ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์
ประวัติ
2518-2524 ศูนย์ฝึกอบรมเกษตรวิศวกรรมตากฟ้า(บริเวณศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ใน
ปัจจุบัน)
2524-2534 ศูนย์ฝึกอบรมเกษตรวิศวกรรมตากฟ้า(สถานที่ตั้งในปัจจุบัน)
2534-2539 ศูนย์ฝึกอบรมเกษตรวิศวกรรมนครสวรรค์
2539-2552 ศูนย์ปฏิบัติการเกษตรวิศวกรรมเขต 2 จังหวัดนครสวรรค์
2552-ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์
พื้นที่ภายในศูนย์ฯ 1,254-2-23 ไร่-งาน-ตารางวา
สถานที่ตั้ง
ตั้งอยู่หลักกิโลเมตรที่ 17 ของทางหลวงหมายเลข 1145(ตากฟ้า-ท่าตะโก) หมู่ 2 ตำบลอุดมธัญญา อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ และห่างจากตัวเมืองนครสวรรค์ 52กิโลเมตร
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- ศึกษาวิจัยและพัฒนาและทดสอบพืช/เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
- ศึกษาวิจัยและทดสอบพืช/สาขาวิชาตามแผนงาน/โครงการวิจัยของกรมวิชาการเกษตร
3.ให้บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตในพื้นที่รับผิดชอบให้แก่เกษตรกรภาคเอกชนและเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง
- ผลิต/ขยายเมล็ดพันธุ์หรือท่อนพันธุ์และกระจายพันธุ์
โครงสร้าง
1.ฝ่ายบริหารงานทั่วไปมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณแผนงานและงบประมาณการเงินบัญชีและพัสดุบุคคล และธุรการทั่วไป
- กลุ่มวิจัยและพัฒนา มีหน้าที่
2.1 ศึกษาวิจัยและพัฒนาและทดสอบพืช/เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
2.2 ศึกษาวิจัยและทดสอบพืช/สาขาวิชา ตามแผนงาน/โครงการวิจัยของกรมวิชาการ
2.3 ผลิต/ขยายเมล็ดพันธุ์หรือท่อนพันธุ์และกระจายพันธุ์พืช พันธุ์ของกรมวิชาการเกษตร
- กลุ่มบริการวิชาการ มีหน้าที่
3.1บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตในพื้นที่รับผิดชอบถ่ายทอดเทคโนโลยีตรวจสอบรับรองปัจจัยการผลิต
3.2รับผิดชอบงานโครงการพิเศษบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ให้แก่เกษตรกรภาคเอกชนและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.3ควบคุมและกำกับตามกฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์(พ.ร.บ.พันธุ์พืช/พ.ร.บ.ปุ๋ย/พ.ร.บ.วัตถุอันตราย)
สภาพภูมิประเทศและอากาศ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นที่ราบค่อนข้างเรียบแคบบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโดยเฉพาะตอนกลางของจังหวัดซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองฯ,อำเภอบรรพตพิสัย,อำเภอชุมแสง,อำเภอท่าตะโก,อำเภอโกรกพระและอำเภอพยุหะคีรีสภาพพื้นที่ทางทิศตะวันตก(เขตอำเภอลาดยาว,อำเภอแม่วงศ์,กิ่งอำเภอแม่เปิ่นและกิ่งอำเภอชุมตาบง)และทิศตะวันออก(เขตอำเภอหนองบัว,อำเภอไพศาลี,อำเภอตากฟ้าและอำเภอตาคลี)มีลักษณะเป็นแบบลอนลูกคลื่น ยกตัวขึ้นจากตอนกลางวันของจังหวัด สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 20-100เมตร
ภูมิอากาศ
ลักษณะร้อนชื้นมีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้วที่เห็นเด่นชัดฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อยู่ในช่วงเดือนตุลาคมส่วนฤดูหนาวอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคมได้รับอิทธิพลความเย็นมาจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับปี 2554ช่วงเดือนมกราคมและธันวาคม มีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14.5 องศาเซลเซียส และช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดอุณหภูมิสูงสุด38.2องศาเซลเซียส อุณหภูมิเฉลี่ย 28.76 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนทั้งปี 1,443.1มิลลิเมตร และมีฝนตกทั้งหมด 86 วัน
