ประวัติความเป็นมา

ปี พ.ศ. 2524 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกคำสั่งให้ กรมวิชาการเกษตรเข้าร่วมดำเนินงานโครงการพัฒนาตามพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน  และกรมวิชาการเกษตร ได้มีคำสั่งให้หน่วยงานภายใต้สังกัด ที่ปฏิบัติงานใกล้เคียงกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมอบหมายให้ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานหลัก

ปี พ.ศ. 2527 ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (เดิม สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง) ได้ส่งข้าราชการมาปฏิบัติงานประจำ จำนวน 2 คน และให้จ้าง ลูกจ้างชั่วคราวรายวันปฏิบัติงานประจำ ที่สำนักงานชั่วคราว ที่ตั้ง ศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย (ท่าโป่งแดง) ตามพระราชดำริ ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

9 มีนาคม 2543 กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำสั่งที่ 735/2543 เรื่อง ตั้งสถานีทดลองพืชสวนแม่ฮ่องสอน โดยกรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาให้ยกระดับสำนักงานชั่วคราวที่ตั้งอยู่ในโครงการศูนย์บริการและพัฒนาลุ่มน้ำปาย (ท่าโป่งแดง) ตามพระราชดำริ ต.ผาบ่อง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน เป็น สถานีทดลองพืชสวนแม่ฮ่องสอน สังกัดสถาบันพืชสวน โดยให้อยู่ในการควบคุมและบริหารงานของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

1 ตุลาคม 2545 กรมวิชาการเกษตรได้พิจารณาให้ สถานีทดลองพืชสวนแม่ฮ่องสอน อยู่ในการควบคุมและดำเนินงานของศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน กรมวิชาการเกษตร ในการบริหารงาน เพื่อความคล่องตัว และสะดวกยิ่งขึ้น

1 ตุลาคม 2547 กรมวิชาการเกษตรได้มีการปรับโครงสร้างการบริหาร ได้ยุบสถานีทดลองพืชสวนแม่ฮ่องสอน เป็นแปลงทดลองแปลงหนึ่ง โดยอยู่ในการควบคุมและดำเนินงานของศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จ.เชียงใหม่

1 ตุลาคม 2549 ศูนย์วิจัยข้าวแม่ฮ่องสอน ได้แยกตัวขึ้นไปสังกัดกรมการข้าว ซึ่งเป็นกรมที่จัดตั้งขึ้นใหม่  ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ทำให้ไม่มีหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จ.เชียงใหม่ เสนอให้กรมวิชาการเกษตร พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เหมือนเดิม

23 มีนาคม 2550 กรมวิชาการเกษตร ได้ออกคำสั่งจัดตั้ง ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตแม่ฮ่องสอน สังกัด สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จ.เชียงใหม่ เป็นหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และแต่งตั้ง นายสากล มีสุข ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ เป็นผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตแม่ฮ่องสอน

27 มีนาคม 2552 กรมวิชาการเกษตร ปรับปรุงโครงสร้างและระบบงานใหม่ จึงเปลี่ยนชื่อ ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตแม่ฮ่องสอน เป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน สังกัด สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จ.เชียงใหม่ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

    

วิสัยทัศน์

       กรมวิชาการเกษตรเป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพืช เครื่องจักรกลการเกษตร และเป็นศูนย์กลางรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรด้านพืชในระดับสากล บนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ค่านิยม

ซื่อสัตย์ โปร่งใส งานวิจัยมีคุณภาพ

ภารกิจ/หน้าที่

          มีหน้าที่ศึกษา วิจัย พัฒนาและทดสอบพืช      เทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ และให้บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร ภาคเอกชนและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลิต/ขยายเมล็ดพันธุ์พืชหรือท่อนพันธุ์ และกระจายพันธุ์พืช