547 ยกระดับเป็นศูนย์วิจัยยางน่าน ในปี 2548 แต่งตั้งเป็นศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันน่าน และในปี 2552 แต่งตั้งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรน่าน

สถานที่ตั้ง อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองน่าน ประมาณ 13 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 760 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเส้นรุ้งเหนือที่ 18 องศา 16 ลิปดา เส้นแวงตะวันออกที่ 100 องศา 46 ลิปดา ระดับความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 265 เมตร

พื้นที่ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 665 ไร่ โดยมีถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 ตัดผ่านพื้นที่ แบ่งเป็น 2 แปลง พื้นที่จัดซื้อและบุกเบิกในปี 2506 มีพื้นที่ประมาณ 191 ไร่ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ได้รับอนุมัติให้ยืมใช้ประโยชน์ตั้งแต่ปี 2510 มีพื้นที่ประมาณ 434 ไร่ และพื้นที่กรมทางหลวงมอบให้ ประมาณ 40 ไร่ รวม 474 ไร่

ลักษณะดิน สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว มีดิน 6 ชุดดิน คือ ดินชุดนครพนม ดินดินชุดแม่สาย ดินชุดมวกเหล็ก ดินชุดโพนพิสัย ดินชุดอุตรดิตถ์ และดินชุดบ้านจ้อง

แหล่งน้ำ ใช้แหล่งน้ำหลักจากอ่างเก็บน้ำลำห้วยสนุก ซึ่งสามารถกักเก็บได้ 200,000 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนั้นยังมีลำห้วยไหลผ่าน 4 สาย คือ ลำห้วยส้มป่อย ลำห้วยน้อย ลำห้วยขาเน่า และลำห้วยสนุก