ลักษณะทั่วไปของที่ตั้ง
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตกรระบี่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ถนนเพชรเกษม ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
มีเนื้อที่ 1,279 ไร่ ระยะห่างจากสถานที่ต่างๆ ดังนี้
– ระยะทางห่างจากจังหวัดกระบี่ 20 กิโลเมตร
– ระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 814 กิโลเมตร
– ระยะทางห่างจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 160 กิโลเมตร
สภาพดินฟ้าอากาศ
1 สภาพดินและลักษณะของดิน
ลักษณะดิน เป็นดินเหนียว หน้าดินมีความเป็นกรดเป็นด่าง 5.0-6.0 ดินที่พบในพื้นที่เป็นดินชุดอ่าวลึก อ่าวลึกมีหินโผล่
อ่าวลึกที่มีหินโผล่หนาแน่น อ่าวลึกดินตื้น ดินชุดลำภูรา
2 สภาพพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ มีพื้นที่ทั้งหมด 1,279 ไร่ ลักษณะทั่วไปพื้นที่เป็นที่ราบสูง
มีป่าธรรมชาติภูเขาหินปูน ภูเขา ลำห้วย และที่ราบเป็นบางตอน สูงจากระดับน้ำทะเล 60 เมตร
3 แหล่งน้ำที่ใช้ มีอ่างเก็บน้ำและบ่อบาดาล โดยการสูบน้ำขึ้นหอรับน้ำและกระจายไปตาม อาคาร บ้านพัก
และแปลงทดลองต่างๆ
พื้นที่และการใช้ประโยชน์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ มีพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์รวม 1,279 ไร่ มีรายละเอียดดังนี้
– พื้นที่อาคาร ถนน และสิ่งก่อสร้าง จำนวน 20 ไร่
– พื้นที่แปลงทดลอง แปลงขยายพันธุ์ยาง พืชอื่น ๆ จำนวน 1,114 ไร่
– พื้นที่ป่าธรรมชาติ ภูเขา จำนวน 145 ไร่
หน้าที่ความรับผิดชอบ
- งานด้านบริหาร
มีหน้าที่กำกับดูแล ควบคุม บังคับบัญชา และอนุมัติตามอำนาจที่กรมฯ ได้มอบหมายบุคลากรทั้งหมดที่อยู่ในหน่วยงาน
- กลุ่มบริการวิชาการ
มีหน้าที่รับผิดชอบรวบรวมข้อมูลประเด็นปัญหาให้ทางสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7
เพื่อนำไปแก้ปัญหาร่วมกับศูนย์วิจัยพืชและให้บริการข้อมูลด้านวิชาการให้แก่เจ้าหน้าที่ เกษตรกร ภาคเอกชน
และหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ
งานถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร
มีหน้าที่รับผิดชอบการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ถูกต้องและทันสมัย และให้บริการทางวิชาการในพื้นที่รับผิดชอบแก่เจ้าหน้าที่
เกษตรกร ภาคเอกชน และหน่วยงานต่าง ๆ ฝึกอบรมเกษตรกรในพื้นที่และปฏิบัติงานร่วมกันหรือสนับสนุนการปฏิบัติงาน
ของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
งานด้านบริการ
บริการให้คำปรึกษา แนะนำ แจกจ่ายเอกสารแก่เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานราชการอื่น ๆ ให้บริการสถานที่
สำหรับดูงาน ฝึกงาน แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ และนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
- งานผลิตเมล็ดพันธุ์ ท่อนพันธุ์พืช
ทำหน้าที่ผลิตพันธุ์ยางพันธุ์ดี ท่อนพันธุ์พืชต่าง ๆ เพื่อให้บริการ จำหน่ายจ่ายแจกแก่เกษตรกร เอกชน
และหน่วยงานทั่วไป ให้มีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการ ตลอดจนควบคุมการผลิตแปลงกิ่งตาของศูนย์วิจัยฯ
และแปลงเอกชนให้มีคุณภาพดี และตรงตามมาตรฐานของพันธุ์
- งานปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ
– บังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์
– ปกป้องและรักษาผลประโยชน์ที่เกษตรกรพึงได้รับ
– ใช้ประโยชน์ในการค้าระหว่างประเทศ
– บังคับใช้กฎหมายร่วมกัน “คณะทำงาน 3 กรม”
งานควบคุมตามพระราชบัญญัติยาง มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้บริการจดทะเบียนให้แก่ ผู้ประกอบการค้า
โรงงานผลิตต่าง ๆ
- โครงการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ
ได้ดำเนินงานร่วมกับ สถาบันวิจัยพืชสวน และหน่วยงานอื่นๆ และขยายพันธุ์พืช เช่น
– แปลงปลูกพืชสมุนไพรเฉลิมพระเกียรติครบรอบ 60 ปี เนื้อที่ 60 ไร่ มีพันธุ์ไม้ประมาณ 800 ชนิด
– แปลงปลูกไม้หอมเฉลิมพระเกียรติราชินี 60 ปี เนื้อที่ 7 ไร่ มีพันธุ์ไม้ประมาณ 100 ชนิด
– การผลิตจันทน์เทศแบบครบวงจร เนื้อที่ 10 ไร่
– แปลงสาธิตการปลูกลองกอง พริกไทย เนื้อที่ 35 ไร่
– โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่จังหวัดกระบี่ร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7
– เข้าร่วมประชุมหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดกระบี่
– โครงการปลูกหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติร่วมกับสถานีพัฒนาที่ดินกระบี่
– โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร
การติดต่อสื่อสาร
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกระบี่ ตู้ ปณ.5 ปณ.กระบี่ 81000
ทางโทรศัพท์ 075-694217, 075-694205
Email : krabiamdoa@gmail.com , krabi1@doa.in.th