วิสัยทัศน์ พันธกิจ

วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยม

วิสัยทัศน์ของกรมวิชาการเกษตร

กรมวิชาการเกษตรเป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพืช เครื่องจักรกลการเกษตรและเป็นศูนย์กลางรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรด้านพืชในระดับสากล บนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้สมดุลวัฒนธรรมองค์กร ภายในปี พ.ศ. 2570

 

 

 

พันธกิจของกรมวิชาการเกษตร

    ๑. สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านพืชและเครื่องจักรกลการเกษตร สู่กลุ่มเป้าหมาย
    ๒. กำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานระบบการผลิตและผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต พัฒนาระบบตรวจรับรองสินค้าการเกษตรด้านพืชให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
    ๓. อนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืช แมลง และจุลินทรีย์
    ๔. สนับสนุนการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย มุ่งสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
    ๕. กำกับ ดูแล และพัฒนากฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ

 

ค่านิยม

ที่มาและความสำคัญ

          ค่านิยมองค์กร หรือ Core Value เปรียบเสมือนหลักการ ความเชื่อ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ขององค์กรเปรียบดังสารที่องค์กรสื่อให้ผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงบุคลากรภายในองค์กรได้รับรู้ เข้าใจถึงรากฐาน และสิ่งที่ องค์กรให้ความสำคัญ อีกทั้งยังเป็นบรรทัดฐานการประพฤติปฏิบัติตนแก่บุคลากรซึ่งค่านิยมมีความสัมพันธ์กับลักษณะภารกิจขององค์กร และเป็นส่วนสำคัญของการสรรสร้างวัฒนธรรมองค์กร

          เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๒ให้ความหมายของวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Culture) เอาไว้ว่า หมายถึง การกระทำ ค่านิยม ความเชื่อ เจตคติ อุดมการณ์ของสมาชิกในองค์กร รวมถึงพฤติกรรมที่มีการปฏิบัติกันอย่างสม่ำเสมอ เป็นบรรทัดฐานของกลุ่มที่คาดหวังหรือสนับสนุนให้สมาชิกปฏิบัติตามและเป็นเสมือน “บุคลิกภาพ” หรือ “จิตวิญญาณ” ขององค์กร ซึ่งทำให้องค์การหนึ่งแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ ดังนั้น ค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กร จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนให้ผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้เห็นว่า องค์กรให้ความสำคัญกับสิ่งใด อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงหลักการ มุมมอง และคุณลักษณะของบุคลากรในองค์กรนั้น รวมถึงยังเป็นเครื่องมือที่องค์กรใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคล เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ตรงกับความต้องการขององค์กรอีกด้วย

          เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๕ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์) ได้ประกาศแนวทางการสร้างสมดุลวัฒนธรรมองค์กรและการทำงาน กรมวิชาการเกษตร (BALANCE DOA TOGETHER) ในที่ประชุม โดยมีผู้บริหารกรมวิซาการเกษตร และบุคลากรร่วมรับฟัง ณ ห้องประชุมชั้น ๒ อาคารฝึกอบรมด้านมาตรฐานการผลิตพืชกรมวิชาการเกษตร และผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์  Zoom Meeting ทั้งนี้ การดำเนินการส่งเสริมค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กรนั้น มิอาจทำได้โดยง่าย ทั้งยังต้องอาศัยความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการยอมรับปฏิบัติตามพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรจึงได้จัดทำแผนส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร กรมวิชาการเกษตรประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อให้การดำเนินการส่งเสริมค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรของกรมวิชาการเกษตร เกิดประสิทธิผล