สภาพภูมิอากาศของจังหวัดนครสวรรค์ สัมพันธ์กับปริมาณน้ำฝันในแต่ละปี หากปีใดปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,200 มิลลิเมตรต่อปีจะเกิดปัญหาน้ำท่วมถ้าปริมาณต่ำกว่า1,000มิลลิเมตรต่อปีจะประสบปัญหาฝนแล้งทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสภาพพื้นที่ของจังหวัดที่มีลักษณะคล้ายท้องกระทะหรือผีเสื้อกางปีกบิน
ชนิดและลักษณะดิน
ลักษณะดินของศูนย์ฯดินเป็นดินลึกมีการระบายน้ำดีมากเกินไป เนื้อดินเป็นดินทราย ดินล่างลึกที่ 150 เซนติเมตร ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH 5.5-7.0 ในพื้นที่เพาะปลูกเป็นชุดดินที่ 44ได้แก่ ชุดดิน น้ำพอง
ชุดดินน้ำพอง ลักษณะและสมบัติของดินเป็นดินลึกดินบนเป็นดินทรายปนร่วนหรือดินทราย สีน้ำตาลปนเทาหรือสีน้ำตาล ดินล่างเป็นดินทรายปนร่วน สีชมพู สีน้ำตาลซีดมาก พบชั้นสะสมดินเหนียวที่มีความลึกต่ำกว่า 100 ซม. จากผิวดิน มีสีเทาปนชมพู น้ำตาลซีด มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายและเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายในดินล่างลึกลงไป พบจุดประสีน้ำตาลแก่ เหลืองปนแดง หรือแดงปนเหลืองในดินชั้นล่างนี้ด้วยปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง (ph 5.0-6.0)ในดินบนและเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย(ph 4.5-6.5)ในดินล่าง
ข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ ดินเป็นทรายจัดมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำพืชมักแสดงอาการขาดน้ำอย่างเห็นได้ชัดเจน ในช่วงฝนแล้งและเสี่ยงต่อการเกิดการชะล้างพังทลาย
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปจัดว่าไม่ค่อยเหมาะในการที่จะนำมาใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ ถ้าจำเป็นต้องนำมาใช้จะต้องมีการจัดการในเรื่องการปรับปรุงบำรุงดินและพืชที่ปลูกแต่อย่างไรก็ตามอาจทำเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์หรือปลูกไม้ใช้สอยประเภทที่โตเร็วและทนแล้งได้ดี
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ป่าเต็งรังมันสำปะหลังอ้อยปอมะพร้าวและทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์
ชุดดินจันทึก ลักษณะและสมบัติดินเป็นดินลึกเนื้อดินเป็นทรายปนดินร่วนตลอดอาจพบก้อนกรวดปะปนในดินล่างดินบนเป็นสีน้ำตาลปนเทาดินล่างเป็นสีเทาปนชมพูหรือสีน้ำตาลอ่อนกรวดที่พบเป็นแร่ควอตซ์และเฟลด์สปาร์อาจพบจุดประสีในชั้นหินต้นกำเนิดที่กำลังสลายตัวปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง(ph 6.0-7.0)ในดินและเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดเล็กน้อย (ph 5.5-6.5) ในดินล่าง
ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำเนื้อดินเป็นทรายโครงสร้างของดินเลว
ข้อเสนอแนะในการใช้ประโยชน์ ควรจะสงวนไว้เป็นป่าธรรมชาติถ้าหากมีความจำเป็นต้องนำมาใช้ในด้านการเกษตรควรจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอในช่วงฤดูเพาะปลูกและควรมีการปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมัก และปุ๋ยเคมี เพื่อเพิ่มแร่ธาตุแก่พืชและทำให้สมบัติของดินดี
พืชพรรณธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ป่าเต็งรังทุ่งหญ้าบางแห่งนำไปใช้เป็นวัสดุสร้าง
ปัญหา ปัญหาสำคัญของชุดดินทั้งสองชนิดคือเดิมเป็นดินทรายจัดและหนามากจึงมีโอกาสขาดน้ำได้ง่ายเพราะดินเป็นดินทรายจึงมีการระบายน้ำได้มากเกินไปและดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